คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติงบประมาณปีงบประมาณ 2551 เพื่อชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ภายในวงเงินงบประมาณ 28,891.97 ล้านบาท เป็นต้นเงินกู้ค้างชำระ จำนวน 19,514.87 ล้านบาท ดอกเบี้ยชดเชยแทนเกษตรกร จำนวน 9,377.10 ล้านบาท
2. มอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) และคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) นำแนวทางการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตร ดังนี้
(1) กำหนดนโยบายการรับจำนำผลิตผลการเกษตรให้ใกล้เคียงกับสภาพความจำเป็นทางการตลาด
(2) กรณีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกควรเน้นจำนำที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเป็นหลัก โดยควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้มีการปรับปรุงยุ้งฉางดังกล่าว ซึ่งจะลดปัญหาและข้อจำกัด การทุจริต และความได้เปรียบของโรงสี
(3) การจัดทำโครงการรับจำนำต้องมีแผนการตั้งแต่การรับฝากผลิตผลจำนำ การเก็บรักษา การระบายหรือแปรรูปโดยให้สอดคล้องกับสภาพทางการตลาด
(4) ในระยะยาวควรมีแผนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตลาดกลางการเกษตรและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อเป็นการลดบทบาทการแทรกแซงตลาดโดยวิธีการรับจำนำไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาโครงการเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และไม่ก่อให้เกิดภาระด้านงบประมาณแก่รัฐบาล ทั้งนี้ ให้กองทุนรวมประเมินผลการดำเนินงานแต่ละโครงการแล้วรายงานผลสำเร็จ ผลกระทบด้านต่างๆ ปัญหาอุปสรรค ข้อดีข้อเสีย เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณา ดังนี้
1. กรณีการจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ครั้งนี้เป็นวงเงินที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาของรัฐบาลมากเกินไป ธ.ก.ส. ควรจัดทำแผนการขอรับจัดสรรงบประมาณดังกล่าวให้เหมาะสมตามกำลังงบประมาณของประเทศ
2. เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องทางการเงินและลดภาระดอกเบี้ยของ คชก. สมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนแร่งรัดการชำระหนี้และปิดบัญชีโครงการที่สิ้นสุดระยะเวลาโครงการแล้วโดยเร็ว โดยไม่สมควรขยายระยะเวลาโครงการออกไปโดยไม่จำเป็น
3. หากสถานะการเงินของ ธ.ก.ส. ดีขึ้น เห็นควรให้ ธ.ก.ส. ทบทวนอัตราดอกเบี้ยสำหรับโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตรต่าง ๆ ที่สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว แต่ยังคงมีหนี้ค้างชำระคืนค่าผลผลิตที่จำนำไว้ ซึ่งปัจจุบัน ธ.ก.ส. เก็บในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.5 (MRR-1) หากปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจะเป็นการช่วยลดภาระของรัฐบาลในการชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง
4. การดำเนินโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรหรือการแทรกแซงราคาไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้อย่างแท้จริง เป็นเพียงการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรในระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวแบบบูรณาการทั้งในด้านการผลิต การตลาด และการแปรรูปผลผลิต เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้มากขึ้นและเป็นการช่วยลดภาระงบประมาณให้รัฐบาลอีกทางหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--
1. อนุมัติงบประมาณปีงบประมาณ 2551 เพื่อชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ภายในวงเงินงบประมาณ 28,891.97 ล้านบาท เป็นต้นเงินกู้ค้างชำระ จำนวน 19,514.87 ล้านบาท ดอกเบี้ยชดเชยแทนเกษตรกร จำนวน 9,377.10 ล้านบาท
2. มอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) และคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) นำแนวทางการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตร ดังนี้
(1) กำหนดนโยบายการรับจำนำผลิตผลการเกษตรให้ใกล้เคียงกับสภาพความจำเป็นทางการตลาด
(2) กรณีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกควรเน้นจำนำที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเป็นหลัก โดยควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้มีการปรับปรุงยุ้งฉางดังกล่าว ซึ่งจะลดปัญหาและข้อจำกัด การทุจริต และความได้เปรียบของโรงสี
(3) การจัดทำโครงการรับจำนำต้องมีแผนการตั้งแต่การรับฝากผลิตผลจำนำ การเก็บรักษา การระบายหรือแปรรูปโดยให้สอดคล้องกับสภาพทางการตลาด
(4) ในระยะยาวควรมีแผนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตลาดกลางการเกษตรและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อเป็นการลดบทบาทการแทรกแซงตลาดโดยวิธีการรับจำนำไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาโครงการเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และไม่ก่อให้เกิดภาระด้านงบประมาณแก่รัฐบาล ทั้งนี้ ให้กองทุนรวมประเมินผลการดำเนินงานแต่ละโครงการแล้วรายงานผลสำเร็จ ผลกระทบด้านต่างๆ ปัญหาอุปสรรค ข้อดีข้อเสีย เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณา ดังนี้
1. กรณีการจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ครั้งนี้เป็นวงเงินที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาของรัฐบาลมากเกินไป ธ.ก.ส. ควรจัดทำแผนการขอรับจัดสรรงบประมาณดังกล่าวให้เหมาะสมตามกำลังงบประมาณของประเทศ
2. เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องทางการเงินและลดภาระดอกเบี้ยของ คชก. สมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนแร่งรัดการชำระหนี้และปิดบัญชีโครงการที่สิ้นสุดระยะเวลาโครงการแล้วโดยเร็ว โดยไม่สมควรขยายระยะเวลาโครงการออกไปโดยไม่จำเป็น
3. หากสถานะการเงินของ ธ.ก.ส. ดีขึ้น เห็นควรให้ ธ.ก.ส. ทบทวนอัตราดอกเบี้ยสำหรับโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตรต่าง ๆ ที่สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว แต่ยังคงมีหนี้ค้างชำระคืนค่าผลผลิตที่จำนำไว้ ซึ่งปัจจุบัน ธ.ก.ส. เก็บในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.5 (MRR-1) หากปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจะเป็นการช่วยลดภาระของรัฐบาลในการชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง
4. การดำเนินโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรหรือการแทรกแซงราคาไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้อย่างแท้จริง เป็นเพียงการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรในระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวแบบบูรณาการทั้งในด้านการผลิต การตลาด และการแปรรูปผลผลิต เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้มากขึ้นและเป็นการช่วยลดภาระงบประมาณให้รัฐบาลอีกทางหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--