คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยให้ตัดความว่า “ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของเงินตาม (4)” ในส่วนท้ายของร่างมาตรา 49 (3) ออก และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาเอกชน กำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและกำหนดมาตรฐานและแผนพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเอกชน (ร่างมาตรา 8 และมาตรา 13)
2. กำหนดให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมและการวินิจฉัย ชี้ขาดของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ร่างมาตรา 12)
3. กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นหน่วยงานในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 14)
4. กำหนดให้การจัดตั้งโรงเรียนในระบบในประเภทและระดับใดให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกำหนด และต้องได้รับใบอนุญาต (ร่างมาตรา 17 และร่างมาตรา 18)
5. กำหนดให้โรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และให้ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อเป็นนิติบุคคลแล้ว ให้มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน เงิน ทรัพย์สิน จัดให้มีคณะกรรมการบริหารและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โรงเรียนในระบบจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวงตามประมวลกฎหมายที่ดินและภาษีอากรตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามประมวลรัษฎากร (ร่างมาตรา 24 ร่างมาตรา 25 และมาตรา 27)
6. กำหนดให้โรงเรียนในระบบต้องมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ โดยคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ออกระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ตลอดจนให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษา (ร่างมาตรา 30 และร่างมาตรา 31)
7. กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ให้การอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียนในระบบ (ร่างมาตรา 48)
8. กำหนดให้มีกองทุนส่งเสริมโรงเรียนเอกชนในระบบขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการให้กู้ยืมเงินแก่โรงเรียนในระบบและเงินของกองทุนไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (ร่างมาตรา 49)
9. กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา และรวมถึงการจ่ายเป็นเงินทุนเลี้ยงชีพการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ การส่งเสริมการออมทรัพย์และการจ่ายเป็นเงินสวัสดิการสงเคราะห์ (ร่างมาตรา 54)
10. กำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ โดยให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการของกองทุน กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการลงทุน กำกับดูแลการจัดการกองทุน อนุมัติงบประมาณรายได้ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับในเรื่องต่าง ๆ ของกองทุน (ร่างมาตรา 61 และร่างมาตรา 66)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาเอกชน กำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและกำหนดมาตรฐานและแผนพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเอกชน (ร่างมาตรา 8 และมาตรา 13)
2. กำหนดให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมและการวินิจฉัย ชี้ขาดของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ร่างมาตรา 12)
3. กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นหน่วยงานในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 14)
4. กำหนดให้การจัดตั้งโรงเรียนในระบบในประเภทและระดับใดให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกำหนด และต้องได้รับใบอนุญาต (ร่างมาตรา 17 และร่างมาตรา 18)
5. กำหนดให้โรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และให้ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อเป็นนิติบุคคลแล้ว ให้มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน เงิน ทรัพย์สิน จัดให้มีคณะกรรมการบริหารและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โรงเรียนในระบบจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวงตามประมวลกฎหมายที่ดินและภาษีอากรตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามประมวลรัษฎากร (ร่างมาตรา 24 ร่างมาตรา 25 และมาตรา 27)
6. กำหนดให้โรงเรียนในระบบต้องมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ โดยคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ออกระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ตลอดจนให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษา (ร่างมาตรา 30 และร่างมาตรา 31)
7. กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ให้การอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียนในระบบ (ร่างมาตรา 48)
8. กำหนดให้มีกองทุนส่งเสริมโรงเรียนเอกชนในระบบขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการให้กู้ยืมเงินแก่โรงเรียนในระบบและเงินของกองทุนไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (ร่างมาตรา 49)
9. กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา และรวมถึงการจ่ายเป็นเงินทุนเลี้ยงชีพการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ การส่งเสริมการออมทรัพย์และการจ่ายเป็นเงินสวัสดิการสงเคราะห์ (ร่างมาตรา 54)
10. กำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ โดยให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการของกองทุน กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการลงทุน กำกับดูแลการจัดการกองทุน อนุมัติงบประมาณรายได้ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับในเรื่องต่าง ๆ ของกองทุน (ร่างมาตรา 61 และร่างมาตรา 66)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--