แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า “วัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย” “การกระทำวิปริตทางเพศ” และ “เด็ก” (ร่างมาตรา 3)
2. ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย (ป.ป.อ.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้งไม่เกินห้าคน โดยอย่างน้อยสามคนต้องแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านจิตวิทยา จิตเวช หรืออาชญาวิทยา ทั้งนี้ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นกรรมการและเลขานุการ (ร่างมาตรา 5)
3. ป.ป.อ. มีอำนาจหน้าที่กำหนดแผนงานและมาตรการป้องกันและปราบปราม วางโครงการ เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกำหนดให้สถานที่ซึ่งในการประกอบธุรกิจใด ๆ อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย (ร่างมาตรา 10)
4. กำหนดให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ เป็นฝ่ายเลขานุการของ ป.ป.อ. และมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในฐานะหน่วยงานปฏิบัติของ ป.ป.อ. (ร่างมาตรา 12)
5. ผู้ใดเจตนาทำ ผลิต ทำสำเนา หรือก่อให้มีการทำวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเป็นการกระทำโดยมีภาพหรือเสียงของเด็กที่มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปี ต้องระวางโทษหนักขึ้น แต่หากเป็นการกระทำเพื่อการศึกษา การทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ หรือเพื่อประโยชน์ทางราชการ ไม่ถือว่าเป็นความผิด ทั้งนี้ ถ้าการกระทำดังกล่าวประสงค์เพื่อการค้า นำเข้าหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือทำให้แพร่หลายต่อสาธารณชน ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง ถ้ากระทำต่อเด็กหรือใช้เด็กให้เป็นผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษเป็นสองเท่า (ร่างมาตรา 13 และร่างมาตรา 14)
6. เงินค่าปรับและเงินที่ริบตามพระราชบัญญัตินี้ให้ตกเป็นของกองทุนคุ้มครองเด็กร้อยละหกสิบ และตกเป็นของกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมร้อยละสี่สิบ (ร่างมาตรา 20)
7. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน สถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำความผิด เพื่อตรวจค้น ยึด หรืออายัดวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย หรือวัตถุหรือสิ่งลามก หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด (ร่างมาตรา 23)
8. บรรดาวัตถุหรือสิ่งลามก หรือวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย รวมทั้งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่อง หรือได้ใช้ หรือได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าว ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีคำขอหรือจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ (ร่างมาตรา 27)
9. กรณีที่ศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และหากผู้นั้นประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นต่อไป อาจจะกระทำผิดเช่นนั้นอีก เมื่อศาลเห็นสมควรหรือพนักงานอัยการมีคำขอศาลจะสั่งห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้ (ร่างมาตรา 29)
10. ให้ถือว่าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ร่างมาตรา 30)
11. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 31)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า “วัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย” “การกระทำวิปริตทางเพศ” และ “เด็ก” (ร่างมาตรา 3)
2. ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย (ป.ป.อ.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้งไม่เกินห้าคน โดยอย่างน้อยสามคนต้องแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านจิตวิทยา จิตเวช หรืออาชญาวิทยา ทั้งนี้ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นกรรมการและเลขานุการ (ร่างมาตรา 5)
3. ป.ป.อ. มีอำนาจหน้าที่กำหนดแผนงานและมาตรการป้องกันและปราบปราม วางโครงการ เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกำหนดให้สถานที่ซึ่งในการประกอบธุรกิจใด ๆ อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย (ร่างมาตรา 10)
4. กำหนดให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ เป็นฝ่ายเลขานุการของ ป.ป.อ. และมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในฐานะหน่วยงานปฏิบัติของ ป.ป.อ. (ร่างมาตรา 12)
5. ผู้ใดเจตนาทำ ผลิต ทำสำเนา หรือก่อให้มีการทำวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเป็นการกระทำโดยมีภาพหรือเสียงของเด็กที่มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปี ต้องระวางโทษหนักขึ้น แต่หากเป็นการกระทำเพื่อการศึกษา การทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ หรือเพื่อประโยชน์ทางราชการ ไม่ถือว่าเป็นความผิด ทั้งนี้ ถ้าการกระทำดังกล่าวประสงค์เพื่อการค้า นำเข้าหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือทำให้แพร่หลายต่อสาธารณชน ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง ถ้ากระทำต่อเด็กหรือใช้เด็กให้เป็นผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษเป็นสองเท่า (ร่างมาตรา 13 และร่างมาตรา 14)
6. เงินค่าปรับและเงินที่ริบตามพระราชบัญญัตินี้ให้ตกเป็นของกองทุนคุ้มครองเด็กร้อยละหกสิบ และตกเป็นของกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมร้อยละสี่สิบ (ร่างมาตรา 20)
7. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน สถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำความผิด เพื่อตรวจค้น ยึด หรืออายัดวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย หรือวัตถุหรือสิ่งลามก หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด (ร่างมาตรา 23)
8. บรรดาวัตถุหรือสิ่งลามก หรือวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย รวมทั้งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่อง หรือได้ใช้ หรือได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าว ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีคำขอหรือจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ (ร่างมาตรา 27)
9. กรณีที่ศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และหากผู้นั้นประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นต่อไป อาจจะกระทำผิดเช่นนั้นอีก เมื่อศาลเห็นสมควรหรือพนักงานอัยการมีคำขอศาลจะสั่งห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้ (ร่างมาตรา 29)
10. ให้ถือว่าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ร่างมาตรา 30)
11. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 31)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--