คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดำเนินการทดสอบ ประเมินสมรรถนะ และดำเนินการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาตามโครงการพัฒนาครูทั้งระบบ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งโดยวิธีกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แจ้งว่า
1. ตามมติคณะรัฐมนตรี (18 สิงหาคม 2552) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับจัดสรรเงินของโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อดำเนินการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สพฐ.
2. สพฐ. จึงได้กำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินการพัฒนาครูฯ ให้สอดคล้องกับการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบ ดังนี้
2.1 เป้าหมายในการพัฒนาครู : ผู้บริหารสถานศึกษา 39,898 คน ครูปฐมวัย ประถมศึกษา 265,183 คน ครูมัธยมศึกษา 108,688 คน ครูศึกษาพิเศษ ศึกษาสงเคราะห์ 4,120 คน รวม 417,889 คน
2.2 กรอบวิธีการพัฒนาครู
2.2.1 ประเมินศักยภาพครูและผู้บริหารเป็นรายบุคคลทุกคนและจัดกลุ่มเพื่อกำหนดการพัฒนาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มระดับสูง กลุ่มระดับกลาง และกลุ่มระดับต้น สพฐ.ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) รวมทั้งสิ้น 417,889 คน
2.2.2 ดำเนินการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกับกลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 25 สถาบัน โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแกนหลักและ สสวท. เพื่อให้ได้องค์ความรู้ในสาระวิชาและเทคนิคการสอนใหม่เพิ่มเติมให้ครูกลุ่มระดับสูงเป็นแกนหลักในการสร้างเครือข่ายพัฒนาครูในสาระวิชาเดียวกันในจังหวัดและเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
กลุ่มครู/ผู้บริหาร หน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการประเมิน ในการพัฒนา 1. ผู้บริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 2. ครูกลุ่มปฐมวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 3. ครูภาษาไทยประถมศึกษาและ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ บูรณาการ กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 4. ครูคณิตศาสตร์ ป.1-6 สสวท. สสวท.ร่วมกับกลุ่มเครือข่าย ครูวิทยาศาสตร์ ป.4-6 สถาบันอุดมศึกษา 5. ครูคณิตศาสตร์ ม.ต้น สสวท. สสวท.ร่วมกับกลุ่มเครือข่าย ครูวิทยาศาสตร์ ม.ต้น สถาบันอุดมศึกษา 6. ครูภาษาไทย ม.ต้นและม.ปลาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 7. ครูสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ ดำเนินการแล้วในปี 2552 กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 8. ครูภาษาอังกฤษ สพฐ.ดำเนินการไว้แล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 9. ครูคณิตศาสตร์ ม.ปลาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ ครูวิทยาศาสตร์ ม.ปลาย กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 10.ครูพลศึกษา สุขศึกษา ม.ต้น ม.ปลาย สพฐ. สพฐ. ครูศิลปะ นาฏศิลป์ ดนตรี ม.ต้น ม.ปลาย ครูการงานอาชีพ เทคโนโลยี ม.ต้น ม.ปลาย 11.ครูการศึกษาพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 12.ครูศึกษาสงเคราะห์ จัดแยกเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ ปฐมวัย ประถมศึกษา ม.ต้น กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา และม.ปลาย 13.ครูบรรณารักษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ ครูแนะแนว กลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 14.สมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำ สพฐ. สพฐ.โดยวิธี e-Training สายงาน
3. ศธ.พิจารณาแล้วเห็นว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในการให้การศึกษา ฝึกอบรมทางวิชาชีพครู มีความรู้ความสามารถในการปรับบทบาทครูผู้สอนจากวิธีการสอนแบบเดิมที่สอน โดยยึดเนื้อหาให้เป็นการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ มีแผนพัฒนาครูและรูปแบบวิธีการพัฒนาครูอย่างเป็นระบบ มีความเป็นเอกภาพโดยมีเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษากระจายตามภูมิภาคทั่วประเทศสามารถดำเนินการพัฒนาครูในเขตพื้นที่การศึกษาได้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มีนาคม 2553--จบ--