แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ร่างพระราชบัญญัติ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอตามรายงานของกรมประมงว่า พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่ครอบคลุมภารกิจของกรมประมงที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการทรัพยากรประมงของประเทศไทยให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการประมงในปัจจุบัน โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีมาตรการทางกฎหมายสำหรับใช้ในการจัดการการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง รวมทั้งในการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรประมงที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนตลอดไปและเป็นการส่งเสริมและควบคุมให้สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงหรือจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีคุณภาพได้มาตรฐานด้านสุขภาพและ สุขอนามัยและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภครวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและจัดระเบียบการใช้เรือประมงไทยออกไปทำการประมงในน่านน้ำสากลหรือในน่านน้ำของรัฐอื่น เพื่อป้องกันมิให้มีการทำการประมงที่เป็นการละเมิดน่านน้ำของรัฐอื่นหรือเป็นการละเมิดข้อกำหนดของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีการควบคุม จัดการ ส่งเสริมการประมงรวมทั้งหมดงบประมาณเพื่อให้การบริหารจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างเหมาะสม ดังนี้
1. กำหนดให้รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่เฉพาะในเขตประมงน้ำจืดและเขตประมงชายฝั่ง มีอำนาจออกประกาศกำหนดมาตรการควบคุมการทำประมงตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ (ร่างมาตรา 6 (1) — (7) — ร่างมาตรา 7)
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยมีอธิบดีกรมประมงเป็นกรรมการและเลขานุการ และอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการพัฒนาการประมงของประเทศในด้านต่าง ๆ (ร่างมาตรา 8 — ร่างมาตรา 9 และ ร่างมาตรา 14)
3. ให้จัดตั้งองค์กรประมงท้องถิ่นขึ้น และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการประมงท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนที่กำหนดในกฎกระทรวงและให้มีอำนาจหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด (ร่างมาตรา 15 — ร่างมาตรา 18)
4. กำหนดให้มีการจัดเก็บสถิติการประมงเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยและการบริหารจัดการด้านการประมง โดยให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนด และให้อธิบดีกรมประมงมีอำนาจที่จะส่งคำขอให้ผู้มีอาชีพการประมงในท้องที่นั้นแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับสถิติการประมงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยต้องกรอกข้อมูลตามแบบรายการและยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 19- ร่างมาตรา 22)
5. กำหนดให้มีบทบัญญัติที่ควบคุมการกระทำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำที่จับสัตว์น้ำ หรือที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพสิ่งแวดล้อมของสัตว์น้ำหรือที่จับสัตว์น้ำ ทั้งนี้ เพื่อให้มีผลเป็นการคุ้มครองสัตว์น้ำและที่จับสัตว์น้ำ (ร่างมาตรา 23- ร่างมาตรา 33)
6. กำหนดให้ที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในน่านน้ำไทย แต่ละเขตมีเขตพื้นที่อย่างชัดเจน (ร่างมาตรา 34- ร่างมาตรา 37)
7. กำหนดให้ผู้ที่จะใช้เครื่องมือทำการประมงทะเลชายฝั่ง เขตประมงน้ำจืด และเขตทะเลนอกชายฝั่ง ต้องได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน (ร่างมาตรา 38-ร่างมาตรา 40)
8. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างสองจังหวัดหรือพื้นที่ในทะเลเพื่อกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน (ร่างมาตรา 41 และร่างมาตรา 42)
9. กำหนดให้มีการสร้างมาตรฐานขั้นต่ำและขั้นสูงสำหรับเกษตรกรเพื่อควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อรองรับระบบการออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (ร่างมาตรา 43-ร่างมาตรา 48)
10.กำหนดให้มีมาตรฐานด้านสุขอนามัยของสัตว์น้ำ โดยให้มีการตรวจรับรองการได้มาตรฐานให้แก่ผู้ประกอบการ (ร่างมาตรา 49 และร่างมาตรา 52)
11. ปรับปรุงให้มีการควบคุมการนำเข้าและการส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เพื่อให้มีการตรวจและออกหนังสือรับรองสุขภาพและคุณภาพ (ร่างมาตรา 53 และร่างมาตรา 54)
12. กำหนดให้มีคณะกรรมการประมงนอกน่านน้ำไทยที่มาจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ตามหลักการที่ใช้กับคณะกรรมการโดยอนุโลม เพื่อควบคุมและตรวจสอบการออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยของเรือประมงไทย โดยกำหนดความรับผิดแก่ผู้ไปทำการประมงไว้ด้วย (ร่างมาตรา 55 — ร่างมาตรา 63)
13. กำหนดห้ามมิให้บุคคลใดใช้เรือประมงต่างชาติทำการประมงในน่านน้ำไทยและห้ามมิให้บุคคลหรือนิติบุคคลต่างชาติใดใช้เรือประมงไทยทำการประมงในน่านน้ำไทยเว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรี (ร่างมาตรา 64-ร่างมาตรา 68)
14. กำหนดให้มีกองทุนพัฒนาและส่งเสริมการประมงเพื่อให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนแก่กองทุน รวมถึงให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนให้มีอำนาจหน้าที่บริหารกองทุนและให้ได้รับค่าตอบแทนต่าง ๆ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด(ร่างมาตรา 69-ร่างมาตรา 77)
15. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุมและตรวจพิสูจน์สัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์น้ำ โดยกำหนดบทลงโทษทางปกครอง และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รวมทั้งสั่งหรือดำเนินการให้รื้อถอนทำลานสิ่งที่ฝ่าฝืนได้ (ร่างมาตรา 78-ร่างมาตรา 84)
16. ให้มีบทกำหนดโทษทางแพ่ง โทษทางอาญา และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ (ร่างมาตรา 85- ร่างมาตรา 101)
17. กำหนดให้มีบทเฉพาะกาล (ร่างมาตรา 102 และมาตรา 103)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอตามรายงานของกรมประมงว่า พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่ครอบคลุมภารกิจของกรมประมงที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการทรัพยากรประมงของประเทศไทยให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการประมงในปัจจุบัน โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีมาตรการทางกฎหมายสำหรับใช้ในการจัดการการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง รวมทั้งในการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรประมงที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนตลอดไปและเป็นการส่งเสริมและควบคุมให้สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงหรือจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีคุณภาพได้มาตรฐานด้านสุขภาพและ สุขอนามัยและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภครวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและจัดระเบียบการใช้เรือประมงไทยออกไปทำการประมงในน่านน้ำสากลหรือในน่านน้ำของรัฐอื่น เพื่อป้องกันมิให้มีการทำการประมงที่เป็นการละเมิดน่านน้ำของรัฐอื่นหรือเป็นการละเมิดข้อกำหนดของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีการควบคุม จัดการ ส่งเสริมการประมงรวมทั้งหมดงบประมาณเพื่อให้การบริหารจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างเหมาะสม ดังนี้
1. กำหนดให้รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่เฉพาะในเขตประมงน้ำจืดและเขตประมงชายฝั่ง มีอำนาจออกประกาศกำหนดมาตรการควบคุมการทำประมงตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ (ร่างมาตรา 6 (1) — (7) — ร่างมาตรา 7)
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยมีอธิบดีกรมประมงเป็นกรรมการและเลขานุการ และอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการพัฒนาการประมงของประเทศในด้านต่าง ๆ (ร่างมาตรา 8 — ร่างมาตรา 9 และ ร่างมาตรา 14)
3. ให้จัดตั้งองค์กรประมงท้องถิ่นขึ้น และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการประมงท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนที่กำหนดในกฎกระทรวงและให้มีอำนาจหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด (ร่างมาตรา 15 — ร่างมาตรา 18)
4. กำหนดให้มีการจัดเก็บสถิติการประมงเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยและการบริหารจัดการด้านการประมง โดยให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนด และให้อธิบดีกรมประมงมีอำนาจที่จะส่งคำขอให้ผู้มีอาชีพการประมงในท้องที่นั้นแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับสถิติการประมงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยต้องกรอกข้อมูลตามแบบรายการและยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 19- ร่างมาตรา 22)
5. กำหนดให้มีบทบัญญัติที่ควบคุมการกระทำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำที่จับสัตว์น้ำ หรือที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพสิ่งแวดล้อมของสัตว์น้ำหรือที่จับสัตว์น้ำ ทั้งนี้ เพื่อให้มีผลเป็นการคุ้มครองสัตว์น้ำและที่จับสัตว์น้ำ (ร่างมาตรา 23- ร่างมาตรา 33)
6. กำหนดให้ที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในน่านน้ำไทย แต่ละเขตมีเขตพื้นที่อย่างชัดเจน (ร่างมาตรา 34- ร่างมาตรา 37)
7. กำหนดให้ผู้ที่จะใช้เครื่องมือทำการประมงทะเลชายฝั่ง เขตประมงน้ำจืด และเขตทะเลนอกชายฝั่ง ต้องได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน (ร่างมาตรา 38-ร่างมาตรา 40)
8. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างสองจังหวัดหรือพื้นที่ในทะเลเพื่อกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน (ร่างมาตรา 41 และร่างมาตรา 42)
9. กำหนดให้มีการสร้างมาตรฐานขั้นต่ำและขั้นสูงสำหรับเกษตรกรเพื่อควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อรองรับระบบการออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (ร่างมาตรา 43-ร่างมาตรา 48)
10.กำหนดให้มีมาตรฐานด้านสุขอนามัยของสัตว์น้ำ โดยให้มีการตรวจรับรองการได้มาตรฐานให้แก่ผู้ประกอบการ (ร่างมาตรา 49 และร่างมาตรา 52)
11. ปรับปรุงให้มีการควบคุมการนำเข้าและการส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เพื่อให้มีการตรวจและออกหนังสือรับรองสุขภาพและคุณภาพ (ร่างมาตรา 53 และร่างมาตรา 54)
12. กำหนดให้มีคณะกรรมการประมงนอกน่านน้ำไทยที่มาจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ตามหลักการที่ใช้กับคณะกรรมการโดยอนุโลม เพื่อควบคุมและตรวจสอบการออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยของเรือประมงไทย โดยกำหนดความรับผิดแก่ผู้ไปทำการประมงไว้ด้วย (ร่างมาตรา 55 — ร่างมาตรา 63)
13. กำหนดห้ามมิให้บุคคลใดใช้เรือประมงต่างชาติทำการประมงในน่านน้ำไทยและห้ามมิให้บุคคลหรือนิติบุคคลต่างชาติใดใช้เรือประมงไทยทำการประมงในน่านน้ำไทยเว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรี (ร่างมาตรา 64-ร่างมาตรา 68)
14. กำหนดให้มีกองทุนพัฒนาและส่งเสริมการประมงเพื่อให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนแก่กองทุน รวมถึงให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนให้มีอำนาจหน้าที่บริหารกองทุนและให้ได้รับค่าตอบแทนต่าง ๆ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด(ร่างมาตรา 69-ร่างมาตรา 77)
15. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุมและตรวจพิสูจน์สัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์น้ำ โดยกำหนดบทลงโทษทางปกครอง และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รวมทั้งสั่งหรือดำเนินการให้รื้อถอนทำลานสิ่งที่ฝ่าฝืนได้ (ร่างมาตรา 78-ร่างมาตรา 84)
16. ให้มีบทกำหนดโทษทางแพ่ง โทษทางอาญา และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ (ร่างมาตรา 85- ร่างมาตรา 101)
17. กำหนดให้มีบทเฉพาะกาล (ร่างมาตรา 102 และมาตรา 103)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--