สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มีนาคม 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 31, 2010 16:17 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มีนาคม 2553) โดยได้สรุปสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 - 29 มีนาคม 2553)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 59 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช ระนอง สตูล สุราษฎร์ธานี และจังหวัดกระบี่ รวม 470 อำเภอ 3,096 ตำบล 25,798 หมู่บ้าน แยกเป็น

ข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 (ณ วันที่ 29 มีนาคม 2553)

ที่                         พื้นที่ประสบภัย                                                       ราษฎรประสบภัย
   ภาค       จังหวัด     อำเภอ     ตำบล      หมู่บ้าน     รายชื่อจังหวัด                           คน      ครัวเรือน
1  เหนือ         17       166    1,058      9,641     กำแพงเพชร เชียงราย ตาก         1,869,078      641,651
                                                     น่าน นครสวรรค์ พะเยา พิจิตร
                                                     แพร่ ลำปาง ลำพูน สุโขทัย
                                                     อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ พิษณุโลก
                                                     แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ อุทัยธานี
2  ตะวันออก      19       200    1,466     12,634     ขอนแก่น บุรีรัมย์ เลย หนองบัวลำภู    4,451,126   1,118,505
   เฉียงเหนือ                                          อุดรธานี อุบลราชธานี ชัยภูมิ
                                                     มุกดาหาร ร้อยเอ็ด หนองคาย
                                                     นครพนม นครราชสีมา ยโสธร
                                                     สกลนคร สุรินทร์ กาฬสินธุ์
                                                     มหาสารคาม ศรีสะเกษ
                                                     อำนาจเจริญ
3  กลาง          9        33      197      1,380     กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม            461,705      82,660
                                                     ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี
                                                     ลพบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี
4  ตะวันออก       7        36      191      1,083     จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด            582,478     109,914
                                                     นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง
                                                     สระแก้ว
5  ใต้            7        35      184      1,060     กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช      227,632      69,520
                                                     ระนอง สตูล สุราษฎร์ธานี
รวมทั้งประเทศ     59       470    3,096     25,798                                   7,592,019   2,022,250

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่ ภาค         จำนวนหมู่บ้าน       8 มี.ค. 2553        15 มี.ค. 2553        22 มี.ค. 2553        29 มี.ค. 2553
                ทั้งหมด          หมู่     + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม      หมู่       + เพิ่ม      หมู่      + เพิ่ม
                              บ้าน     - ลด       บ้าน       - ลด      บ้าน       - ลด      บ้าน      - ลด
1 เหนือ         16,590       5,310      +922    5,926        +616   6,764        +838   9,641     +2,877
2 ตะวันออก      33,099       6,525    +1,698    8,720      +2,195   9,739      +1,019  12,634     +2,895
  เฉียงเหนือ
3 กลาง         11,736         902      +222      998         +96   1,180        +182   1,380       +200
4 ตะวันออก       4,859         792       +50    1,034        +242   1,083         +49   1,083          0
5 ใต้            8,660         446       +83      687        +241     938        +251   1,060       +122
  รวม          74,944      13,975    +2,975   17,365      +3,390  19,704      +2,339  25,798     +6,094

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 กับปี 2552 ในห้วงเวลาเดียวกัน

ที่   ภาค      จำนวนหมู่บ้าน              ข้อมูลปี  2553               ข้อมูลปี  2552             เปรียบเทียบข้อมูลภัย
               ทั้งประเทศ        (ณ วันที่ 29 มีนาคม 2553)      (ณ วันที่ 29 มีนาคม 2552)       แล้ง ปี 2553 กับปี 2552
                                หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       จำนวน    คิดเป็นร้อยละ
                               ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง      ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง       หมู่บ้าน     ของหมู่บ้านที่
                                ภัยแล้ง        ประเทศ)       ภัยแล้ง      ทั้งประเทศ)      + เพิ่ม/    ประสบภัยแล้ง
                                                                                       - ลด        ปี 2552
1   เหนือ         16,590         9,641          58.11       6,182          37.26      +3,459        +55.95
2   ตะวันออก      33,099        12,634          38.17      10,828          32.71      +1,806        +16.68
    เฉียงเหนือ
3   กลาง         11,736         1,380          11.76       1,163           9.91        +217        +18.66
4   ตะวันออก       4,859         1,083          22.29         861          17.72        +222        +25.78
5   ใต้            8,660         1,060          12.24         438           5.06        +622       +142.01
    รวม          74,944        25.798          34.42      19,472          25.98      +6,326        +32.49

ปี 2553 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 59 จังหวัด 470 อำเภอ 3,096 ตำบล 25,798 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 38.86 ของหมู่บ้านทั้งหมดในจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 66,390 หมู่บ้าน และร้อยละ 34.42 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน)

เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 53 จังหวัด 491 อำเภอ 2,587 ตำบล 19,472 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 32.03 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 53 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 25.98 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน)

ปี 2553 หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง มากกว่า ปี 2552 จำนวน 6,326 หมู่บ้าน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.49

1.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,592,019 คน 2,022,250 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 154,576 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 120,277 ไร่ นาข้าว 20,048 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 14,251 ไร่

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 953 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 198,141,170 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 4,895 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 5,135 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 554,833,394 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 281,456,851 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 168,436,475 บาท (ข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
  • งบอื่น ๆ 104,940,068 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 698 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ 40 จังหวัด โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 242 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 248 เครื่อง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก 175 เครื่อง ภาคใต้ 33 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 12 คัน

2. การเดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจประชาชน และตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล)

2.1 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2553 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ประธานคณะทำงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชำนิ บูชาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมคณะ เดินทางตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มอบนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พร้อมตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกับประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง และเป็นประธานกิจกรรมแจกจ่ายน้ำ ณ จุดแจกน้ำบ้านโคกซาด ตำบลหลุ่งตะเคียน อำเภอห้วยแถลง

2.2 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2553 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ประธานคณะทำงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชำนิ บูชาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายศรีสมบัติ พรประสิทธิ์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมคณะ เดินทางตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย มอบนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดภาคเหนือ 17 จังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พร้อมตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกับประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง และเป็นประธานกิจกรรมแจกจ่ายน้ำ ณ โครงการทุ่งทะเลหลวง อำเภอเมืองสุโขทัย

ทั้งนี้ได้มีข้อสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดภาคเหนือ 17 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้

1) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ขอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการรักษาและใช้น้ำในแหล่งน้ำที่มีอยู่ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้จนถึงฤดูฝน หากพบว่าพื้นที่ใดขาดแคลนน้ำ ขอให้ช่วยส่งน้ำไปสำรองให้ประชาชนอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

2) พื้นที่ที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศ ถูกปกคลุมด้วยหมอกควันจากไฟป่า ขอให้จังหวัดร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งแจกหน้ากากอนามัย และเฝ้าระวังเหตุเพลิงไหม้ รวมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนดูแลตนเองในเบื้องต้น ขอให้เน้นการปฏิบัติการเชิงรุกโดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการปัญหาในพื้นที่

3) ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญแก่การบูรณาการภารกิจ โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน และการฝึกอาชีพเสริมให้ประชาชนในช่วงที่ว่างจากการเพาะปลูก เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภัยแล้งไม่ซ้ำซ้อนหรือล่าช้าเกินไป

4) ขอให้คิดหาวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่มีความยั่งยืนและเป็นระบบ เพื่อขจัดปัญหาแล้งซ้ำซากให้หมดไปจากประเทศไทย

5) เนื่องจากใกล้จะถึงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ขอให้เตรียมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ให้ทุกฝ่ายพร้อมใจกันทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง และรณรงค์ให้ประชาชนเล่นน้ำสงกรานต์ตามประเพณี ซึ่งจะเป็นการช่วยประหยัดน้ำอีกทางหนึ่ง

3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 29 มีนาคม — 3 เมษายน 2553

3.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในวันที่ 29 มีนาคม 2553 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนขึ้นและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ส่วนในช่วงวันที่ 30มีนาคม-3 เมษายน 2553 ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีฝนบางแห่ง ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง

3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 มีนาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ