แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ... ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 9) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. .... เสร็จแล้วโดยได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ในสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ร่างมาตรา 4 แก้ไขถ้อยคำของบทนิยามให้ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้ตัดบทนิยามคำว่า “ผู้ปกครองคนพิการ” ออก และเพิ่มบทนิยามคำว่า “ผู้ดูแลคนพิการ” แทน เพื่อมิให้มีความหมายซ้ำกับคำว่า “ผู้ปกครอง” ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนี้ได้เพิ่มบทนิยามคำว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายนี้
2. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ เนื่องจากการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับแผนงานระดับชาติ
3. เพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ โดยกำหนดให้คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการออกกฎกระทรวงในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ สิทธิรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยวิธีการทางการแพทย์ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อัตราส่วนที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจะต้องจ้างคนพิการเข้าทำงาน นอกจากนี้ได้กำหนดให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจวินิจฉัยและมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
ต่อคนพิการ
4. กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ โดยให้สิทธิแก่คนพิการที่จะร้องขอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ทั้งนี้ ในการใช้สิทธิดังกล่าวคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการอาจขอให้องค์การคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทน โดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
5. กำหนดให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นสำนักงานทะเบียนกลาง ไม่ควรกำหนดส่วนราชการระดับกองไว้ในกฎหมาย เนื่องจากส่วนราชการระดับกองอาจมีการเปลี่ยนแปลงง่าย ทำให้ต้องมีการแก้ไขกฎหมายทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
6. กำหนดให้มีกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประกอบด้วยทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ งบประมาณ และรายได้ที่โอนมาจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534
7. เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
8. ได้กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยเฉพาะแก่คนพิการ ทั้งนี้ เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่นซึ่งได้จัดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
9. กำหนดมาตรการเชิงลงโทษแก่นายจ้างหรือสถานประกอบการที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงาน หรือไม่ส่งเงินเข้ากองทุน หรือไม่ให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงานแก่คนพิการ และกำหนดมาตรการให้รางวัลแก่นายจ้างที่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อจูงใจให้นายจ้างและสถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายนี้
10. สำหรับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รักษาการ แล้วได้กำหนดเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย และให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เพื่อให้ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ได้ปรับปรุงบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 9) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. .... เสร็จแล้วโดยได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ในสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ร่างมาตรา 4 แก้ไขถ้อยคำของบทนิยามให้ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้ตัดบทนิยามคำว่า “ผู้ปกครองคนพิการ” ออก และเพิ่มบทนิยามคำว่า “ผู้ดูแลคนพิการ” แทน เพื่อมิให้มีความหมายซ้ำกับคำว่า “ผู้ปกครอง” ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนี้ได้เพิ่มบทนิยามคำว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายนี้
2. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ เนื่องจากการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับแผนงานระดับชาติ
3. เพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ โดยกำหนดให้คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการออกกฎกระทรวงในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ สิทธิรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยวิธีการทางการแพทย์ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อัตราส่วนที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจะต้องจ้างคนพิการเข้าทำงาน นอกจากนี้ได้กำหนดให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจวินิจฉัยและมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
ต่อคนพิการ
4. กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ โดยให้สิทธิแก่คนพิการที่จะร้องขอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ทั้งนี้ ในการใช้สิทธิดังกล่าวคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการอาจขอให้องค์การคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทน โดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
5. กำหนดให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นสำนักงานทะเบียนกลาง ไม่ควรกำหนดส่วนราชการระดับกองไว้ในกฎหมาย เนื่องจากส่วนราชการระดับกองอาจมีการเปลี่ยนแปลงง่าย ทำให้ต้องมีการแก้ไขกฎหมายทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
6. กำหนดให้มีกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประกอบด้วยทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ งบประมาณ และรายได้ที่โอนมาจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534
7. เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
8. ได้กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยเฉพาะแก่คนพิการ ทั้งนี้ เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่นซึ่งได้จัดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
9. กำหนดมาตรการเชิงลงโทษแก่นายจ้างหรือสถานประกอบการที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงาน หรือไม่ส่งเงินเข้ากองทุน หรือไม่ให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงานแก่คนพิการ และกำหนดมาตรการให้รางวัลแก่นายจ้างที่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อจูงใจให้นายจ้างและสถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายนี้
10. สำหรับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รักษาการ แล้วได้กำหนดเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย และให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เพื่อให้ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ได้ปรับปรุงบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--