คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและภัยแล้งตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว จำนวน 48 จังหวัด 472 อำเภอ 54 กิ่งอำเภอ 3,444 ตำบล 36,874 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,875,546 คน 2,324,169 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ พะเยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และนครสวรรค์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
- ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และสระแก้ว
1.2 จังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 46 จังหวัด
1.3 การให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยหนาว
1.3.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดหาเครื่องนุ่งห่มกันหนาวเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปีงบประมาณ 2550 ไว้ดังนี้
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่มอาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัด รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-10 และจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนให้แก่จังหวัดที่ประสบภัยหนาวตามที่ร้องขอ ในวงเงิน 28,845,000 บาท
1.3.2 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย มูลนิธิ ภาคเอกชน และอื่นๆ ได้แจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยหนาวไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 1,969,336 ชิ้น (แยกเป็น ผ้าห่มนวม 1,703,075 ผืน เสื้อกันหนาว 179,464 ตัว หมวกไหมพรม 68,709 ผืน และอื่นๆ 18,088 ชิ้น)
1.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาวของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ขออนุมัติกระทรวงการคลังยกเว้นหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ข้อ 5.1.19 ในกรณีภัยหนาวที่เกิดขึ้นในปี 2550 นี้ ให้จังหวัดที่ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยหนาว สามารถใช้จ่ายเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด จัดซื้อเครื่องกันหนาวช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเพิ่มเติมจากหลักการที่กำหนดได้ในราคาเท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 240 บาท ตามความเหมาะสม แต่ไม่เกินวงเงิน 25 ล้านบาทต่อจังหวัดได้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งกระทรวงการคลังได้อนุมัติตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเสนอขอ
2. สถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550)
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 28 จังหวัด 221 อำเภอ 24 กิ่งฯ 1,427 ตำบล 12,393 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 12,393 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 38.58 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 28 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 16.82 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) แยกเป็น
ที่ ภาค จังหวัด พื้นที่ประสบภัย
1 ภาคเหนือ 9 กำแพงเพชร สุโขทัย ลำปาง แพร่ ตาก น่าน ลำพูน เพชรบูรณ์ และพิจิตร
2 ภาคตะวันออก 13 กาฬสินธุ์ ขอนแก่น หนองคาย มุกดาหาร อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ยโสธร
เฉียงเหนือ สกลนคร นครพนม อุดรธานี ศรีสะเกษ และนครราชสีมา
3 ภาคกลาง 2 สุพรรณบุรี และอ่างทอง
4 ภาคตะวันออก 4 ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด สระแก้ว
รวม 28 รวม 28 จังหวัด 221 อำเภอ 24 กิ่งฯ 1,427 ตำบล 12,393 หมู่บ้าน
2.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 1,176,019 ครัวเรือน 4,859,241 คน (จำนวนครัวเรือนที่เดือดร้อน 1,176,019 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 20.11 ของครัวเรือนทั้งหมดใน 28 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ณ ปัจจุบัน (วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550)
เปรียบเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด
ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ
ทั้งหมด (ณ 12 ก.พ. 2550) (ของหมู่บ้านทั้งประเทศ)
1 ตะวันออกเฉียงเหนือ 32,576 8,578 26.33
2 เหนือ 16,306 3,057 18.75
3 ตะวันออก 4,816 688 14.29
4 กลาง 11,377 70 0.62
5 ใต้ 8,588 - -
รวม 73,663 12,393 16.82
2.3 พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 554,890 ไร่
2.4 การให้ความช่วยเหลือ
2.4.1 การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก 528 เครื่อง
เพื่อการอุปโภคบริโภค 28 เครื่อง
(2) สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 4,075 แห่ง
(3) การขุดลอกแหล่งน้ำ 444 แห่ง
2.4.2 การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค ใช้รถบรรทุกน้ำ 218 คัน
แจกจ่ายน้ำ 6,745 เที่ยว จำนวน 54,638,300 ลิตร
2.4.3 งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว จำนวน 113,782,001 บาท แยกเป็น
1) งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 107,922,609 บาท
2) งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4,742,515 บาท
3) งบอื่นๆ จำนวน 614,877 บาท
2.5 การสนับสนุนน้ำประปาช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง ของการประปาส่วนภูมิภาค
การประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำประปาให้แก่รถยนต์บรรทุกน้ำของทางราชการโดยไม่คิดมูลค่า (จ่ายน้ำฟรี) เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 17,390,000 ลิตร คิดเป็นเงิน 204,332.50 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. สถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว จำนวน 48 จังหวัด 472 อำเภอ 54 กิ่งอำเภอ 3,444 ตำบล 36,874 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,875,546 คน 2,324,169 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ พะเยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และนครสวรรค์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
- ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และสระแก้ว
1.2 จังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 46 จังหวัด
1.3 การให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยหนาว
1.3.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดหาเครื่องนุ่งห่มกันหนาวเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปีงบประมาณ 2550 ไว้ดังนี้
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่มอาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัด รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-10 และจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนให้แก่จังหวัดที่ประสบภัยหนาวตามที่ร้องขอ ในวงเงิน 28,845,000 บาท
1.3.2 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย มูลนิธิ ภาคเอกชน และอื่นๆ ได้แจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยหนาวไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 1,969,336 ชิ้น (แยกเป็น ผ้าห่มนวม 1,703,075 ผืน เสื้อกันหนาว 179,464 ตัว หมวกไหมพรม 68,709 ผืน และอื่นๆ 18,088 ชิ้น)
1.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาวของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ขออนุมัติกระทรวงการคลังยกเว้นหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ข้อ 5.1.19 ในกรณีภัยหนาวที่เกิดขึ้นในปี 2550 นี้ ให้จังหวัดที่ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยหนาว สามารถใช้จ่ายเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด จัดซื้อเครื่องกันหนาวช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเพิ่มเติมจากหลักการที่กำหนดได้ในราคาเท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 240 บาท ตามความเหมาะสม แต่ไม่เกินวงเงิน 25 ล้านบาทต่อจังหวัดได้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งกระทรวงการคลังได้อนุมัติตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเสนอขอ
2. สถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550)
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 28 จังหวัด 221 อำเภอ 24 กิ่งฯ 1,427 ตำบล 12,393 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 12,393 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 38.58 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 28 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 16.82 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) แยกเป็น
ที่ ภาค จังหวัด พื้นที่ประสบภัย
1 ภาคเหนือ 9 กำแพงเพชร สุโขทัย ลำปาง แพร่ ตาก น่าน ลำพูน เพชรบูรณ์ และพิจิตร
2 ภาคตะวันออก 13 กาฬสินธุ์ ขอนแก่น หนองคาย มุกดาหาร อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ยโสธร
เฉียงเหนือ สกลนคร นครพนม อุดรธานี ศรีสะเกษ และนครราชสีมา
3 ภาคกลาง 2 สุพรรณบุรี และอ่างทอง
4 ภาคตะวันออก 4 ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด สระแก้ว
รวม 28 รวม 28 จังหวัด 221 อำเภอ 24 กิ่งฯ 1,427 ตำบล 12,393 หมู่บ้าน
2.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 1,176,019 ครัวเรือน 4,859,241 คน (จำนวนครัวเรือนที่เดือดร้อน 1,176,019 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 20.11 ของครัวเรือนทั้งหมดใน 28 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ณ ปัจจุบัน (วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550)
เปรียบเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด
ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ
ทั้งหมด (ณ 12 ก.พ. 2550) (ของหมู่บ้านทั้งประเทศ)
1 ตะวันออกเฉียงเหนือ 32,576 8,578 26.33
2 เหนือ 16,306 3,057 18.75
3 ตะวันออก 4,816 688 14.29
4 กลาง 11,377 70 0.62
5 ใต้ 8,588 - -
รวม 73,663 12,393 16.82
2.3 พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 554,890 ไร่
2.4 การให้ความช่วยเหลือ
2.4.1 การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก 528 เครื่อง
เพื่อการอุปโภคบริโภค 28 เครื่อง
(2) สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 4,075 แห่ง
(3) การขุดลอกแหล่งน้ำ 444 แห่ง
2.4.2 การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค ใช้รถบรรทุกน้ำ 218 คัน
แจกจ่ายน้ำ 6,745 เที่ยว จำนวน 54,638,300 ลิตร
2.4.3 งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว จำนวน 113,782,001 บาท แยกเป็น
1) งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 107,922,609 บาท
2) งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4,742,515 บาท
3) งบอื่นๆ จำนวน 614,877 บาท
2.5 การสนับสนุนน้ำประปาช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง ของการประปาส่วนภูมิภาค
การประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำประปาให้แก่รถยนต์บรรทุกน้ำของทางราชการโดยไม่คิดมูลค่า (จ่ายน้ำฟรี) เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 17,390,000 ลิตร คิดเป็นเงิน 204,332.50 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--