คณะรัฐมนตรีอนุมัติและเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. อนุมัติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ จำนวน 3 มติ ดังนี้
1.1 มติคณะรัฐมนตรี (13 มีนาคม 2544) เรื่อง การนำเข้าพัสดุจากต่างประเทศ และการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
1.2 มติคณะรัฐมนตรี (22 ตุลาคม 2544) เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ และการจ้างที่ปรึกษาไทย
1.3 มติคณะรัฐมนตรี (10 พฤษภาคม 2548) เรื่อง การจ้างที่ปรึกษาไทย
2. เห็นชอบหลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
3. ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการพิจารณาตีความและวินิจฉัยเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ พบว่ามีจำนวน 3 มติ (13 มีนาคม 2544, 22 ตุลาคม 2544 และ 10 พฤษภาคม 2548) โดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นมติที่ออกในช่วงเวลาการใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งระเบียบดังกล่าวได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาโดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนาที่ปรึกษาไทย และให้มีศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังด้วย ดังนั้น การจ้างที่ปรึกษาไทยในปัจจุบันจึงมีแนวทางปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ แล้ว ส่วนการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศมิได้มีรายละเอียดกำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวสมควรได้รับการปรับปรุงเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ ให้สมบูรณ์ชัดเจนและอยู่ในฉบับเดียวกัน จึงได้เสนอขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่เสนอดังกล่าว
(ร่าง) หลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ มีสาระสำคัญดังนี้
โดยที่ประเทศไทยสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศในการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเงินจำนวนมากในแต่ละปี ประกอบกับปัจจุบันนักวิชาการไทยจำนวนมากมีความรู้ความสามารถและศักยภาพเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการและกิจกรรมด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและพัฒนางานด้านการเป็นที่ปรึกษาของนักวิชาการไทยสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ดังนี้
1. ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาเลือกจ้างที่ปรึกษาไทยที่มีความรู้ความสามารถในด้านที่เกี่ยวข้องก่อนเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และให้ถือปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของหน่วยงานผู้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด แต่หากมีความจำเป็น และไม่อาจจัดจ้างที่ปรึกษาไทยที่เหมาะสมได้ ให้จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศได้ในกรณีดังต่อไปนี้ โดยให้เป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงานผู้ดำเนินการที่จะจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
1.1 กรณีเป็นการจ้างที่ปรึกษา ซึ่งแหล่งเงินช่วยเหลือหรือเงินกู้กำหนดเงื่อนไขให้พิจารณาจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศด้วย
1.2 กรณีได้รับการยืนยันเป็นหนังสือจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลังว่าไม่มีที่ปรึกษาไทยในสาขาบริการหรืองานนั้น และไม่มีที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยของรัฐสามารถให้บริการได้
1.3 กรณีเป็นการจ้างที่ปรึกษาของส่วนราชการในต่างประเทศหรือมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศ
2. ในกรณีที่ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามข้อ 1 และมีความจำเป็นจะต้องจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ให้เสนอรัฐมนตรีพิจารณา
3. ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้จัดทำสัญญาหรือข้อตกลงจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ หรือได้แจ้งผลการคัดเลือกให้ที่ปรึกษาต่างประเทศทราบก่อนวันที่ 22 ตุลาคม 2544 (ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาที่ได้ปรับปรุงใหม่แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ นร. 0205/ว 212 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2544 เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศและการจ้างที่ปรึกษาไทย) ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามสัญญาหรือข้อตกลง หรือการแจ้งผลการคัดเลือกต่อไปได้
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--
1. อนุมัติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ จำนวน 3 มติ ดังนี้
1.1 มติคณะรัฐมนตรี (13 มีนาคม 2544) เรื่อง การนำเข้าพัสดุจากต่างประเทศ และการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
1.2 มติคณะรัฐมนตรี (22 ตุลาคม 2544) เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ และการจ้างที่ปรึกษาไทย
1.3 มติคณะรัฐมนตรี (10 พฤษภาคม 2548) เรื่อง การจ้างที่ปรึกษาไทย
2. เห็นชอบหลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
3. ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการพิจารณาตีความและวินิจฉัยเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ พบว่ามีจำนวน 3 มติ (13 มีนาคม 2544, 22 ตุลาคม 2544 และ 10 พฤษภาคม 2548) โดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นมติที่ออกในช่วงเวลาการใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งระเบียบดังกล่าวได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาโดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนาที่ปรึกษาไทย และให้มีศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังด้วย ดังนั้น การจ้างที่ปรึกษาไทยในปัจจุบันจึงมีแนวทางปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ แล้ว ส่วนการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศมิได้มีรายละเอียดกำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวสมควรได้รับการปรับปรุงเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ ให้สมบูรณ์ชัดเจนและอยู่ในฉบับเดียวกัน จึงได้เสนอขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่เสนอดังกล่าว
(ร่าง) หลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึษาต่างประเทศของหน่วยงานของรัฐ มีสาระสำคัญดังนี้
โดยที่ประเทศไทยสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศในการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเงินจำนวนมากในแต่ละปี ประกอบกับปัจจุบันนักวิชาการไทยจำนวนมากมีความรู้ความสามารถและศักยภาพเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการและกิจกรรมด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและพัฒนางานด้านการเป็นที่ปรึกษาของนักวิชาการไทยสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ดังนี้
1. ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาเลือกจ้างที่ปรึกษาไทยที่มีความรู้ความสามารถในด้านที่เกี่ยวข้องก่อนเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และให้ถือปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของหน่วยงานผู้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด แต่หากมีความจำเป็น และไม่อาจจัดจ้างที่ปรึกษาไทยที่เหมาะสมได้ ให้จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศได้ในกรณีดังต่อไปนี้ โดยให้เป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงานผู้ดำเนินการที่จะจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
1.1 กรณีเป็นการจ้างที่ปรึกษา ซึ่งแหล่งเงินช่วยเหลือหรือเงินกู้กำหนดเงื่อนไขให้พิจารณาจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศด้วย
1.2 กรณีได้รับการยืนยันเป็นหนังสือจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลังว่าไม่มีที่ปรึกษาไทยในสาขาบริการหรืองานนั้น และไม่มีที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยของรัฐสามารถให้บริการได้
1.3 กรณีเป็นการจ้างที่ปรึกษาของส่วนราชการในต่างประเทศหรือมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศ
2. ในกรณีที่ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามข้อ 1 และมีความจำเป็นจะต้องจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ให้เสนอรัฐมนตรีพิจารณา
3. ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้จัดทำสัญญาหรือข้อตกลงจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ หรือได้แจ้งผลการคัดเลือกให้ที่ปรึกษาต่างประเทศทราบก่อนวันที่ 22 ตุลาคม 2544 (ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาที่ได้ปรับปรุงใหม่แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ นร. 0205/ว 212 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2544 เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศและการจ้างที่ปรึกษาไทย) ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามสัญญาหรือข้อตกลง หรือการแจ้งผลการคัดเลือกต่อไปได้
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--