คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สรุป
สถานการณ์ภัยแล้งตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2550 และสถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
(ระหว่างวันที่ 1—26 มีนาคม 2550) ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 26 มีนาคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 58 จังหวัด 533 อำเภอ 54 กิ่งฯ 3,188 ตำบล 25,376 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 38.98 ของหมู่บ้าน
65,092 หมู่บ้านใน 58 จังหวัด และคิดเป็นร้อยละ 34.45 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ)
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2550 (รวม 56 จังหวัด 527 อำเภอ 59 กิ่งฯ
3,322 ตำบล 26,720 หมู่บ้าน) ปรากฏว่ามีจังหวัดประสบภัยแล้งเพิ่มขึ้น จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท และสงขลา และจำนวนหมู่บ้าน
ที่ลดลงของจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 1,344 หมู่บ้าน
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสลมตะวันตกพัดเข้ามาปกคลุมพื้นที่ตอนบน ประกอบกับการทำฝนหลวงของสำนักฝนหลวงและ
การบินเกษตรประสบผลสำเร็จ ทำให้มีฝนตกกระจายทั่วไปในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
ทำให้สถานการณ์ภัยแล้งในบางพื้นที่คลี่คลายลงไป
เปรียบเทียบหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเมื่อปี 2549 ในช่วงเวลาเดียวกัน (วันที่ 26 มี.ค. 2549) รวม 59 จังหวัด 448
อำเภอ 45 กิ่งฯ 3,251 ตำบล 28,127 หมู่บ้าน (ร้อยละ 38.18 ของหมู่บ้านทั้งหมด) โดยปี 2550 (รวม 58 จังหวัด 533 อำเภอ
54 กิ่งฯ 3,188 ตำบล 25,376 หมู่บ้าน) มีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งน้อยกว่า 2,751 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.78
1.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 2,106,141 ครัวเรือน 8,238,060 คน (คิดเป็นร้อยละ 15.41 ของครัวเรือนทั้งหมด
13,670,116 ครัวเรือน ใน 58 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
1.3 พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 114,619 ไร่ (จำนวน 11 จังหวัด)
1.4 การให้ความช่วยเหลือ
1.4.1 การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 1,556 เครื่อง แยกเป็น
- จังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 36 เครื่อง
- กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 820 เครื่อง แยกเป็น เพื่อการเพาะปลูก 767 เครื่อง
เพื่อการอุปโภคบริโภค 53 เครื่อง
(2) จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการดังนี้
- จัดทำทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 11,091 แห่ง - ขุดลอกแหล่งน้ำ 2,282 แห่ง
1.4.2 การปรับปรุง ซ่อมและทำความสะอาดภาชนะเก็บน้ำ ดังนี้ ถังเก็บน้ำ คสล. 1,041 แห่ง ถังปูนฉาบ 509 แห่ง
ถังไฟเบอร์ 912 แห่ง โอ่งซีเมนต์ 9,920 แห่ง เป่าล้างบ่อบาดาล 1,747 แห่ง หอถังระบบประปาหมู่บ้าน 986 แห่ง หอถังระบบประปาภูเขา
999 แห่ง
การสร้างภาชนะเก็บน้ำ ดังนี้ ถังเก็บน้ำ คสล. 147 แห่ง ถังปูนฉาบ 171 แห่ง ถังเหล็ก 165 แห่ง
ถังไฟเบอร์ 159 แห่ง โอ่งซีเมนต์ 1,149 แห่ง หอถังระบบประปาหมู่บ้าน 177 แห่ง หอถังระบบประปาภูเขา 10 แห่ง บ่อน้ำตื้น 127 แห่ง
1.4.3 การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภคของจังหวัดที่ประสบภัย ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,612 คัน แจกจ่ายน้ำ 51,555 เที่ยว
จำนวน 375,629,437 ลิตร
1.4.4 งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว จำนวน 412,171,137 บาท แยกเป็น
(1) งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 369,047,388 บาท
(2) งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 30,152,344 บาท
(3) งบอื่นๆ 12,971,405 บาท
1.5 การสนับสนุนน้ำประปาช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง
1.5.1 การประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำประปาให้แก่รถยนต์บรรทุกน้ำของทางราชการโดยไม่คิดมูลค่า
(จ่ายน้ำฟรี) เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 94,024,000 ลิตร คิดเป็นเงิน 1,104,782 บาท สำหรับการ
ประปาที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำดิบของการประปาส่วนภูมิภาค มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ การประปาปากท่อ จังหวัดราชบุรี และการประปาบำเหน็จณรงค์
จังหวัดชัยภูมิ แก้ไขปัญหาโดยจ่ายน้ำเป็นช่วงเวลาและใช้รถบรรทุกน้ำแจกจ่ายให้ประชาชน
1.5.2 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้จัดตั้งจุดจ่ายน้ำเพื่อแจกจ่ายน้ำให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่ประสบภัยแล้ง
ทั่วประเทศ จำนวน 2,000 จุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง
2. สรุปสถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (ระหว่างวันที่ 1-26 มีนาคม 2550)
2.1 สาเหตุการเกิด ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา ได้เกิดสถานการณ์มลพิษ หมอกควันปกคลุมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ
ตอนบนใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา ตาก น่าน และแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่
กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง ขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เพื่อติดตามและเฝ้าระวังที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัยของ
ประชาชน ซึ่งพบว่ามีค่าสูงเกินค่ามาตรฐาน (120 ไมโครกรัม/ลบ.ม.) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่
14 มีนาคม 2550 ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ (โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) จังหวัดเชียงใหม่ วัดได้สูงสุดที่ 382.7 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
2.2 ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ณ เวลา 15.00 น. ของวันที่ 25 มี.ค. 2550 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
(ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ)
สถานี PM10*
14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค.
จ.เชียงใหม่ ศูนย์ราชการรวมฯ อ.แม่ริม 304 230 152 171 185 196 148 91 64 86 101 158
ร.ร.ยุพราชวิทยาลัย อ.เมือง 383 261 184 176 203 203 141 83 64 89 115 171
จ.ลำปาง ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อ.เมือง 219 135 103 120 134 131 91 61 63 63 91 115
สนง.การประปาฯ อ.แม่เมาะ 194 132 86 113 125 122 82 62 55 60 81 115
จ.เชียงราย ร.ร.สามัคคีวิทยาคม อ.เมือง - 229 201 169 159 201 - - - 75 89 174
จ.แม่ฮ่องสอน ทสจ.แม่ฮ่องสอน อ.เมือง - - 233 240 278 284 340 284 166 150 219 238
หมายเหตุ 1. ค่ามาตรฐาน PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เท่ากับ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2. ค่า PM10 สูงสุดเมื่อวันที่ 14 มี.ค.2550 วัดได้ 383 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
สรุป ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของทุกสถานี โดยจังหวัด เชียงราย ชียงใหม่ และ
แม่ฮ่องสอน ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
2.3 มาตรการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันในภาคเหนือของกระทรวงมหาดไทย
1) ให้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤตหมอกควันจังหวัด เพื่อเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤตหมอกควันและการ
ช่วยเหลือประชาชนในจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ
2) ให้ขอความร่วมมือประชาชนงดเว้นการเผาหญ้า วัสดุ ขยะในทุกพื้นที่ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2550 โดยให้มีการ
ประเมินและเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ทั้งนี้ หากการขอความร่วมมือดังกล่าวไม่เป็นผลให้ใช้มาตรการทาง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องดำเนินการกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง
3) ให้จังหวัดระดมสรรพกำลังในพื้นที่ทั้งในด้านเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน เพื่อปฏิบัติการ
ทั่วในพื้นที่ราบ/ชุมชนและพื้นที่ป่าไม้บนภูเขาสูง โดยเฉพาะการลดจุดไฟไหม้ (Hot Spot) ในภาคเหนือ จากเดิม 800 กว่าจุด/วัน ให้เหลือเพียง
ไม่เกิน 250 จุด/วัน ทั้งนี้ หากการดำเนินการดังกล่าว เกินขีดความสามารถของจังหวัดให้ร้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ
หน่วยทหารในพื้นที่
4) ให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนทำการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้
เกษตรกรและประชาชนละเว้นการจุดไฟเผาป่า ตอซังข้าว การเผาเศษวัสดุ ขยะมูลฝอย กิ่งใบไม้ในบ้านเรือน โดยให้ชุมชนมีความตระหนัก
และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
5) ให้ดำเนินการตามมาตรการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนดูแลความปลอดภัยทางถนนใน
พื้นที่ที่ทัศนวิสัยการมองเห็นต่ำ ฯลฯ เป็นต้น
6) ให้พิจารณาดำเนินการตามมาตรการทั่วไปที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคง
ของมนุษย์ (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) ได้สั่งการไปแล้วตามหนังสือสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ด่วนที่สุด ที่ มท 0616/ว 246 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2550 และการฉีด (Spray)น้ำในพื้นที่โล่ง การราดน้ำบนถนนในเขตชุมชน เพื่อลดความร้อน
และให้น้ำระเหย สร้างความชื้นในอากาศลดจำนวนฝุ่นละอองทั้งในช่วงเช้า กลางวัน และช่วงบ่าย
7) ทุกจังหวัดในภาคเหนือรายงานสถานการณ์มลพิษหมอกควันจุดไฟไหม้ (Hot Spot) และผลการดำเนินงานประจำวัน
จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
2.4 ข้อมูลจำนวน Hot spot ระหว่างวันที่ 16-24 มีนาคม 2550 ที่แปลผลจากภาพถ่ายดาวเทียม NOAA-12 ของสำนักจัดการ
คุณภาพอากาศและเสีย กรมควบคุมมลพิษ (16-19 มี.ค.50) และดาวเทียม TERRA และ AQUA ของกรมอุทยานฯ (20-24 มี.ค.50) พบว่า
วันเดือนปี ประเทศไทย ภาคเหนือ จังหวัดที่เกิด
เกิด Hot spot เกิด Hot spot
(จุด) (จุด)
16 มี.ค.50 387 241 ตาก 41 น่าน 39 เชียงใหม่ 31 แม่ฮ่องสอน 27 กำแพงเพชร
16 เพชรบูรณ์ 13 เชียงราย และพิษณุโลก 12 ฯลฯ
17 มี.ค.50 593 318 น่าน 71 แม่ฮ่องสอน 52 พิษณุโลก 37 เชียงใหม่ 30 เพชรบูรณ์
29 ตาก 28 อุตรดิตถ์ 14 ฯลฯ
18 มี.ค.50 16 2 น่าน 1 นครสวรรค์ 1
19 มี.ค.50 11 10 เชียงใหม่ และตาก 3 แม่ฮ่องสอน 2 กำแพงเพชร และเชียงราย 1
20 มี.ค.50 45 10 เชียงราย 4 ตากและน่าน 2 เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน 1
21 มี.ค.50 34 7 เชียงราย 2 ตาก 2 น่าน 4 พะเยา 1
22 มี.ค.50 37 - (ข้อมูลไม่ได้แยกว่าเกิด HOT SPOT ในภาคเหนือกี่จุด และเกิดในพื้นที่ใด)
23 มี.ค.50 81 - (ข้อมูลไม่ได้แยกว่าเกิด HOT SPOT ในภาคเหนือกี่จุด และเกิดในพื้นที่ใด)
24 มี.ค.50 281 - (ข้อมูลไม่ได้แยกว่าเกิด HOT SPOT ในภาคเหนือกี่จุด และเกิดในพื้นที่ใด)
2.5 สรุปภาพรวมข้อมูลการเกิดจุดไฟไหม้ (Hot spot) รายวัน (ระหว่างวันที่ 16-25 มี.ค. 2550) ของจังหวัดในภาคเหนือ
และผลการดำเนินการ สรุปได้ดังนี้
วันเดือนปี จำนวนจังหวัด จำนวนจุดที่เกิดไฟไหม้ (Hot spot/จุด) ผลการดำเนินการ
ที่รายงานว่า ไฟป่า เผาเศษพืช/พื้น เผาใบไม้/ขยะ รวม ดับได้ คงเหลือ
มีจุดไฟไหม้ ที่การเกษตร
16 มี.ค.50 5 24 12 5 41 36 5 (ดับได้
ในวันถัดไป)
17 มี.ค.50 10 42 14 0 56 56 0
18 มี.ค.50 5 13 0 6 19 19 0
19 มี.ค.50 7 36 0 8 44 44 0
20 มี.ค.50 8 36 1 18 55 55 0
21 มี.ค.50 5 21 1 0 22 22 0
22 มี.ค.50 6 7 0 19 26 26 0
23 มี.ค.50 3 39 0 21 60 60 0
24 มี.ค.50 3 7 0 6 13 13 0
25 มี.ค.50 3 16 0 8 24 24 0
รวม 17 จังหวัด 241 28 91 360 360 0
2.6 การให้ความช่วยเหลือโดยรวมของจังหวัดที่ประสบภัย
1) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ปฏิบัติการฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่เป้าหมายหวังผลหลัก ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้
ตอนล่าง จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง ลดมลพิษทางอากาศ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย และ จ.แม่ฮ่องสอน
2) จังหวัดได้ระดมสรรพกำลังในการป้องกัน การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งการเข้าปฏิบัติงานการดับไฟป่า
และดับไฟในพื้นที่ราบ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชนให้งดกิจกรรม เผาวัสดุเศษพืช ขยะ/ใบไม้ ผ่านสื่อทุกแขนงวิทยุชุมชน
หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดยหากการขอความร่วมมือไม่เป็นผลจะดำเนินการตามมาตรการบังคับใช้กฎหมายแก่ผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิด
ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉียบขาด
3) สาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับ อสม. ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลสุขภาพอนามัย และเฝ้าติดตามโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
ได้แก่ เด็ก และผู้สูงอายุ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
สถานการณ์ภัยแล้งตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2550 และสถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
(ระหว่างวันที่ 1—26 มีนาคม 2550) ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 26 มีนาคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 58 จังหวัด 533 อำเภอ 54 กิ่งฯ 3,188 ตำบล 25,376 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 38.98 ของหมู่บ้าน
65,092 หมู่บ้านใน 58 จังหวัด และคิดเป็นร้อยละ 34.45 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ)
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2550 (รวม 56 จังหวัด 527 อำเภอ 59 กิ่งฯ
3,322 ตำบล 26,720 หมู่บ้าน) ปรากฏว่ามีจังหวัดประสบภัยแล้งเพิ่มขึ้น จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท และสงขลา และจำนวนหมู่บ้าน
ที่ลดลงของจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 1,344 หมู่บ้าน
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสลมตะวันตกพัดเข้ามาปกคลุมพื้นที่ตอนบน ประกอบกับการทำฝนหลวงของสำนักฝนหลวงและ
การบินเกษตรประสบผลสำเร็จ ทำให้มีฝนตกกระจายทั่วไปในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
ทำให้สถานการณ์ภัยแล้งในบางพื้นที่คลี่คลายลงไป
เปรียบเทียบหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเมื่อปี 2549 ในช่วงเวลาเดียวกัน (วันที่ 26 มี.ค. 2549) รวม 59 จังหวัด 448
อำเภอ 45 กิ่งฯ 3,251 ตำบล 28,127 หมู่บ้าน (ร้อยละ 38.18 ของหมู่บ้านทั้งหมด) โดยปี 2550 (รวม 58 จังหวัด 533 อำเภอ
54 กิ่งฯ 3,188 ตำบล 25,376 หมู่บ้าน) มีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งน้อยกว่า 2,751 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.78
1.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 2,106,141 ครัวเรือน 8,238,060 คน (คิดเป็นร้อยละ 15.41 ของครัวเรือนทั้งหมด
13,670,116 ครัวเรือน ใน 58 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
1.3 พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 114,619 ไร่ (จำนวน 11 จังหวัด)
1.4 การให้ความช่วยเหลือ
1.4.1 การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 1,556 เครื่อง แยกเป็น
- จังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 36 เครื่อง
- กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 820 เครื่อง แยกเป็น เพื่อการเพาะปลูก 767 เครื่อง
เพื่อการอุปโภคบริโภค 53 เครื่อง
(2) จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการดังนี้
- จัดทำทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 11,091 แห่ง - ขุดลอกแหล่งน้ำ 2,282 แห่ง
1.4.2 การปรับปรุง ซ่อมและทำความสะอาดภาชนะเก็บน้ำ ดังนี้ ถังเก็บน้ำ คสล. 1,041 แห่ง ถังปูนฉาบ 509 แห่ง
ถังไฟเบอร์ 912 แห่ง โอ่งซีเมนต์ 9,920 แห่ง เป่าล้างบ่อบาดาล 1,747 แห่ง หอถังระบบประปาหมู่บ้าน 986 แห่ง หอถังระบบประปาภูเขา
999 แห่ง
การสร้างภาชนะเก็บน้ำ ดังนี้ ถังเก็บน้ำ คสล. 147 แห่ง ถังปูนฉาบ 171 แห่ง ถังเหล็ก 165 แห่ง
ถังไฟเบอร์ 159 แห่ง โอ่งซีเมนต์ 1,149 แห่ง หอถังระบบประปาหมู่บ้าน 177 แห่ง หอถังระบบประปาภูเขา 10 แห่ง บ่อน้ำตื้น 127 แห่ง
1.4.3 การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภคของจังหวัดที่ประสบภัย ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,612 คัน แจกจ่ายน้ำ 51,555 เที่ยว
จำนวน 375,629,437 ลิตร
1.4.4 งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว จำนวน 412,171,137 บาท แยกเป็น
(1) งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 369,047,388 บาท
(2) งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 30,152,344 บาท
(3) งบอื่นๆ 12,971,405 บาท
1.5 การสนับสนุนน้ำประปาช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง
1.5.1 การประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำประปาให้แก่รถยนต์บรรทุกน้ำของทางราชการโดยไม่คิดมูลค่า
(จ่ายน้ำฟรี) เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 94,024,000 ลิตร คิดเป็นเงิน 1,104,782 บาท สำหรับการ
ประปาที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำดิบของการประปาส่วนภูมิภาค มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ การประปาปากท่อ จังหวัดราชบุรี และการประปาบำเหน็จณรงค์
จังหวัดชัยภูมิ แก้ไขปัญหาโดยจ่ายน้ำเป็นช่วงเวลาและใช้รถบรรทุกน้ำแจกจ่ายให้ประชาชน
1.5.2 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้จัดตั้งจุดจ่ายน้ำเพื่อแจกจ่ายน้ำให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่ประสบภัยแล้ง
ทั่วประเทศ จำนวน 2,000 จุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง
2. สรุปสถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (ระหว่างวันที่ 1-26 มีนาคม 2550)
2.1 สาเหตุการเกิด ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา ได้เกิดสถานการณ์มลพิษ หมอกควันปกคลุมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ
ตอนบนใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา ตาก น่าน และแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่
กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง ขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เพื่อติดตามและเฝ้าระวังที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัยของ
ประชาชน ซึ่งพบว่ามีค่าสูงเกินค่ามาตรฐาน (120 ไมโครกรัม/ลบ.ม.) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่
14 มีนาคม 2550 ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ (โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) จังหวัดเชียงใหม่ วัดได้สูงสุดที่ 382.7 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
2.2 ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ณ เวลา 15.00 น. ของวันที่ 25 มี.ค. 2550 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
(ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ)
สถานี PM10*
14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค. มี.ค.
จ.เชียงใหม่ ศูนย์ราชการรวมฯ อ.แม่ริม 304 230 152 171 185 196 148 91 64 86 101 158
ร.ร.ยุพราชวิทยาลัย อ.เมือง 383 261 184 176 203 203 141 83 64 89 115 171
จ.ลำปาง ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อ.เมือง 219 135 103 120 134 131 91 61 63 63 91 115
สนง.การประปาฯ อ.แม่เมาะ 194 132 86 113 125 122 82 62 55 60 81 115
จ.เชียงราย ร.ร.สามัคคีวิทยาคม อ.เมือง - 229 201 169 159 201 - - - 75 89 174
จ.แม่ฮ่องสอน ทสจ.แม่ฮ่องสอน อ.เมือง - - 233 240 278 284 340 284 166 150 219 238
หมายเหตุ 1. ค่ามาตรฐาน PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เท่ากับ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2. ค่า PM10 สูงสุดเมื่อวันที่ 14 มี.ค.2550 วัดได้ 383 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
สรุป ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของทุกสถานี โดยจังหวัด เชียงราย ชียงใหม่ และ
แม่ฮ่องสอน ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
2.3 มาตรการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันในภาคเหนือของกระทรวงมหาดไทย
1) ให้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤตหมอกควันจังหวัด เพื่อเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤตหมอกควันและการ
ช่วยเหลือประชาชนในจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ
2) ให้ขอความร่วมมือประชาชนงดเว้นการเผาหญ้า วัสดุ ขยะในทุกพื้นที่ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2550 โดยให้มีการ
ประเมินและเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ทั้งนี้ หากการขอความร่วมมือดังกล่าวไม่เป็นผลให้ใช้มาตรการทาง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องดำเนินการกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง
3) ให้จังหวัดระดมสรรพกำลังในพื้นที่ทั้งในด้านเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน เพื่อปฏิบัติการ
ทั่วในพื้นที่ราบ/ชุมชนและพื้นที่ป่าไม้บนภูเขาสูง โดยเฉพาะการลดจุดไฟไหม้ (Hot Spot) ในภาคเหนือ จากเดิม 800 กว่าจุด/วัน ให้เหลือเพียง
ไม่เกิน 250 จุด/วัน ทั้งนี้ หากการดำเนินการดังกล่าว เกินขีดความสามารถของจังหวัดให้ร้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ
หน่วยทหารในพื้นที่
4) ให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนทำการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้
เกษตรกรและประชาชนละเว้นการจุดไฟเผาป่า ตอซังข้าว การเผาเศษวัสดุ ขยะมูลฝอย กิ่งใบไม้ในบ้านเรือน โดยให้ชุมชนมีความตระหนัก
และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
5) ให้ดำเนินการตามมาตรการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนดูแลความปลอดภัยทางถนนใน
พื้นที่ที่ทัศนวิสัยการมองเห็นต่ำ ฯลฯ เป็นต้น
6) ให้พิจารณาดำเนินการตามมาตรการทั่วไปที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคง
ของมนุษย์ (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) ได้สั่งการไปแล้วตามหนังสือสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ด่วนที่สุด ที่ มท 0616/ว 246 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2550 และการฉีด (Spray)น้ำในพื้นที่โล่ง การราดน้ำบนถนนในเขตชุมชน เพื่อลดความร้อน
และให้น้ำระเหย สร้างความชื้นในอากาศลดจำนวนฝุ่นละอองทั้งในช่วงเช้า กลางวัน และช่วงบ่าย
7) ทุกจังหวัดในภาคเหนือรายงานสถานการณ์มลพิษหมอกควันจุดไฟไหม้ (Hot Spot) และผลการดำเนินงานประจำวัน
จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
2.4 ข้อมูลจำนวน Hot spot ระหว่างวันที่ 16-24 มีนาคม 2550 ที่แปลผลจากภาพถ่ายดาวเทียม NOAA-12 ของสำนักจัดการ
คุณภาพอากาศและเสีย กรมควบคุมมลพิษ (16-19 มี.ค.50) และดาวเทียม TERRA และ AQUA ของกรมอุทยานฯ (20-24 มี.ค.50) พบว่า
วันเดือนปี ประเทศไทย ภาคเหนือ จังหวัดที่เกิด
เกิด Hot spot เกิด Hot spot
(จุด) (จุด)
16 มี.ค.50 387 241 ตาก 41 น่าน 39 เชียงใหม่ 31 แม่ฮ่องสอน 27 กำแพงเพชร
16 เพชรบูรณ์ 13 เชียงราย และพิษณุโลก 12 ฯลฯ
17 มี.ค.50 593 318 น่าน 71 แม่ฮ่องสอน 52 พิษณุโลก 37 เชียงใหม่ 30 เพชรบูรณ์
29 ตาก 28 อุตรดิตถ์ 14 ฯลฯ
18 มี.ค.50 16 2 น่าน 1 นครสวรรค์ 1
19 มี.ค.50 11 10 เชียงใหม่ และตาก 3 แม่ฮ่องสอน 2 กำแพงเพชร และเชียงราย 1
20 มี.ค.50 45 10 เชียงราย 4 ตากและน่าน 2 เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน 1
21 มี.ค.50 34 7 เชียงราย 2 ตาก 2 น่าน 4 พะเยา 1
22 มี.ค.50 37 - (ข้อมูลไม่ได้แยกว่าเกิด HOT SPOT ในภาคเหนือกี่จุด และเกิดในพื้นที่ใด)
23 มี.ค.50 81 - (ข้อมูลไม่ได้แยกว่าเกิด HOT SPOT ในภาคเหนือกี่จุด และเกิดในพื้นที่ใด)
24 มี.ค.50 281 - (ข้อมูลไม่ได้แยกว่าเกิด HOT SPOT ในภาคเหนือกี่จุด และเกิดในพื้นที่ใด)
2.5 สรุปภาพรวมข้อมูลการเกิดจุดไฟไหม้ (Hot spot) รายวัน (ระหว่างวันที่ 16-25 มี.ค. 2550) ของจังหวัดในภาคเหนือ
และผลการดำเนินการ สรุปได้ดังนี้
วันเดือนปี จำนวนจังหวัด จำนวนจุดที่เกิดไฟไหม้ (Hot spot/จุด) ผลการดำเนินการ
ที่รายงานว่า ไฟป่า เผาเศษพืช/พื้น เผาใบไม้/ขยะ รวม ดับได้ คงเหลือ
มีจุดไฟไหม้ ที่การเกษตร
16 มี.ค.50 5 24 12 5 41 36 5 (ดับได้
ในวันถัดไป)
17 มี.ค.50 10 42 14 0 56 56 0
18 มี.ค.50 5 13 0 6 19 19 0
19 มี.ค.50 7 36 0 8 44 44 0
20 มี.ค.50 8 36 1 18 55 55 0
21 มี.ค.50 5 21 1 0 22 22 0
22 มี.ค.50 6 7 0 19 26 26 0
23 มี.ค.50 3 39 0 21 60 60 0
24 มี.ค.50 3 7 0 6 13 13 0
25 มี.ค.50 3 16 0 8 24 24 0
รวม 17 จังหวัด 241 28 91 360 360 0
2.6 การให้ความช่วยเหลือโดยรวมของจังหวัดที่ประสบภัย
1) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ปฏิบัติการฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่เป้าหมายหวังผลหลัก ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้
ตอนล่าง จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง ลดมลพิษทางอากาศ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย และ จ.แม่ฮ่องสอน
2) จังหวัดได้ระดมสรรพกำลังในการป้องกัน การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งการเข้าปฏิบัติงานการดับไฟป่า
และดับไฟในพื้นที่ราบ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชนให้งดกิจกรรม เผาวัสดุเศษพืช ขยะ/ใบไม้ ผ่านสื่อทุกแขนงวิทยุชุมชน
หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดยหากการขอความร่วมมือไม่เป็นผลจะดำเนินการตามมาตรการบังคับใช้กฎหมายแก่ผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิด
ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉียบขาด
3) สาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับ อสม. ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลสุขภาพอนามัย และเฝ้าติดตามโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
ได้แก่ เด็ก และผู้สูงอายุ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--