คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบให้นำอนุสัญญาว่าด้วยองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเซียแปซิฟิกที่ลงนามแล้วเสนอขอรับความเห็นชอบต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ โดยให้ส่งอนุสัญญาฯ ฉบับภาษาไทย เพื่อให้ความเห็นชอบ และให้ส่งฉบับภาษาอังกฤษเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเซียแปซิฟิก พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบอนุสัญญาฯ ตามข้อ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2526
3. เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบัน และส่งมอบสารยอมรับให้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนในฐานะรัฐบาลเจ้าภาพต่อไป เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติตามข้อ 2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานว่า
1. ได้เข้าร่วมเป็นภาคีและลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเซียแปซิฟิก (Asia — Pacific Space Cooperation Organization — APSCO) ร่วมกับประเทศผู้ลงนาม 7 ประเทศ ประกอบด้วย 1) สาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศ 2) สาธารณรัฐประชาชนจีน 3) สาธารณรัฐอิสลาม อิหร่าน 4) อินโดนีเซีย 5) มองโกเลีย 6) สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน 7) สาธารณรัฐเปรู ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบการลงนามแล้ว
2. สำนักงานเลขาธิการ Asia-Pacific Multilateral Cooperation in Space Technology and Applications (AP-MCSTA) แจ้งว่ารัฐบาลของประเทศผู้ลงนามที่ประกอบด้วย 1) สาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศ 2) สาธารณรัฐประชาชนจีน 3) มองโกเลีย 4) สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน 5) สาธารณรัฐเปรู ได้แจ้งการให้สัตยาบันอนุสัญญา APSCO แล้ว ซึ่งการมีผลใช้บังคับแห่งอนุสัญญานี้ระบุว่า เมื่อรัฐภาคีผู้ลงนามอย่างน้อย 5 รัฐได้มอบ สัตยาบันสารไว้กับรัฐบาลเจ้าภาพแล้ว ดังนั้นจึงมีผลให้อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับโดยสมบูรณ์แล้ว
3. องค์การ APSCO มีกิจกรรมหลักสำคัญฯ ที่มุ่งเน้นในงานด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ การศึกษา และฝึกอบรม ตลอดจนความร่วมมือในด้านการวิจัย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในการใช้ประโยชน์ด้านอวกาศโดยสันติ
4. ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ริเริ่มการตั้งองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก (APSCO) มานับตั้งแต่ปี 2535 และร่วมกับประเทศสมาชิกในการผลักดันให้มีการจัดตั้งองค์การความร่วมมือด้านอวกาศเอเซียแปซิฟิกอย่างเต็มที่ โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือและความช่วยเหลือจากสาธารณรัฐประชาชนจีนในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอวกาศ ทุนฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านอวกาศ การรับบริจาคอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการมาโดยตลอด ซึ่งการเข้าเป็นภาคีองค์การ APSCO จะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์หลายประการ เช่น ก่อให้เกิดการกระตุ้นและการขยายกิจกรรมในด้านอวกาศที่มีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับชาติและระดับพหุภาคีโดยจะมีการเสริมสร้างศักยภาพ และยกระดับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะกับสาธารณรัฐประชาชนจีนและอีกหลายประเทศในภูมิภาค ทำให้มีการขยายความร่วมมือฯ ในภูมิภาคในอนาคต ประหยัดเงินทุนในด้านการพัฒนากิจการอวกาศระหว่างประเทศสมาชิก มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่มีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีอวกาศสูงมาก ทั้งนี้ การเข้าเป็นสมาชิกในครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการดำเนินงานพัฒนากิจการอวกาศภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนากิจการอวกาศของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าและชัดเจนมากขึ้น
5. ดังนั้น เพื่อให้การยอมรับความเป็นนิติบุคคลและการคุ้มครองการดำเนินกิจกรรมขององค์การ APSCO ในประเทศไทย โดยให้การคุ้มครองในขอบเขตที่เท่าเทียมกับการให้ความคุ้มครององค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ในระดับรัฐบาลที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกแล้ว จึงได้เสนอเรื่องดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. เห็นชอบให้นำอนุสัญญาว่าด้วยองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเซียแปซิฟิกที่ลงนามแล้วเสนอขอรับความเห็นชอบต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ โดยให้ส่งอนุสัญญาฯ ฉบับภาษาไทย เพื่อให้ความเห็นชอบ และให้ส่งฉบับภาษาอังกฤษเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเซียแปซิฟิก พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบอนุสัญญาฯ ตามข้อ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2526
3. เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบัน และส่งมอบสารยอมรับให้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนในฐานะรัฐบาลเจ้าภาพต่อไป เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติตามข้อ 2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานว่า
1. ได้เข้าร่วมเป็นภาคีและลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเซียแปซิฟิก (Asia — Pacific Space Cooperation Organization — APSCO) ร่วมกับประเทศผู้ลงนาม 7 ประเทศ ประกอบด้วย 1) สาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศ 2) สาธารณรัฐประชาชนจีน 3) สาธารณรัฐอิสลาม อิหร่าน 4) อินโดนีเซีย 5) มองโกเลีย 6) สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน 7) สาธารณรัฐเปรู ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบการลงนามแล้ว
2. สำนักงานเลขาธิการ Asia-Pacific Multilateral Cooperation in Space Technology and Applications (AP-MCSTA) แจ้งว่ารัฐบาลของประเทศผู้ลงนามที่ประกอบด้วย 1) สาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศ 2) สาธารณรัฐประชาชนจีน 3) มองโกเลีย 4) สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน 5) สาธารณรัฐเปรู ได้แจ้งการให้สัตยาบันอนุสัญญา APSCO แล้ว ซึ่งการมีผลใช้บังคับแห่งอนุสัญญานี้ระบุว่า เมื่อรัฐภาคีผู้ลงนามอย่างน้อย 5 รัฐได้มอบ สัตยาบันสารไว้กับรัฐบาลเจ้าภาพแล้ว ดังนั้นจึงมีผลให้อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับโดยสมบูรณ์แล้ว
3. องค์การ APSCO มีกิจกรรมหลักสำคัญฯ ที่มุ่งเน้นในงานด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ การศึกษา และฝึกอบรม ตลอดจนความร่วมมือในด้านการวิจัย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในการใช้ประโยชน์ด้านอวกาศโดยสันติ
4. ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ริเริ่มการตั้งองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก (APSCO) มานับตั้งแต่ปี 2535 และร่วมกับประเทศสมาชิกในการผลักดันให้มีการจัดตั้งองค์การความร่วมมือด้านอวกาศเอเซียแปซิฟิกอย่างเต็มที่ โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือและความช่วยเหลือจากสาธารณรัฐประชาชนจีนในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอวกาศ ทุนฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านอวกาศ การรับบริจาคอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการมาโดยตลอด ซึ่งการเข้าเป็นภาคีองค์การ APSCO จะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์หลายประการ เช่น ก่อให้เกิดการกระตุ้นและการขยายกิจกรรมในด้านอวกาศที่มีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับชาติและระดับพหุภาคีโดยจะมีการเสริมสร้างศักยภาพ และยกระดับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะกับสาธารณรัฐประชาชนจีนและอีกหลายประเทศในภูมิภาค ทำให้มีการขยายความร่วมมือฯ ในภูมิภาคในอนาคต ประหยัดเงินทุนในด้านการพัฒนากิจการอวกาศระหว่างประเทศสมาชิก มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่มีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีอวกาศสูงมาก ทั้งนี้ การเข้าเป็นสมาชิกในครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการดำเนินงานพัฒนากิจการอวกาศภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนากิจการอวกาศของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าและชัดเจนมากขึ้น
5. ดังนั้น เพื่อให้การยอมรับความเป็นนิติบุคคลและการคุ้มครองการดำเนินกิจกรรมขององค์การ APSCO ในประเทศไทย โดยให้การคุ้มครองในขอบเขตที่เท่าเทียมกับการให้ความคุ้มครององค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ในระดับรัฐบาลที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกแล้ว จึงได้เสนอเรื่องดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--