ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม พ.ศ. ....

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 21, 2010 09:25 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

ข้อเท็จจริง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า เนื่องจากได้มีการระบาดของโรค Infectious Myonecrosis (IMN) ในกุ้งขาวที่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทำให้ผลผลิตกุ้งในปี 2552 ลดลงอย่างมาก และจากข้อมูลขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) พบว่ามีการระบาดไปยังกุ้งทะเลอื่น ๆ และอาจแพร่ระบาดมายังประเทศไทย ซึ่งมีอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลมูลค่านับแสนล้านบาทต่อปี และ OIE ได้ขึ้นบัญชีโรคระบาดดังกล่าวไว้แล้ว สมควรกำหนดมาตรการในการควบคุมโรคระบาดดังกล่าว รวมทั้งโรคระบาดในสัตว์น้ำที่ OIE ได้ขึ้นบัญชีโรคระบาดไว้แล้วแต่ยังไม่มีมาตรการในการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรครวมทั้งโรค IMN จำนวน 9 โรค คือ โรคไอเอ็มเอ็น (IMN disease) โรคไอเอสเอ (ISA disease) โรคไจโรแดคไทโรซีส (Gyrodactylosis disease) โรคซีโนฮาลิโอทิส (Xenohaliotis disease) โรคอบาโลนเฮอพีสไลค์ไวรัส (abalone herpes-like virus disease) โรคเอ็นเอชพีบี (NHPB disease) โรคหางขาว (white tail disease) โรคซิททริดฟังกัส (chytrid fungus disease) โรครานาไวรัส (ranavirus disease) ประกอบกับได้มีการกำหนดโรคอื่นเป็นโรคระบาดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 รวมจำนวน 55 โรค สมควรปรับปรุงแก้ไขชื่อโรคระบาดสัตว์ที่กำหนดไว้เดิมและที่กำหนดขึ้นใหม่นำมารวมเป็น ฉบับเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบอ้างอิงของพนักงานเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไป

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม พ.ศ.2547 (ร่างข้อ 1)

2. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 (ร่างข้อ 2)

3. ให้เพิ่มโรคดังต่อไปนี้เป็นโรคระบาดสัตว์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 (ร่างข้อ 3)

3.1 กาฬโรคเป็ด (duck plaque หรือ duck virus enteritis) 3.2 กาฬโรคแอฟริกาในม้า (African horse sickness) 3.3 โรคไข้หวัดนก (bird flu หรือ avian influenza) 3.4 โรคไข้หวัดใหญ่ม้า (เหตุไวรัสไทป์เอ) (equine influenza (virus type A)) 3.5 โรคไข้เห็บม้า (equine piroplasmosis) 3.6 โรคเคเอชวี (KHV disease หรือ koi herpesvirus disease) 3.7 โรคเครฟิชเพลก (crayfish plague) 3.8 โรคไจโรแดคไทโรซีส (Gyrodactylosis disease หรือ Gyrodactylus salaris disease) 3.9 โรคเซปทิซีเมียคิวทาเนียสอัลเซอเรทิฟ (septicaemia cutaneous) 3.10 โรคแซลโมเนลลา (Salmonellosis) 3.11 โรคซิททริดฟังกัส (Chytrid fungus disease หรือ Batrachochytrium Dendrobatidis disease) 3.12 โรคซีโนฮาลิโอทิส (Xenohaliotis disease หรือ Xenlhaliotis californiensis disease) 3.13 โรคดูรีน (dourine) 3.14 โรคตัวแดงดวงขาว (white spot disease) 3.15 โรคท้องเสียเรื้อรัง (paratuberculosis) 3.16 โรคทริคิ เนลลา (trichinosis) 3.17 โรคทีเอส (TS หรือ Taura syndrome) 3.18 โรคเททระฮีดรัลแบคูโลไวรัส (tetrahedral baculovirosis) 3.19 โรคนิวคาสเซิล (Newcastle discase) 3.20 โรคโนดาไวรัส (nodavirus disase) 3.21 โรคบูรเซลลา (brucellosis) 3.22 โรคบีเคดี (BKD หรือ bacterial kidey disease) 3.23 โรคโบนาเมีย (bonamiosis) 3.24 โรคปากอักเสบพุพอง (vesicular stomatitis) 3.25 โรคฝีดาษจระเข้ (poxvirus in crocodile) 3.26 โรคฝีดาษม้า (horse pox) 3.27 โรคพิษสุนัขบ้า (rabies) 3.28 โรคพิษสุนัชบ้าเทียม (Aujeszky’s disease) 3.29 โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS หรือ porcine reproductive and respiratory syndrome) 3.30 โรคเพอร์คินซัส (perkinsosis) 3.31 โรคโพรงจมูกและปอดอักเสบในม้า (equine rhinopneumonitis) 3.32 โรคมดลูกอักเสบติดต่อในม้า (contagious equine metritis) 3.33 โรคมาร์ทีเลีย (marteiliosis) 3.34 โรคไมโครไซทอส (mikroytosis) 3.35 โรครานาไวรัส (ranavirus disease) 3.36 โรคเรื้อนม้า (horse mange) 3.37 โรคเลปโทสไปรา (leptospirosis) 3.38 โรคโลหิตจางติดเชื้อในม้า (equine infectious anaemia) 3.39 โรควัวบ้า (mad cow disease หรือ bovine spongiform encephalopathy) 3.40 โรควีเอชเอส (VHS หรือ viral haemorrhagic septicaemia) 3.41 โรคสเตรปโทคอกคัสในสัตว์น้ำ (streptococcosis in aquatic animal) 3.42 โรคสมองและไขสันหลังอักเสบในม้า (equine encephalomyelitis) 3.43 โรคสมองและไขสันหลังอักเสบเวเนซูเอลาในม้า (Venezulan equine encephalomyelitis) 3.44 โรคสมองอักเสบญี่ปุ่น (Japanese encephalitis) 3.45 โรคสมองอักเสบนิปาห์ (Nipah encephalitis) 3.46 โรคหางขาว (white tail disease หรือ Macrobrachium rosenbergii nodavirus disease หรือ MrNV disease) 3.47 โรคหลอดเลือดแดงอักเสบติดเชื้อในม้า (infectious rteritis of horse) 3.48 โรคหัวเหลือง (yellowhead disease) 3.49 โรคอบาโลนเฮอพีสไลค์ไวรัส (abalone herpes-like virus disease) 3.50 โรคอาร์เอสไอวี (RSIV disease หรือ Red Sea bream iridoviral disease) 3.51 โรคอียูเอส (EUS หรือ epizootic ulcerative syndrome) 3.52 โรคอีเอชเอ็นวี (EHNV disease หรือ eqizootic haematopoietic necrosis virus disease) 3.53 โรคเอชพีวี (HPV disease หรือ hepatopancreatic parvovirus disease) 3.54 โรคเอ็นเอชพีบี (NHPB disease หรือ necrotizing hepatopancreatitis bacterium disease) 3.55 โรคเอ็มบีวี (MBV disease หรือ Penaeus monodon-type baculovirus disease) 3.56 โรคเอ็มเอสเอกซ์ (MSX disease หรือ multinucleate sphere x disease) 3.57 โรคเอสวีซีวี (SVCV disease หรือ spring viraemaia of carp virus disease) 3.58 โรคโอเอ็มวี (OMV disease หรือ Oncorhynchus masou virus disease) 3.59 โรคไอริโตไวรัส (iridovirus disease) 3.60 โรคไอเอชเอชเอ็นวี (IHHNV disease หรือ infectious hypodermal and haematopoietic necrosis virus disease) 3.61 โรคไอเอชเอ็นวี (IHNV disease หรือ infectious haematopoietic necrosis virus disease) 3.62 โรคไอเอสเอ (ISA disease หรือ infectious salmon anaemia disease) 3.63 โรคไอเอ็มเอ็น (IMN disease หรือ Infectious Myonecrosis disease) 3.64 วัณโรค (tuberculosis)

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 เมษายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ