คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอมาตรการในการป้องกันการแพร่ติดต่อของเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกมาสู่คน โดยขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการและกำกับดูแลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการในการป้องกันการแพร่ติดต่อของเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกมาสู่คน ดังต่อไปนี้
1. ให้ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกระดับจังหวัดและระดับอำเภอมีการประชุมเพื่อติดตามและแก้ปัญหาในลักษณะบูรณาการอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยให้องค์ประกอบของคณะกรรมการศูนย์ฯ ครอบคลุมผู้แทนจากหน่วยราชการต่าง ๆ ที่จะต้องใช้มาตรการทุกอย่างในการแก้ไขปัญหา เช่น มาตรการทางสาธารณสุข มาตรการเพื่อควบคุมโรคระบาดสัตว์ และมาตรการทางกฎหมาย เพื่อป้องกันการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ เป็นต้น
2. ในการให้คำแนะนำแก่ประชาชนจะต้องครอบคลุมเนื้อหาทุกแง่มุมของการป้องกันโรค ในขณะเดียวกันก็ต้องมิให้ประชาชนตื่นตระหนก เช่น เป็ดไก่ที่ปรุงสุกแล้วกินได้อย่างปลอดภัย แต่สัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่ป่วยตายทุกชนิดให้ทำลายโดยฝังหรือเผา ห้ามนำมากินโดยเด็ดขาด เพราะอาจติดโรคจากสัตว์ในระหว่างการชำแหละซากสัตว์
3. ในพื้นที่มีรายงานการเกิดเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกให้จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ประกอบด้วย แพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข เข้าตรวจสอบพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงโดยรอบอย่างเข้มข้นติดต่อกัน 16 วัน นับจากการทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายโดยใช้มาตรการทางระบาดวิทยา จัดให้มีการเฝ้าระวังและรายงานผลไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกวันและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดรายงานถึงระดับเขตและส่วนกลาง ตามแนวทางและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
4. กรณีพบผู้ป่วยด้วยอาการทางเดินหายใจในพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกป่วยหรือตาย ให้แพทย์ที่ดูแลบำบัดรักษา ผู้ป่วยนั้นปฏิบัติตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยเคร่งครัด หากมีความจำเป็นให้ส่งต่อผู้ป่วยโดยมิชักช้า โดยให้โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปเตรียมพร้อมสำหรับการรองรับการส่งต่อผู้ป่วยที่สงสัยเป็นไข้หวัดนกจากโรงพยาบาลชุมชน
5. สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจและมีประวัติสัมผัสโรค ซึ่งแพทย์ตรวจรักษาและอนุญาตให้กลับบ้านได้ ให้ติดตามตรวจดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ทุกวัน โดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่นั้น จนกว่าผู้ป่วยจะปลอดภัยจากโรค
6. ให้โรงพยาบาลทุกแห่ง จัดเตรียมเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกันโรคอย่างเพียงพอสำหรับบริการประชาชน เมื่อใกล้ถึงระดับขั้นต่ำที่ต้องมีไว้ให้จัดหาและขอรับการสนับสนุนจากระดับเขตและจากกรมที่รับผิดชอบตามระบบต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะต้องเป็นผู้ประสาน สนับสนุน และกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
7. ในพื้นที่ปกติให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ออกเยี่ยมบ้านทุกวัน หากพบสัตว์ปีกป่วยหรือตาย ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เพื่อวิเคราะห์โรค เก็บตัวอย่างส่งตรวจ ทำลายซากและเชื้อที่อาจ ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องเหมาะสม หาก อสม. พบผู้ป่วยด้วยอาการทางเดินหายใจในพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกป่วยหรือตาย ให้แนะนำไปพบแพทย์และรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบทันทีให้ผู้บริหารงานสาธารณสุขทุกระดับของจังหวัดกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง ให้การดำเนินงานทางสาธารณสุขเป็นไปตามวัตถุประสงค์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
1. ให้ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกระดับจังหวัดและระดับอำเภอมีการประชุมเพื่อติดตามและแก้ปัญหาในลักษณะบูรณาการอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยให้องค์ประกอบของคณะกรรมการศูนย์ฯ ครอบคลุมผู้แทนจากหน่วยราชการต่าง ๆ ที่จะต้องใช้มาตรการทุกอย่างในการแก้ไขปัญหา เช่น มาตรการทางสาธารณสุข มาตรการเพื่อควบคุมโรคระบาดสัตว์ และมาตรการทางกฎหมาย เพื่อป้องกันการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ เป็นต้น
2. ในการให้คำแนะนำแก่ประชาชนจะต้องครอบคลุมเนื้อหาทุกแง่มุมของการป้องกันโรค ในขณะเดียวกันก็ต้องมิให้ประชาชนตื่นตระหนก เช่น เป็ดไก่ที่ปรุงสุกแล้วกินได้อย่างปลอดภัย แต่สัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่ป่วยตายทุกชนิดให้ทำลายโดยฝังหรือเผา ห้ามนำมากินโดยเด็ดขาด เพราะอาจติดโรคจากสัตว์ในระหว่างการชำแหละซากสัตว์
3. ในพื้นที่มีรายงานการเกิดเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกให้จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ประกอบด้วย แพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข เข้าตรวจสอบพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงโดยรอบอย่างเข้มข้นติดต่อกัน 16 วัน นับจากการทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายโดยใช้มาตรการทางระบาดวิทยา จัดให้มีการเฝ้าระวังและรายงานผลไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกวันและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดรายงานถึงระดับเขตและส่วนกลาง ตามแนวทางและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
4. กรณีพบผู้ป่วยด้วยอาการทางเดินหายใจในพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกป่วยหรือตาย ให้แพทย์ที่ดูแลบำบัดรักษา ผู้ป่วยนั้นปฏิบัติตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยเคร่งครัด หากมีความจำเป็นให้ส่งต่อผู้ป่วยโดยมิชักช้า โดยให้โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปเตรียมพร้อมสำหรับการรองรับการส่งต่อผู้ป่วยที่สงสัยเป็นไข้หวัดนกจากโรงพยาบาลชุมชน
5. สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจและมีประวัติสัมผัสโรค ซึ่งแพทย์ตรวจรักษาและอนุญาตให้กลับบ้านได้ ให้ติดตามตรวจดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ทุกวัน โดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่นั้น จนกว่าผู้ป่วยจะปลอดภัยจากโรค
6. ให้โรงพยาบาลทุกแห่ง จัดเตรียมเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกันโรคอย่างเพียงพอสำหรับบริการประชาชน เมื่อใกล้ถึงระดับขั้นต่ำที่ต้องมีไว้ให้จัดหาและขอรับการสนับสนุนจากระดับเขตและจากกรมที่รับผิดชอบตามระบบต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะต้องเป็นผู้ประสาน สนับสนุน และกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
7. ในพื้นที่ปกติให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ออกเยี่ยมบ้านทุกวัน หากพบสัตว์ปีกป่วยหรือตาย ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เพื่อวิเคราะห์โรค เก็บตัวอย่างส่งตรวจ ทำลายซากและเชื้อที่อาจ ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องเหมาะสม หาก อสม. พบผู้ป่วยด้วยอาการทางเดินหายใจในพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกป่วยหรือตาย ให้แนะนำไปพบแพทย์และรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบทันทีให้ผู้บริหารงานสาธารณสุขทุกระดับของจังหวัดกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง ให้การดำเนินงานทางสาธารณสุขเป็นไปตามวัตถุประสงค์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--