คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ... ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รองศาสตราจารย์ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดให้กรมประชาสัมพันธ์ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เว้นแต่มาตรา 21 มาตรา 37 มาตรา 38 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หมวด 6 และหมวด 7 (ร่างมาตรา 5)
3. กำหนดให้การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประกอบกิจการที่ใช้คลื่นความถี่ และการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งได้รับการจัดสรรสำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วยองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และกำหนดให้การประกอบกิจการทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว เป็นกิจการที่ต้องขอรับใบอนุญาต เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนไม่ได้ (ร่างมาตรา 8 และมาตรา 9)
4. กำหนดให้การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่มีใบอนุญาต 3 ประเภท ได้แก่
4.1 ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ ออกให้สำหรับการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา สุขภาพ กีฬา ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงของรัฐ การประกอบอาชีพ เผยแพร่ข่าวสาร ประโยชน์ของท้องถิ่นหรือประโยชน์สาธารณะอื่นใด ซึ่งผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นกระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่มิใช่รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่หรือความจำเป็นต้องดำเนินกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ หรือสมาคม มูลนิธิที่ไม่แสวงหากำไรหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน และได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามไว้ด้วย
4.2 ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ออกให้สำหรับการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับข้อ 4.1 แต่ต้องเป็นประโยชน์ตามความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่นที่รับบริการ ซึ่งผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลซึ่งไม่แสวงหากำไร หรือกลุ่มคนในท้องถิ่นที่รวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามไว้ด้วย
4.3 ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจ ออกให้สำหรับการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับชาติ ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทุกภาคของประเทศ และระดับภูมิภาค ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีพื้นที่ให้บริการไม่เกินสามจังหวัด ซึ่งผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามไว้ด้วย (ร่างมาตรา 10 ถึงมาตรา 15)
5. กำหนดคุณสมบัติของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น (ร่างมาตรา 16)
6. กำหนดให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่โดยคำนึงถึงภารกิจหรือวัตถุประสงค์ของกิจการ และเป็นไปตามสัดส่วนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ (ร่างมาตรา 18)
7. กำหนดอายุใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงให้มีอายุไม่เกิน 7 ปี กิจการโทรทัศน์ให้มีอายุไม่เกิน 15 ปี และกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นคำขอรับใบอนุญาตใหม่ด้วย (ร่างมาตรา 19)
8. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียม (ร่างมาตรา 20)
9. กำหนดห้ามผู้รับใบอนุญาตกิจการสาธารณะ กิจการบริการชุมชน และกรมประชาสัมพันธ์ ประกอบกิจการทางธุรกิจ (ร่างมาตรา 21)
10. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจต้องนำส่งเงินรายปีเข้ากองทุน ไม่เกินร้อยละ 5 ของรายได้ (ร่างมาตรา 22)
11. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทำรายงานสถานะทางการเงินต่อคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 24)
12. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกใบอนุญาต คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้รับใบอนุญาต อายุใบอนุญาตของการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (ร่างมาตรา 25 ถึงมาตรา 27)
13. กำหนดให้มีผู้อำนวยการสถานีเพื่อควบคุมดูแลการออกอากาศ โดยกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามไว้ (ร่างมาตรา 28 ถึงมาตรา 30)
14. กำหนดให้มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันการผูกขาดในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ร่างมาตรา 31 และมาตรา 32)
15. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ร่างมาตรา 33 ถึงมาตรา 40)
16. กำหนดให้มีการส่งเสริมและควบคุมจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และการคุ้มครองผู้เสียหายจากการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยให้มีคณะอนุกรรมการจริยธรรมขึ้นเพื่อทำหน้าที่เสนอแนะการกำหนดวิชาชีพและข้อบังคับจริยธรรม พิจารณาสอบสวนเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ และดำเนินการเกี่ยวกับการเยียวยาผู้เสียหาย รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้รับใบอนุญาตให้อยู่ในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ (ร่างมาตรา 41 ถึงมาตรา 52)
17. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสร้างโครงข่ายพื้นฐาน การใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ร่างมาตรา 53 ถึง มาตรา 62)
18. กำหนดให้มีการส่งเสริมและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยการให้มีคณะอนุกรรมการส่งเสริมและการพัฒนากิจการขึ้นเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ร่างมาตรา 63 ถึงมาตรา 65)
19. กำหนดให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา โดยมีอำนาจดำเนินการบางกรณีกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 66 ถึง มาตรา 70)
20. ให้มีบทกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีโทษทางอาญาหรือโทษทางปกครอง แล้วแต่กรณี (ร่างมาตรา 71 ถึงมาตรา 86)
21. กำหนดให้มีบทเฉพาะกาล
21.1 ให้กรมประชาสัมพันธ์ และส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ดำเนินกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต่อไปได้ตามเดิมจนกว่าจะมีแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต่อไปได้ตามเดิมจนกว่าจะมีแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 87 และมาตรา 88)
21.2 ให้ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจากส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์เดิม คงมีสิทธิต่อไปตามเดิมจนกว่าการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจะสิ้นสุด (ร่างมาตรา 89)
21.3 ให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน (กวช.) เพื่อดำเนินการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน จนกว่าจะมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (ร่างมาตรา 90 ถึงมาตรา 92)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดให้กรมประชาสัมพันธ์ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เว้นแต่มาตรา 21 มาตรา 37 มาตรา 38 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หมวด 6 และหมวด 7 (ร่างมาตรา 5)
3. กำหนดให้การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประกอบกิจการที่ใช้คลื่นความถี่ และการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งได้รับการจัดสรรสำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วยองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และกำหนดให้การประกอบกิจการทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว เป็นกิจการที่ต้องขอรับใบอนุญาต เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนไม่ได้ (ร่างมาตรา 8 และมาตรา 9)
4. กำหนดให้การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่มีใบอนุญาต 3 ประเภท ได้แก่
4.1 ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ ออกให้สำหรับการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา สุขภาพ กีฬา ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงของรัฐ การประกอบอาชีพ เผยแพร่ข่าวสาร ประโยชน์ของท้องถิ่นหรือประโยชน์สาธารณะอื่นใด ซึ่งผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นกระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่มิใช่รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่หรือความจำเป็นต้องดำเนินกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ หรือสมาคม มูลนิธิที่ไม่แสวงหากำไรหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน และได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามไว้ด้วย
4.2 ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ออกให้สำหรับการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับข้อ 4.1 แต่ต้องเป็นประโยชน์ตามความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่นที่รับบริการ ซึ่งผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลซึ่งไม่แสวงหากำไร หรือกลุ่มคนในท้องถิ่นที่รวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามไว้ด้วย
4.3 ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจ ออกให้สำหรับการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับชาติ ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทุกภาคของประเทศ และระดับภูมิภาค ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีพื้นที่ให้บริการไม่เกินสามจังหวัด ซึ่งผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามไว้ด้วย (ร่างมาตรา 10 ถึงมาตรา 15)
5. กำหนดคุณสมบัติของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น (ร่างมาตรา 16)
6. กำหนดให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่โดยคำนึงถึงภารกิจหรือวัตถุประสงค์ของกิจการ และเป็นไปตามสัดส่วนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ (ร่างมาตรา 18)
7. กำหนดอายุใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงให้มีอายุไม่เกิน 7 ปี กิจการโทรทัศน์ให้มีอายุไม่เกิน 15 ปี และกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นคำขอรับใบอนุญาตใหม่ด้วย (ร่างมาตรา 19)
8. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียม (ร่างมาตรา 20)
9. กำหนดห้ามผู้รับใบอนุญาตกิจการสาธารณะ กิจการบริการชุมชน และกรมประชาสัมพันธ์ ประกอบกิจการทางธุรกิจ (ร่างมาตรา 21)
10. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจต้องนำส่งเงินรายปีเข้ากองทุน ไม่เกินร้อยละ 5 ของรายได้ (ร่างมาตรา 22)
11. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทำรายงานสถานะทางการเงินต่อคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 24)
12. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกใบอนุญาต คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้รับใบอนุญาต อายุใบอนุญาตของการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (ร่างมาตรา 25 ถึงมาตรา 27)
13. กำหนดให้มีผู้อำนวยการสถานีเพื่อควบคุมดูแลการออกอากาศ โดยกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามไว้ (ร่างมาตรา 28 ถึงมาตรา 30)
14. กำหนดให้มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันการผูกขาดในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ร่างมาตรา 31 และมาตรา 32)
15. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ร่างมาตรา 33 ถึงมาตรา 40)
16. กำหนดให้มีการส่งเสริมและควบคุมจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และการคุ้มครองผู้เสียหายจากการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยให้มีคณะอนุกรรมการจริยธรรมขึ้นเพื่อทำหน้าที่เสนอแนะการกำหนดวิชาชีพและข้อบังคับจริยธรรม พิจารณาสอบสวนเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ และดำเนินการเกี่ยวกับการเยียวยาผู้เสียหาย รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้รับใบอนุญาตให้อยู่ในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ (ร่างมาตรา 41 ถึงมาตรา 52)
17. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสร้างโครงข่ายพื้นฐาน การใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ร่างมาตรา 53 ถึง มาตรา 62)
18. กำหนดให้มีการส่งเสริมและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยการให้มีคณะอนุกรรมการส่งเสริมและการพัฒนากิจการขึ้นเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ร่างมาตรา 63 ถึงมาตรา 65)
19. กำหนดให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา โดยมีอำนาจดำเนินการบางกรณีกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 66 ถึง มาตรา 70)
20. ให้มีบทกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีโทษทางอาญาหรือโทษทางปกครอง แล้วแต่กรณี (ร่างมาตรา 71 ถึงมาตรา 86)
21. กำหนดให้มีบทเฉพาะกาล
21.1 ให้กรมประชาสัมพันธ์ และส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ดำเนินกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต่อไปได้ตามเดิมจนกว่าจะมีแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต่อไปได้ตามเดิมจนกว่าจะมีแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 87 และมาตรา 88)
21.2 ให้ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจากส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์เดิม คงมีสิทธิต่อไปตามเดิมจนกว่าการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจะสิ้นสุด (ร่างมาตรา 89)
21.3 ให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน (กวช.) เพื่อดำเนินการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน จนกว่าจะมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (ร่างมาตรา 90 ถึงมาตรา 92)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--