คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติ แห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งค้างการพิจารณาของรัฐสภาเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเห็นสมควรให้มีการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย
2. กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหยมีอำนาจหน้าที่ให้คำแนะนำหรือความเห็นต่อรัฐมนตรีในการวางระเบียบว่าด้วยการรับเข้าบำบัดรักษา การบำบัดรักษา และการดูแลผู้ติดสารระเหยในสถานพยาบาล
3. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขวางระเบียบว่าด้วยการรับเข้าบำบัดรักษา การบำบัด รักษา และการดูแลผู้ติดสารระเหยในสถานพยาบาล
4. กำหนดห้ามการขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
5. กำหนดให้บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
6. ปรับปรุงอัตราโทษตามมาตรา 23 มาตรา 23 ทวิ และมาตรา 24 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
7. กำหนดให้ผู้ที่ใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจที่สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาและได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ให้พ้นจากความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ
8. ยกเลิกบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับรักษาสำหรับผู้กระทำความผิด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งค้างการพิจารณาของรัฐสภาเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเห็นสมควรให้มีการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย
2. กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหยมีอำนาจหน้าที่ให้คำแนะนำหรือความเห็นต่อรัฐมนตรีในการวางระเบียบว่าด้วยการรับเข้าบำบัดรักษา การบำบัดรักษา และการดูแลผู้ติดสารระเหยในสถานพยาบาล
3. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขวางระเบียบว่าด้วยการรับเข้าบำบัดรักษา การบำบัด รักษา และการดูแลผู้ติดสารระเหยในสถานพยาบาล
4. กำหนดห้ามการขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
5. กำหนดให้บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
6. ปรับปรุงอัตราโทษตามมาตรา 23 มาตรา 23 ทวิ และมาตรา 24 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
7. กำหนดให้ผู้ที่ใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจที่สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาและได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ให้พ้นจากความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ
8. ยกเลิกบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับรักษาสำหรับผู้กระทำความผิด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--