คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 42 และการประชุมรัฐมนตรีศึกษาของอาเซียน ครั้งที่ 2 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะผู้แทนไทย ดังนี้
1. ประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ ให้ความสำคัญแก่การศึกษาเป็นอย่างมากโดยประธานาธิบดีของอินโดนีเซียให้เกียรติรับเป็นประธานเปิดการประชุมฯ ดังนั้นในปี 2552 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SEAMEC ครั้งที่ 44 และการประชุม ASED ครั้งที่ 4 ต่อจากประเทศมาเลเซีย จะต้องเตรียมการในเรื่องดังกล่าวอย่างดีให้พร้อมทั้งเรื่องการตั้งงบประมาณและการบริหารจัดการอื่นๆ
2. การจัดให้มีการประชุมในลักษณะ Discussion Forum และ Policy Forum เป็นการเปิดประเด็นทางการศึกษาในระดับนโยบายที่สำคัญเพื่อให้รัฐมนตรีได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อรวมพลังในการผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ในการจัดทำถ้อยแถลงร่วม (Joint Statement) ของการประชุมทั้งสอง แสดงให้เห็นถึงข้อคิดเห็นและความร่วมมือของรัฐมนตรีศึกษาจากประเทศสมาชิกทั้งซีมีโอและอาเซียน ที่จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษาร่วมกันในทุกระดับ
3. การจัดการหารือทวิภาคีระหว่างประเทศเพื่อนบ้านและสมาชิกซีมีโออื่นในระหว่างการประชุมซีเมค เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยเนื่องจากสามารถผลักดันโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะมีการนำคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการไปเยือนมาเลเซีย ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2550 เพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายในการจัดการด้านอิสลามศึกษาและดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนสอนศาสนาของมาเลเซีย
สาระสำคัญของเรื่อง
1) การประชุม SEAMEC ครั้งที่ 42 จัดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม 2550 โดยมีประธานาธิบดี Susilo Bambang Yudhoyono ของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ในการนี้ที่ประชุมมีมติเลือก ดร. Bambung Sudibyo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติของอินโดนีเซีย เป็นประธานสภาซีเมค และประธานการประชุมซีเมค ครั้งที่ 42 ทั้งนี้นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับเกียรติให้เป็นผู้กล่าวถ้อยแถลงนำโดยได้กล่าวถึงนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่ต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และให้ความสำคัญแก่สังคมที่มีคุณธรรมนำความรู้
2) ในการประชุมครั้งนี้เจ้าภาพได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมคือ
2.1 การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นของที่ประชุม (Discussion Forum) โดยศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอ 3 แห่งคือ ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยอุดมศึกษาและพัฒนา (SEAMEO RIHED) เสนอเรื่องการประกันคุณภาพในระดับอุดมศึกษา ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการวิจัยและบัณฑิตศึกษาด้านการเกษตร (SEAMEO SEARCA) เสนอเรื่อง บทบาทของอุดมศึกษาในการพัฒนาชนบท และกำจัดความยากจน และศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SEAMEO SPAFA) เสนอเรื่องการส่งเสริมอัตลักษณ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ที่ประชุมได้อภิปรายและตั้งประเด็นการหารือในอนาคตอาทิ การส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการของสถาบันทางการศึกษา การเสริมสร้างศักยภาพด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
2.2 การประชุมนโยบายทางการศึกษา (Policy Forum) เรื่อง Integrating ICT for Better Quality and Values of Education ผู้แทนอินโดนีเซีย ได้หยิบยกหัวข้อดังกล่าวเพื่อให้ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอโครงการอินเทอร์เนตสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยให้สถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อหาวิธีป้องกันภัยออนไลน์ในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้เสนอจัดการประชุมระดับภูมิภาคเพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว
3) การจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน (ASED) ครั้งที่ 2 มีขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 16 มีนาคม 2550 มีรัฐมนตรีศึกษาจากอาเซียน 10 ประเทศเข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมฯ ได้รับทราบผลการดำเนินงานตามมติของที่ประชุม ASED ครั้งที่ 1 เมื่อปีที่ผ่านมาใน 4 ประเด็น คือกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนและซีมีโอ การส่งเสริมความเป็นอาเซียนแก่นักเรียน การสร้างมาตรฐานการศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN)
4) การประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดทำถ้อยแถลงร่วม (Joint Statement) ของการประชุม SEAMEC ครั้งที่ 42 และการประชุม ASED ครั้งที่ 2 โดยมีสาระสำคัญคือ การเสนอให้เพิ่มข้อบทด้านการศึกษาไว้ในกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) การดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนอาเซียนต่อ โดยมาเลเซียรับเป็นเจ้าภาพในปี 2551 การจัดตั้งเครือข่ายวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาของอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างซีมีโอและอาเซียน การเพิ่มความเข้มแข็งของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
5) ในระหว่างการประชุมประเทศไทยได้เจรจาความร่วมมือระดับทวิภาคีกับประเทศกัมพูชา ติมอร์ เลสเต อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพื่อหารือเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกันในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--
1. ประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ ให้ความสำคัญแก่การศึกษาเป็นอย่างมากโดยประธานาธิบดีของอินโดนีเซียให้เกียรติรับเป็นประธานเปิดการประชุมฯ ดังนั้นในปี 2552 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SEAMEC ครั้งที่ 44 และการประชุม ASED ครั้งที่ 4 ต่อจากประเทศมาเลเซีย จะต้องเตรียมการในเรื่องดังกล่าวอย่างดีให้พร้อมทั้งเรื่องการตั้งงบประมาณและการบริหารจัดการอื่นๆ
2. การจัดให้มีการประชุมในลักษณะ Discussion Forum และ Policy Forum เป็นการเปิดประเด็นทางการศึกษาในระดับนโยบายที่สำคัญเพื่อให้รัฐมนตรีได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อรวมพลังในการผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ในการจัดทำถ้อยแถลงร่วม (Joint Statement) ของการประชุมทั้งสอง แสดงให้เห็นถึงข้อคิดเห็นและความร่วมมือของรัฐมนตรีศึกษาจากประเทศสมาชิกทั้งซีมีโอและอาเซียน ที่จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษาร่วมกันในทุกระดับ
3. การจัดการหารือทวิภาคีระหว่างประเทศเพื่อนบ้านและสมาชิกซีมีโออื่นในระหว่างการประชุมซีเมค เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยเนื่องจากสามารถผลักดันโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะมีการนำคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการไปเยือนมาเลเซีย ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2550 เพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายในการจัดการด้านอิสลามศึกษาและดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนสอนศาสนาของมาเลเซีย
สาระสำคัญของเรื่อง
1) การประชุม SEAMEC ครั้งที่ 42 จัดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม 2550 โดยมีประธานาธิบดี Susilo Bambang Yudhoyono ของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ในการนี้ที่ประชุมมีมติเลือก ดร. Bambung Sudibyo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติของอินโดนีเซีย เป็นประธานสภาซีเมค และประธานการประชุมซีเมค ครั้งที่ 42 ทั้งนี้นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับเกียรติให้เป็นผู้กล่าวถ้อยแถลงนำโดยได้กล่าวถึงนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่ต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และให้ความสำคัญแก่สังคมที่มีคุณธรรมนำความรู้
2) ในการประชุมครั้งนี้เจ้าภาพได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมคือ
2.1 การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นของที่ประชุม (Discussion Forum) โดยศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอ 3 แห่งคือ ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยอุดมศึกษาและพัฒนา (SEAMEO RIHED) เสนอเรื่องการประกันคุณภาพในระดับอุดมศึกษา ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการวิจัยและบัณฑิตศึกษาด้านการเกษตร (SEAMEO SEARCA) เสนอเรื่อง บทบาทของอุดมศึกษาในการพัฒนาชนบท และกำจัดความยากจน และศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SEAMEO SPAFA) เสนอเรื่องการส่งเสริมอัตลักษณ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ที่ประชุมได้อภิปรายและตั้งประเด็นการหารือในอนาคตอาทิ การส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการของสถาบันทางการศึกษา การเสริมสร้างศักยภาพด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
2.2 การประชุมนโยบายทางการศึกษา (Policy Forum) เรื่อง Integrating ICT for Better Quality and Values of Education ผู้แทนอินโดนีเซีย ได้หยิบยกหัวข้อดังกล่าวเพื่อให้ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอโครงการอินเทอร์เนตสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยให้สถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อหาวิธีป้องกันภัยออนไลน์ในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้เสนอจัดการประชุมระดับภูมิภาคเพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว
3) การจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน (ASED) ครั้งที่ 2 มีขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 16 มีนาคม 2550 มีรัฐมนตรีศึกษาจากอาเซียน 10 ประเทศเข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมฯ ได้รับทราบผลการดำเนินงานตามมติของที่ประชุม ASED ครั้งที่ 1 เมื่อปีที่ผ่านมาใน 4 ประเด็น คือกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนและซีมีโอ การส่งเสริมความเป็นอาเซียนแก่นักเรียน การสร้างมาตรฐานการศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN)
4) การประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดทำถ้อยแถลงร่วม (Joint Statement) ของการประชุม SEAMEC ครั้งที่ 42 และการประชุม ASED ครั้งที่ 2 โดยมีสาระสำคัญคือ การเสนอให้เพิ่มข้อบทด้านการศึกษาไว้ในกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) การดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนอาเซียนต่อ โดยมาเลเซียรับเป็นเจ้าภาพในปี 2551 การจัดตั้งเครือข่ายวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาของอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างซีมีโอและอาเซียน การเพิ่มความเข้มแข็งของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
5) ในระหว่างการประชุมประเทศไทยได้เจรจาความร่วมมือระดับทวิภาคีกับประเทศกัมพูชา ติมอร์ เลสเต อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพื่อหารือเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกันในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--