คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแนวทางการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (อปท.) ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในฐานะประธานกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอ ซึ่งเป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) ครั้งที่ 9/2548 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 ทั้งนี้ การดำเนินการถ่ายโอนจริงให้เป็นไปตามหลักความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งคำนึงถึงความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน คุณภาพการศึกษา และประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ
ซึ่งมติของที่ประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) ครั้งที่ 9/2548 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 ที่ได้พิจารณาเรื่องการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษา (เฉพาะสถานศึกษาที่ถ่ายโอน) ให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเห็นดังนี้
1. ให้มีองค์กรกำหนดนโยบาย แผน มาตรฐาน และสนับสนุนงบประมาณในที่เดียวกัน และโดยที่เรื่องนี้เป็นบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการ จึงให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบในการจัดสรรให้แก่ อปท. และให้คำนวณเข้าไว้ในส่วนของงบประมาณ ร้อยละ 35 ตามกฎหมาย
2. ให้มีคณะกรรมการการศึกษาท้องถิ่นระดับจังหวัด โดยพิจารณารูปแบบองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ที่เหมาะสมต่อไปอีกครั้งหนึ่ง
3. โรงเรียนใดที่มีความสามารถและมีศักยภาพ ควรให้อำนาจและอิสระในการบริหารโดยเฉพาะทางวิชาการ และควรมีฐานะเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งอาจต้องแก้ไขกฎหมายในอนาคต
4. ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน ให้งบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าใช้จ่ายด้านวิชาการอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ โดยผ่านระบบ GFMIS ส่วนงบประมาณอื่น ๆ อยู่ในความรับผิดชอบของ อปท.
5. การจัดการศึกษาของ อปท. ควรรับผิดชอบทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาตลอดชีวิต (น่าจะมีความพร้อมตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป)
6. การถ่ายโอนบุคลากรด้านการศึกษาให้อยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจของบุคลากร ดังนี้
(1) กรณีบุคลากรสมัครใจ ให้ตัดโอนทั้งอัตราและตัวบุคคลไปสังกัด อปท.
(2) กรณีบุคลากรไม่ประสงค์โอนไป อปท. ให้สามารถช่วยราชการในสถานศึกษานั้นต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 2 ปีการศึกษา เมื่อไม่ประสงค์จะโอนไปก็ให้กลับไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้ ในกรณีมีอัตราที่ขาดอันเนื่องมาจากการถ่ายโอน รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณหรืออัตราเพื่อบรรจุทดแทนให้แก่ อปท. หรือกระทรวงศึกษาธิการแล้วแต่กรณี
7. ปีการศึกษา 2549 ให้แบ่งระดับสถานศึกษาที่จะถ่ายโอน ดังนี้
(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด รับโอนได้ไม่เกิน 3 โรง โดยแบ่งออกเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่เกิน 1 โรง และอีก 2 โรง อาจเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษา หรือโรงเรียนขยายโอกาส
(2) เมืองพัทยา และเทศบาลที่เคยจัดการศึกษา รับโอนได้ไม่เกิน 2 โรง ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษา หรือโรงเรียนขยายโอาส
(3) เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ไม่เคยจัดการศึกษารับโอนได้ไม่เกิน 1 โรงในระดับประถมศึกษา
(4) กรุงเทพมหานคร ให้กระทรวงศึกษาธิการ และ กกถ. ร่วมกันพิจารณาจำนวนสถานศึกษาที่จะรับถ่ายโอน โดยให้คำนึงถึงคำนิยามสถานศึกษาพิเศษที่ได้กำหนดไว้แล้วด้วย กรณีที่สถานศึกษาใดมีความพร้อมและสมัครใจโอนไปอยู่ อปท. และ อปท. ยินดีรับโอนสถานศึกษาดังกล่าว นอกเหนือจากจำนวนดังกล่าวข้างต้น ให้สถานศึกษา และ อปท. ทำความตกลงเพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน และเสนอให้ กกถ. พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
8. สถานศึกษาลักษณะพิเศษ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นสถานศึกษาตัวอย่างหรือต้นแบบ ที่จัดการศึกษาระดับภาค ระดับจังหวัด หรือระดับเขตพื้นที่การศึกษา เช่น โรงเรียนในฝัน ซึ่งเป็นนโยบายเฉพาะของรัฐบาล ให้เป็นไปตามคำนิยามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยทั้งนี้ให้เป็นไปตามความตกลงเป็นกรณี ๆ ไป สำหรับสถานศึกษาที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ (สมศ.) ที่ยังขาดความพร้อมด้านบุคลากร หรือขาดระบบบริหารซึ่งต้องพัฒนามาตรฐานและความพร้อม เห็นสมควรถ่ายโอนให้ อปท. รับไปดำเนินการ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า อปท. ที่รับโอนต้องมีแผนการพัฒนาสถานศึกษาที่ชัดเจน และมีการติดตามประเมินผลเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานของ สมศ.ต่อไป
9. ให้มีคณะกรรมการและระบบติดตามและประเมินผลการโอนสถานศึกษาตามแนวทางนี้ และเสนอ กกถ.ต่อไป หากปรากฏว่า การจัดการศึกษามีปัญหาหรือด้อยคุณภาพลง อาจมีการทบทวนการโอนได้เป็นราย ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--
ซึ่งมติของที่ประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) ครั้งที่ 9/2548 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 ที่ได้พิจารณาเรื่องการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษา (เฉพาะสถานศึกษาที่ถ่ายโอน) ให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเห็นดังนี้
1. ให้มีองค์กรกำหนดนโยบาย แผน มาตรฐาน และสนับสนุนงบประมาณในที่เดียวกัน และโดยที่เรื่องนี้เป็นบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการ จึงให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบในการจัดสรรให้แก่ อปท. และให้คำนวณเข้าไว้ในส่วนของงบประมาณ ร้อยละ 35 ตามกฎหมาย
2. ให้มีคณะกรรมการการศึกษาท้องถิ่นระดับจังหวัด โดยพิจารณารูปแบบองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ที่เหมาะสมต่อไปอีกครั้งหนึ่ง
3. โรงเรียนใดที่มีความสามารถและมีศักยภาพ ควรให้อำนาจและอิสระในการบริหารโดยเฉพาะทางวิชาการ และควรมีฐานะเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งอาจต้องแก้ไขกฎหมายในอนาคต
4. ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน ให้งบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าใช้จ่ายด้านวิชาการอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ โดยผ่านระบบ GFMIS ส่วนงบประมาณอื่น ๆ อยู่ในความรับผิดชอบของ อปท.
5. การจัดการศึกษาของ อปท. ควรรับผิดชอบทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาตลอดชีวิต (น่าจะมีความพร้อมตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป)
6. การถ่ายโอนบุคลากรด้านการศึกษาให้อยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจของบุคลากร ดังนี้
(1) กรณีบุคลากรสมัครใจ ให้ตัดโอนทั้งอัตราและตัวบุคคลไปสังกัด อปท.
(2) กรณีบุคลากรไม่ประสงค์โอนไป อปท. ให้สามารถช่วยราชการในสถานศึกษานั้นต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 2 ปีการศึกษา เมื่อไม่ประสงค์จะโอนไปก็ให้กลับไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้ ในกรณีมีอัตราที่ขาดอันเนื่องมาจากการถ่ายโอน รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณหรืออัตราเพื่อบรรจุทดแทนให้แก่ อปท. หรือกระทรวงศึกษาธิการแล้วแต่กรณี
7. ปีการศึกษา 2549 ให้แบ่งระดับสถานศึกษาที่จะถ่ายโอน ดังนี้
(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด รับโอนได้ไม่เกิน 3 โรง โดยแบ่งออกเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่เกิน 1 โรง และอีก 2 โรง อาจเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษา หรือโรงเรียนขยายโอกาส
(2) เมืองพัทยา และเทศบาลที่เคยจัดการศึกษา รับโอนได้ไม่เกิน 2 โรง ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษา หรือโรงเรียนขยายโอาส
(3) เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ไม่เคยจัดการศึกษารับโอนได้ไม่เกิน 1 โรงในระดับประถมศึกษา
(4) กรุงเทพมหานคร ให้กระทรวงศึกษาธิการ และ กกถ. ร่วมกันพิจารณาจำนวนสถานศึกษาที่จะรับถ่ายโอน โดยให้คำนึงถึงคำนิยามสถานศึกษาพิเศษที่ได้กำหนดไว้แล้วด้วย กรณีที่สถานศึกษาใดมีความพร้อมและสมัครใจโอนไปอยู่ อปท. และ อปท. ยินดีรับโอนสถานศึกษาดังกล่าว นอกเหนือจากจำนวนดังกล่าวข้างต้น ให้สถานศึกษา และ อปท. ทำความตกลงเพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน และเสนอให้ กกถ. พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
8. สถานศึกษาลักษณะพิเศษ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นสถานศึกษาตัวอย่างหรือต้นแบบ ที่จัดการศึกษาระดับภาค ระดับจังหวัด หรือระดับเขตพื้นที่การศึกษา เช่น โรงเรียนในฝัน ซึ่งเป็นนโยบายเฉพาะของรัฐบาล ให้เป็นไปตามคำนิยามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยทั้งนี้ให้เป็นไปตามความตกลงเป็นกรณี ๆ ไป สำหรับสถานศึกษาที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ (สมศ.) ที่ยังขาดความพร้อมด้านบุคลากร หรือขาดระบบบริหารซึ่งต้องพัฒนามาตรฐานและความพร้อม เห็นสมควรถ่ายโอนให้ อปท. รับไปดำเนินการ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า อปท. ที่รับโอนต้องมีแผนการพัฒนาสถานศึกษาที่ชัดเจน และมีการติดตามประเมินผลเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานของ สมศ.ต่อไป
9. ให้มีคณะกรรมการและระบบติดตามและประเมินผลการโอนสถานศึกษาตามแนวทางนี้ และเสนอ กกถ.ต่อไป หากปรากฏว่า การจัดการศึกษามีปัญหาหรือด้อยคุณภาพลง อาจมีการทบทวนการโอนได้เป็นราย ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--