คณะรัฐมนตรีรับทราบยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยในระบบโลจิสติกส์ (พ.ศ. 2549 — 2553) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้
กระทรวงแรงงานรายงานว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยในระบบโลจิสติกส์ พ.ศ. 2549 — 2553 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานพัฒนากำลังคนด้านโลจิสติกส์ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย (พ.ศ. 2549 — 2553) ในประเด็นยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนและกลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และกระทรวงแรงงานได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2550 แล้ว
สาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยในระบบโลจิสติกส์ (พ.ศ. 2549 — 2553) สรุปได้ดังนี้
1. เป้าหมายของการพัฒนา “บุคลากรโลจิสติกส์มีศักยภาพได้มาตรฐานและเพียงพอ มีระบบฐานข้อมูลโลจิสติกส์เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาศักยภาพแรงงาน”
2. กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาในภาพรวมของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ และการพัฒนาบุคลากรฝึก จำนวนทั้งสิ้น 418,370 คน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นแรงงานใหม่ แรงงานอยู่ในตลาด และแรงงานต้องการยกระดับทักษะฝีมือ จำแนกเป็นระดับตำแหน่ง ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้จัดการ/ผู้เชี่ยวชาญผู้ปฏิบัติการ
3. กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาของกระทรวงแรงงาน ระหว่างปี 2549 — 2553 รวมทั้งสิ้น 232,650 คน ประกอบด้วย แรงงานอยู่ในตลาดแรงงานที่ต้องการยกระดับทักษะฝีมือ จำนวน 68,500 คน แรงงานในภาคผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ทั้งแรงงานใหม่ แรงงานอยู่ในตลาด จำนวน 162,950 คน และการพัฒนาบุคลากรฝึกด้านโลจิสติกส์ จำนวน 1,200 คน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยในระบบโลจิสติกส์ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
4.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความเข้าใจในการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยมี 1 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 ประสาน ส่งเสริม/สนับสนุนให้ภาคเอกชนในระบบโลจิสติกส์มีบทบาทเป็นแกนกลางในการพัฒนาบุคลากรและบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
4.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ให้ทันสมัย โดยมี 1 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 เร่งรัดการผลิตและพัฒนา หรือ ปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นระดับสากลในการพัฒนาบุคลากรในระบบโลจิสติกส์
4.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานด้านโลจิสติกส์ โดยมี 1 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 เร่งรัดการผลิตและพัฒนา/ปรับปรุงสาขามาตรฐานฝีมือแรงงานให้ได้ในระดับสากลและสอดคล้องกับความต้องการในระบบโลจิสติกส์
4.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาศักยภาพแรงงานและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ โดยมี 3 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการผลิตบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงาน
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติงานให้เป็นมืออาชีพในการถ่ายทอดความรู้
กลยุทธ์ที่ 3 ดำเนินการประสานและสนับสนุนให้การพัฒนาระบบฐานข้อมูลโลจิสติกส์สำหรับบริหารจัดการเพื่อการวางแผนและติดตามผล
ทั้งนี้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะศึกษา ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานต่อกระทรวงแรงงานและคณะรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
กระทรวงแรงงานรายงานว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยในระบบโลจิสติกส์ พ.ศ. 2549 — 2553 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานพัฒนากำลังคนด้านโลจิสติกส์ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย (พ.ศ. 2549 — 2553) ในประเด็นยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนและกลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และกระทรวงแรงงานได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2550 แล้ว
สาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยในระบบโลจิสติกส์ (พ.ศ. 2549 — 2553) สรุปได้ดังนี้
1. เป้าหมายของการพัฒนา “บุคลากรโลจิสติกส์มีศักยภาพได้มาตรฐานและเพียงพอ มีระบบฐานข้อมูลโลจิสติกส์เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาศักยภาพแรงงาน”
2. กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาในภาพรวมของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ และการพัฒนาบุคลากรฝึก จำนวนทั้งสิ้น 418,370 คน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นแรงงานใหม่ แรงงานอยู่ในตลาด และแรงงานต้องการยกระดับทักษะฝีมือ จำแนกเป็นระดับตำแหน่ง ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้จัดการ/ผู้เชี่ยวชาญผู้ปฏิบัติการ
3. กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาของกระทรวงแรงงาน ระหว่างปี 2549 — 2553 รวมทั้งสิ้น 232,650 คน ประกอบด้วย แรงงานอยู่ในตลาดแรงงานที่ต้องการยกระดับทักษะฝีมือ จำนวน 68,500 คน แรงงานในภาคผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ทั้งแรงงานใหม่ แรงงานอยู่ในตลาด จำนวน 162,950 คน และการพัฒนาบุคลากรฝึกด้านโลจิสติกส์ จำนวน 1,200 คน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยในระบบโลจิสติกส์ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
4.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความเข้าใจในการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยมี 1 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 ประสาน ส่งเสริม/สนับสนุนให้ภาคเอกชนในระบบโลจิสติกส์มีบทบาทเป็นแกนกลางในการพัฒนาบุคลากรและบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
4.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ให้ทันสมัย โดยมี 1 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 เร่งรัดการผลิตและพัฒนา หรือ ปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นระดับสากลในการพัฒนาบุคลากรในระบบโลจิสติกส์
4.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานด้านโลจิสติกส์ โดยมี 1 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 เร่งรัดการผลิตและพัฒนา/ปรับปรุงสาขามาตรฐานฝีมือแรงงานให้ได้ในระดับสากลและสอดคล้องกับความต้องการในระบบโลจิสติกส์
4.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาศักยภาพแรงงานและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ โดยมี 3 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการผลิตบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงาน
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติงานให้เป็นมืออาชีพในการถ่ายทอดความรู้
กลยุทธ์ที่ 3 ดำเนินการประสานและสนับสนุนให้การพัฒนาระบบฐานข้อมูลโลจิสติกส์สำหรับบริหารจัดการเพื่อการวางแผนและติดตามผล
ทั้งนี้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะศึกษา ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานต่อกระทรวงแรงงานและคณะรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--