คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์และความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 ในสัตว์ปีกในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550)
1.1 สถานการณ์การพบโรคไข้หวัดนก
ปี ระยะเวลา จำนวนจุดพบโรค
ตำบล อำเภอ จังหวัด
2547 ครั้งที่ 1 วันที่ 23 ม.ค. — 24 พ.ค. 47 141 89 42
ครั้งที่ 2 วันที่ 3 ก.ค. — 31 ธ.ค. 47 708 162 51
(ต่อเนื่องถึงครั้งที่ 1 ปี 2548)
2548 ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ม.ค. — 12 เม.ย.48 76 38 14
ครั้งที่ 2 วันที่ 1 ก.ค. — 9 พ.ย. 48 55 27 11
2549 วันที่ 24 ก.ค. — 2 ส.ค. 49 2 2 2
2550 วันที่ 15 ม.ค. — 31 ม.ค. 50 3 3 3
1.2 รายละเอียดการพบโรคไข้หวัดนกในปี 2550 มีดังนี้
จุดที่ 1 จังหวัดพิษณุโลก ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จากตัวอย่างซากเป็ดไข่พันธุ์กากีแคมเบล อายุ 5 เดือน โดยเกษตรกรเลี้ยง 2,100 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 168 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณจำนวน 1,932 ตัว ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2550 ขณะนี้ได้เฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ครบ 21 วันแล้ว (นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2550)
จุดที่ 2 จังหวัดหนองคาย ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย จากตัวอย่างซากไก่ไข่ โดยเกษตรกรเลี้ยง 2,000 ตัว ป่วยตามรวมทั้งสิ้น 236 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณ จำนวน 1,860 ตัว ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2550 ขณะนี้ได้เฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ครบ 21 วันแล้ว (นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550)
จุดที่ 3 จังหวัดอ่างทอง ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลมงคลธรรมนิมิตร อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง จากตัวอย่างซากไก่พื้นเมืองและไก่ชน โดยเกษตรกรเลี้ยง 16 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 6 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณ จำนวน 10 ตัว ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2550 ขณะนี้ได้เฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ครบ 21 วัน แล้ว (นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550)
1.3 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศปี 2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 12 กุมภาพันธ์ 2550 มีรายงานพบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศจำนวน 11 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง เวียดนาม เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ปากีสถาน รัสเซีย ฮังการี อังกฤษ ตุรกี สโลเวเนีย และไนจีเรีย
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
2.1 การรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-Ray) ครั้งที่ 1/2550 (ระหว่างวันที่ 3 มกราคม — 3 กุมภาพันธ์ 2550) จากเป้าหมายการเก็บตัวอย่าง 48,368 ตัวอย่าง ดำเนินการได้ 55,204 ตัวอย่าง (ร้อยละ 114.13) ผลการตรวจพบโรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 จำนวน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 0.0054) ผลลบ 55,201 ตัวอย่าง (ร้อยละ 99.9946) ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีการอพยพของนกในหลายพื้นที่ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดนก จึงได้ขยายเวลาการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-RAY) ครั้งที่ 1/2550 ออกไปเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ — 5 มีนาคม 2550 โดยดำเนินการเฉพาะกิจกรรมการเฝ้าระวังเชิงรุกทางอาการ ((ACTIVE CLINICAL SURVEILLANCE) และเก็บตัวอย่างนกธรรมชาติส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการไปพร้อมกัน
2.2 การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกช่วงตรุษจีนปี 2550
ในช่วงเทศกาลตรุษจีน จะมีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเข้าโรงฆ่าจำนวนมาก ประชาชนส่วนหนึ่งจะซื้อไก่มาฆ่าจำหน่ายหรือฆ่าแล้วใช้ปรุงเป็นอาหารสำหรับไหว้เจ้า ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับไก่ที่มีชีวิตหรือซากไก่และเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจของประชาชนต่อการนำเนื้อไก่มาใช้ในช่วงเทศกาลตรุษจีนว่ามีความสะอาดปลอดภัย ผ่านการตรวจสอบโรค และเป็นการลดความเสี่ยงของผู้บริโภคที่มาเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์ จึงได้จัดทำโครงการเนื้อสัตว์ปีกปลอดภัยฉลองตรุษจีน 2550 และการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในเนื้อสัตว์ปีกดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้
2.2.1 รับรองเนื้อสัตว์ปีกที่เข้าร่วมโครงการ โดยจัดทำเป็นสติ๊กเกอร์มีข้อความ “เนื้อสัตว์ปีกปลอดภัย ฉลองตรุษจีน ปี 2550” ติดบนถุงพลาสติกบรรจุสัตว์ปีกไหว้เจ้าเป็นรายตัว ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการ คือ โรงฆ่าสัตว์ปีกจำหน่ายภายในประเทศ 1,288 โรง โรงฆ่าเพื่อการส่งออก 17 โรง จำนวนสติ๊กเกอร์ที่ใช้ในโครงการ 4,068,000 แผ่น โดยมีการสุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องในสัตว์ปีกในโรงฆ่าตรวจสอบโรคไข้หวัดนกทุกโรงฆ่าด้วย
2.2.2 ตรวจสอบตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิตและโรงฆ่าสัตว์ปีกทั่วประเทศ โดยตรวจดูอาการของโรคไข้หวัดนกและใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ตลอดจนกำกับดูแลการฆ่าสัตว์ปีกให้เป็นไปตามกฎหมาย
2.2.3 สุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องในสัตว์ปีกที่ตลาดสดทุกอำเภอ อำเภอละ 1 ตลาด ในพื้นที่ 29 จังหวัดเสี่ยง เพื่อนำไปตรวจโรคไข้หวัดนก
2.3 ผลการจับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกในปี 2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 12 กุมภาพันธ์ 2550 จับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกรวม ทั้งสิ้น 80 ราย แบ่งเป็นเป็ด 305,155 ตัว และซากสัตว์ปีก 1,100 กิโลกรัม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 ในสัตว์ปีกในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550)
1.1 สถานการณ์การพบโรคไข้หวัดนก
ปี ระยะเวลา จำนวนจุดพบโรค
ตำบล อำเภอ จังหวัด
2547 ครั้งที่ 1 วันที่ 23 ม.ค. — 24 พ.ค. 47 141 89 42
ครั้งที่ 2 วันที่ 3 ก.ค. — 31 ธ.ค. 47 708 162 51
(ต่อเนื่องถึงครั้งที่ 1 ปี 2548)
2548 ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ม.ค. — 12 เม.ย.48 76 38 14
ครั้งที่ 2 วันที่ 1 ก.ค. — 9 พ.ย. 48 55 27 11
2549 วันที่ 24 ก.ค. — 2 ส.ค. 49 2 2 2
2550 วันที่ 15 ม.ค. — 31 ม.ค. 50 3 3 3
1.2 รายละเอียดการพบโรคไข้หวัดนกในปี 2550 มีดังนี้
จุดที่ 1 จังหวัดพิษณุโลก ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จากตัวอย่างซากเป็ดไข่พันธุ์กากีแคมเบล อายุ 5 เดือน โดยเกษตรกรเลี้ยง 2,100 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 168 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณจำนวน 1,932 ตัว ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2550 ขณะนี้ได้เฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ครบ 21 วันแล้ว (นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2550)
จุดที่ 2 จังหวัดหนองคาย ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย จากตัวอย่างซากไก่ไข่ โดยเกษตรกรเลี้ยง 2,000 ตัว ป่วยตามรวมทั้งสิ้น 236 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณ จำนวน 1,860 ตัว ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2550 ขณะนี้ได้เฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ครบ 21 วันแล้ว (นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550)
จุดที่ 3 จังหวัดอ่างทอง ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลมงคลธรรมนิมิตร อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง จากตัวอย่างซากไก่พื้นเมืองและไก่ชน โดยเกษตรกรเลี้ยง 16 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 6 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณ จำนวน 10 ตัว ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2550 ขณะนี้ได้เฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ครบ 21 วัน แล้ว (นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550)
1.3 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศปี 2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 12 กุมภาพันธ์ 2550 มีรายงานพบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศจำนวน 11 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง เวียดนาม เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ปากีสถาน รัสเซีย ฮังการี อังกฤษ ตุรกี สโลเวเนีย และไนจีเรีย
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
2.1 การรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-Ray) ครั้งที่ 1/2550 (ระหว่างวันที่ 3 มกราคม — 3 กุมภาพันธ์ 2550) จากเป้าหมายการเก็บตัวอย่าง 48,368 ตัวอย่าง ดำเนินการได้ 55,204 ตัวอย่าง (ร้อยละ 114.13) ผลการตรวจพบโรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 จำนวน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 0.0054) ผลลบ 55,201 ตัวอย่าง (ร้อยละ 99.9946) ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีการอพยพของนกในหลายพื้นที่ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดนก จึงได้ขยายเวลาการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-RAY) ครั้งที่ 1/2550 ออกไปเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ — 5 มีนาคม 2550 โดยดำเนินการเฉพาะกิจกรรมการเฝ้าระวังเชิงรุกทางอาการ ((ACTIVE CLINICAL SURVEILLANCE) และเก็บตัวอย่างนกธรรมชาติส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการไปพร้อมกัน
2.2 การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกช่วงตรุษจีนปี 2550
ในช่วงเทศกาลตรุษจีน จะมีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเข้าโรงฆ่าจำนวนมาก ประชาชนส่วนหนึ่งจะซื้อไก่มาฆ่าจำหน่ายหรือฆ่าแล้วใช้ปรุงเป็นอาหารสำหรับไหว้เจ้า ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับไก่ที่มีชีวิตหรือซากไก่และเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจของประชาชนต่อการนำเนื้อไก่มาใช้ในช่วงเทศกาลตรุษจีนว่ามีความสะอาดปลอดภัย ผ่านการตรวจสอบโรค และเป็นการลดความเสี่ยงของผู้บริโภคที่มาเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์ จึงได้จัดทำโครงการเนื้อสัตว์ปีกปลอดภัยฉลองตรุษจีน 2550 และการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในเนื้อสัตว์ปีกดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้
2.2.1 รับรองเนื้อสัตว์ปีกที่เข้าร่วมโครงการ โดยจัดทำเป็นสติ๊กเกอร์มีข้อความ “เนื้อสัตว์ปีกปลอดภัย ฉลองตรุษจีน ปี 2550” ติดบนถุงพลาสติกบรรจุสัตว์ปีกไหว้เจ้าเป็นรายตัว ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการ คือ โรงฆ่าสัตว์ปีกจำหน่ายภายในประเทศ 1,288 โรง โรงฆ่าเพื่อการส่งออก 17 โรง จำนวนสติ๊กเกอร์ที่ใช้ในโครงการ 4,068,000 แผ่น โดยมีการสุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องในสัตว์ปีกในโรงฆ่าตรวจสอบโรคไข้หวัดนกทุกโรงฆ่าด้วย
2.2.2 ตรวจสอบตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิตและโรงฆ่าสัตว์ปีกทั่วประเทศ โดยตรวจดูอาการของโรคไข้หวัดนกและใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ตลอดจนกำกับดูแลการฆ่าสัตว์ปีกให้เป็นไปตามกฎหมาย
2.2.3 สุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องในสัตว์ปีกที่ตลาดสดทุกอำเภอ อำเภอละ 1 ตลาด ในพื้นที่ 29 จังหวัดเสี่ยง เพื่อนำไปตรวจโรคไข้หวัดนก
2.3 ผลการจับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกในปี 2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 12 กุมภาพันธ์ 2550 จับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกรวม ทั้งสิ้น 80 ราย แบ่งเป็นเป็ด 305,155 ตัว และซากสัตว์ปีก 1,100 กิโลกรัม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--