คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปการดำเนินการของศูนย์ติดตามสถานการณ์ชุมนุม กระทรวงคมนาคม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ตามที่ได้มีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และกระจายเป็นวงกว้างในพื้นที่ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน นั้น
กระทรวงคมนาคมได้เตรียมการรองรับสถานการณ์ชุมนุมดังกล่าวมาโดยลำดับ ตั้งแต่ก่อนการชุมนุม ดังนี้
1. การจัดตั้ง “ศูนย์ติดตามสถานการณ์ชุมนุม”
กระทรวงคมนาคม ได้จัดตั้ง “ศูนย์ติดตามสถานการณ์ชุมนุม” ของกระทรวงคมนาคม ขึ้นที่กรมการขนส่งทางบก โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับหน่วยงานในสังกัด และหน่วยงานอื่นๆ ในการให้ความช่วยเหลือประชาชน ในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
- เป็นศูนย์กลางในการบริหาร สั่งการในการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ในเรื่องของอุปกรณ์ ยานพาหนะ ฯลฯ ตามที่ได้รับการร้องขอ
- เป็นศูนย์กลางในการติดตามข้อมูล ข่าวสารระหว่าง การชุมนุม และประสานการจัดการ ด้านให้บริการการเดินทางทุกระบบ
- เป็นศูนย์กลางในการแจ้งข้อมูล ข่าวสารในการเดินทางให้กับประชาชน โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้อำนวยการศูนย์ หัวหน้าหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นกรรมการประจำศูนย์ และมีโครงข่ายการประสานงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้องต่างๆ รวมทั้งสรุปผลการดำเนินการระหว่างวันที่ 12 — 22 มีนาคม 2553 ดังนี้
1.1 โครงข่ายการประสานงาน “ศูนย์ติดตามสถานการณ์ชุมนุม”
“ศูนย์ติดตามสถานการณ์ชุมนุม” กระทรวงคมนาคม ได้ใช้โครงข่ายการสื่อสารติดต่อระหว่างศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง และศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) โดยมีศูนย์ติดตามสถานการณ์ชุมนุมประจำจังหวัด ของกระทรวงคมนาคม ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการเดินรถและรักษาความปลอดภัย ขสมก. และศูนย์ข้อมูลการขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานข้อมูล และรายงานตรงต่อ “ศูนย์ติดตามสถานการณ์ชุมนุม” และศูนย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.2 รายงานสรุปผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 12-22 มีนาคม 2553
1) การดำเนินการของศูนย์ติดตามสถานการณ์การชุมนุม (1584)
ศูนย์ติดตามสถานการณ์ชุมนุม ได้จัดทำรายงานสรุปสถานการณ์วันละ 2 ช่วงเวลา ทุกวัน ในช่วงเช้าเวลา 06.00 น. และช่วงเย็นเวลา 18.00 น. เพื่อประมวลสถานการณ์เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สำหรับเป็นข้อมูลในการนำเสนอ ศอ.รส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1.1) สถานการณ์การชุมนุมในกรุงเทพฯ 1.2) การเคลื่อนขบวนการของประชาชนในจังหวัดต่างๆ มุ่งสู่กรุงเทพฯ 1.3) จุดที่ตั้งของการชุมนุม 1.4) สถานการณ์การชุมนุมในพื้นที่จังหวัดต่างๆ 1.5) ปริมาณของประชาชนเดินทางจากจังหวัดต่างๆ 1.6) สถานการณ์การนัดหมายของแกนนำผู้ชุมนุม 1.7) ผลการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง และให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ 1.8) การรายงานสถานการณ์การให้บริการรถโดยสาร ขสมก. ในเส้นทางผ่านจุดชุมนุม และเส้นทางเลี่ยง 1.9) การรายงานสถานการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางโดยเรือโดยสาร และเรือประเภทอื่นๆ 1.10) การรายงานสถานการณ์การเคลื่อนขบวนของกลุ่มผู้ชุมนุม / สภาพการจราจร / และการเสร็จสิ้นภารกิจของการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุม 1.11) ศอ.รส. ได้ประสานขอความสนับสนุนเครื่องมือ / อุปกรณ์ จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม 1.12) การรายงานสถานการณ์ / สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา
2) การดำเนินงานของศูนย์ปลอดภัยคมนาคม (โทร 1356)
2.1) ศูนย์ปลอดภัยคมนาคมได้ให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในช่วงสถานการณ์ชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1356 ได้แก่ สภาพการจราจรในเส้นทางต่างๆ การปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถโดยสาร ขสมก. ข้อมูลการอนุญาตนำรถยนต์ / รถกระบะ / รถโดยสาร เดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ และการแนะนำการเดินทาง รวมทั้งการรายงานสถานการณ์ ที่เป็นปัจจุบันรวม 5,484 ครั้ง ดังนี้
วันที่ จำนวนครั้ง 12 มีนาคม 2553 612 13 มีนาคม 2553 666 14 มีนาคม 2553 462 15 มีนาคม 2553 537 16 มีนาคม 2553 570 17 มีนาคม 2553 722 18 มีนาคม 2553 327 19 มีนาคม 2553 135 20 มีนาคม 2553 1,218 21 มีนาคม 2553 235 รวม 5,484
2.2) ศูนย์ปลอดภัยคมนาคมได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานการติดต่อเพื่อเดินทางกลับของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยในวันที่ 20 — 21 มีนาคม ที่ผ่านมา มีประชาชนประมาณ 10 ราย โทรศัพท์เข้ามาสอบถามรายละเอียดการจัดรถบริการอำนวยความสะดวกให้กลุ่มผู้ชุมนุมกลับภูมิลำเนา ทั้งนี้ ประชาชนที่โทรศัพท์เข้ามาไม่มีการแจ้งชื่อ-สกุล และไม่ระบุปลายทางที่ต้องการกลับ มีเพียงขอสอบถามข้อมูลเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับสายได้ให้ข้อมูลว่า “ให้ประชาชนรวมกลุ่มกันให้ได้ประมาณ 30 — 40 คน โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนา / ปลายทาง อยู่ในเส้นทางเดียวกัน / ใกล้เคียงกัน และให้นัดหมายวันเวลาและสถานที่ และให้หัวหน้ากลุ่มโทรแจ้งให้ศูนย์ปลอดภัยคมนาคมทราบเพื่อจะได้ประสานข้อมูลไปยัง บริษัท ขนส่ง จำกัด นำไปพิจารณาติดต่อนัดหมายกับหัวหน้ากลุ่มอีกครั้ง” นอกจากนี้ ยังมีประชาชนบางส่วนที่โทรมาแจ้งว่ายังไม่ประสงค์จะเดินทางกลับ พร้อมทั้งขอให้ศูนย์ปลอดภัยคมนาคมยุติการประชาสัมพันธ์ในเรื่องดังกล่าว
2.3) ศูนย์ปลอดภัยคมนาคมได้ประสานงาน และขอรับการสนับสนุน อุปกรณ์/รถ จำนวน 7 ครั้ง ดังนี้
วันที่ ลำดับ รายการ / จำนวน ผู้ขอรับ หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน การสนับสนุน 12 มี.ค. 53 1. รถโดยสาร จำนวน 47 คัน พ.อ.สถาพร สหวัฒน์ บริษัท ขนส่ง จำกัด 2. รถโดยสาร จำนวน 53 คัน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หมายเหตุ : รายการที่ 1 และ 2 เป็นการจัดรถโดยสารให้บริการกลุ่มผู้ชุมนุมในพื้นที่เดินทางเข้า กทม. เพื่อหลีกเลี่ยง การนำรถส่วนบุคคลเข้ามา 14 มี.ค. 53 3. BARRIER คอนกรีต จำนวน 20 แท่ง พ.อ.สถาพร สหวัฒน์ กรมทางหลวง 16 มี.ค. 53 4. BARRIER คอนกรีต จำนวน 15 แท่ง พ.อ.สถาพร สหวัฒน์ กรมทางหลวง 5. BARRIER แบบเติมน้ำ จำนวน 15 แท่ง 19 มี.ค. 53 6. รถบดถนน จำนวน 2 คัน พ.อ.สถาพร สหวัฒน์ กรมทางหลวง 7. รถแทรกเตอร์ จำนวน 3 คัน กรมทางหลวงชนบท
3) การดำเนินงานศูนย์ข้อมูลการขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS)
ศูนย์ข้อมูลการขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ให้บริการข้อมูลสภาพการจราจรระบบ Real Time และให้ความร่วมมือกับ ศอ.รส. ดังนี้
3.1) ให้บริการข้อมูลสภาพการจราจร โดยผ่าน เว็บไซต์ www.trafinfo.net และผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (m.trafinfo.net) ซึ่งประชาชนส่วนมากเข้าดูสภาพการจราจร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหลีกเลี่ยงการจราจร โดยการรายงานสภาพการจราจรจะรายงานผ่านกล้องวงจรปิด ประมาณ 200 กล้อง โดยแยกเป็นเส้นสี ดังนี้ เส้นสีแดง — ติดขัดมาก เส้นสีเหลือง — ติดขัดปานกลาง เส้นสีเขียว — คล่องตัว แยกเป็นผู้เข้าชมโดยผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 5,106 ราย และเข้าชมผ่านระบบเว็บไซต์ จำนวน 2,116 ราย ระหว่างวันที่ 11 — 21 มีนาคม 2553
3.2) ในสถานการณ์ฉุกเฉิน สนข. ได้สนับสนุนข้อมูลแก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการจราจร และเพิ่มข้อมูลในเรื่องของการปิดเส้นทางการจราจรจากการประสานงานกับ บก.02 โดย สนข. ได้รายงานให้ประชาชนทราบถนนในแผนที่ เป็นเส้นสีดำ แทนเส้นทางการปิดการจราจร เพื่อให้ประชาชนหลีกเลี่ยงและสามารถวางแผนการเดินทางในเส้นทางอื่น ซึ่งในเว็บไซต์ของ สนข. ประชาชนสามารถเห็นเส้นทางต่าง ๆ ที่จะหลีกเลี่ยงได้อย่างชัดเจน และมีข้อความตัวอักษรวิ่งที่บอกถึงเหตุการณ์ปัจจุบันสำคัญ ๆ เกี่ยวกับการจราจร (การปิดถนน การก่อสร้าง อุบัติเหตุที่เป็นเวลา ณ ปัจจุบัน) ซึ่งสามารถเข้าดูได้ทุกสถานที่ที่มีระบบเนตเวิร์ค หรือทางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะกำลังขับรถก็สามารถ ใช้ดูเพื่อดูเส้นทาง ทั้งทางราบ ทางด่วน และบนทางยกระดับเพื่อใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันเหตุการณ์
3.3) ให้ความร่วมมือ ศอ.รส. ในการเชื่อมต่อระบบข้อมูล ITS ไปยัง ศอ.รส. เพื่อติดตามสถานการณ์ชุมนุม ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป
4) ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการเดินรถและรักษาความปลอดภัย ขสมก. (โทร 184)
ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการเดินรถและรักษาความปลอดภัย ขสมก. เป็นศูนย์กลาง การบริหารการตัดสินใจการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ และแจ้งข้อมูลดังกล่าวต่อหน่วยของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น บก.จร. และ ศอ.รส. เป็นต้น สื่อมวลชนทุกแขนง และให้บริการสอบถามข้อมูล แนะนำบริการแก่ประชาชนในการใช้เส้นทางระหว่างวันที่ 12 — 21 มีนาคม 2553 รวม 93,468 ครั้ง โดยแยกเป็นรายวัน ดังนี้
วัน/เดือน/ปี กิจกรรมผู้ชุมนุม จำนวนครั้งการให้บริการ 12 มีนาคม 2553 - ผู้ชุมนุมทยอยมาตามจุดนัดหมาย ได้แก่ หลักสี่ บางนา 9,222 วงเวียนใหญ่ สวนลุมพินี และสนามไทย-ญี่ปุ่นดินแดง 13 มีนาคม 2553 - ผู้ชุมนุมได้รวมตัวที่สะพานผ่านฟ้า ตั้งแต่เวลา 07.30 น. 7,833 14 มีนาคม 2553 - ผู้ชุมนุมได้รวมตัวที่สะพานผ่านฟ้าเพิ่มขึ้น 8,845 15 มีนาคม 2553 - ผู้ชุมนุมเคลื่อนที่ไปยังกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ 14,271 (ร.11 รอ.) เวลา 09.00 น. 16 มีนาคม 2553 - ผู้ชุมนุมเคลื่อนที่ไปทำเนียบรัฐบาล และพรรคประชาธิปัตย์ 10,421 17 มีนาคม 2553 - ผู้ชุมนุมเคลื่อนที่ไปบ้านนายกรัฐมนตรี ซอยสุขุมวิท 31 8,244 18 มีนาคม 2553 - ผู้ชุมนุมอยู่ที่สะพานผ่านฟ้า ไม่มีการเคลื่อนที่ 8,234 19 มีนาคม 2553 - ผู้ชุมนุมอยู่ที่สะพานผ่านฟ้า ไม่มีการเคลื่อนที่ 8,500 20 มีนาคม 2553 - ผู้ชุมนุมเคลื่อนที่ เวลา 10.00 น. จากผ่านฟ้า ผ่านหลานหลวง 11,142 ถนนเพชรบุรี ถนนอโศก ถนนรัชดาภิเษก ถนนลาดพร้าว ถนนรามคำแหง ถนนสุขุมวิท ถนนพระรามที่ 4 แยกเป็น 2 ขบวน - ไปถนนสีลม ถนนเจริญกรุง ถนนเยาวราช ถนนมหาชัย สิ้นสุดที่สะพานผ่านฟ้า เวลา 18.00 น. - ไปคลองเตย ถนนพระรามที่ 3 ข้ามสะพานกรุงเทพฯ รัช ดา — ท่าพระ ถนนเพชรเกษม วงเวียนใหญ่ ถนน สมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนธนบุรี ข้ามสะพานสาทร ถนน สีลม ถนนเจริญกรุง ถนนเยาวราช ถนนมหาชัย สิ้นสุด สะพานผ่านฟ้า เวลา 18.00 น. 21 มีนาคม 2553 - ผู้ชุมนุมอยู่ที่สะพานผ่านฟ้าไม่มีการเคลื่อนที่ 6,756
2. การรักษาความปลอดภัยในเอกสารและทรัพย์สินของทางราชการ
กระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัด กำหนดมาตรการอย่างเข้มงวด ในการดูแลสถานที่ราชการ รวมทั้งทรัพย์สินและเอกสารสำคัญ โดยการจัดเวรยามอย่างต่อเนื่อง เพิ่มกำลังคน รวมทั้งการเตรียมพร้อมอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้สามารถระงับเหตุได้ทันที ซึ่งทุกหน่วยงานในสังกัดได้ดำเนินการตามมาตรการของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่การให้บริการสาธารณะ เช่น สถานีรถไฟ สถานี บขส. และสนามบินทุกแห่ง ให้เพิ่มระดับมาตรการรักษาความปลอดภัย และเตรียมพร้อมตามมาตรการฉุกเฉินตลอดเวลา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มีนาคม 2553--จบ--