ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ และดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 21, 2010 15:14 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ และดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงพาณิชย์ มีการปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ โดยปรับเปลี่ยนน้ำหนักจากปี 2551 เป็นปี 2552 ใช้มูลค่าการส่งออก-นำเข้า จากกรมศุลกากรเป็นตัวถ่วงน้ำหนัก และได้มีการปรับปรุงรายการสินค้าที่ใช้คำนวณในปี 2553 คือ ดัชนีราคาส่งออก จำนวน 1,138 รายการ และดัชนีราคานำเข้า จำนวน 909 รายการ เพื่อให้สะท้อนภาวะการค้าของประเทศที่เป็นปัจจุบันแต่ยังคงปีฐาน 2550 = 100

กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ดัชนีราคาส่งออกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของหมวดสินค้าเกษตรกรรม และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สำหรับดัชนีราคานำเข้าลดลงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 0.1 สาเหตุสำคัญจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1. ดัชนีราคาส่งออก

1.1 ดัชนีราคาส่งออกของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2553

ในปี 2550 ดัชนีราคาส่งออกของประเทศ เท่ากับ 100 เดือนกุมภาพันธ์ 2553 เท่ากับ 119.4 และเดือนมกราคม 2553 เท่ากับ 118.3

1.2 การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาส่งออกของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2553 เมื่อเทียบกับ

เดือนมกราคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.9

เดือนกุมภาพันธ์ 2552 สูงขึ้นร้อยละ 12.0

เฉลี่ย (มกราคม-กุมภาพันธ์) 2553 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 สูงขึ้นร้อยละ 11.6

1.3 ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เทียบกับเดือนมกราคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.9 เป็นผลจากการสูงขึ้นของหมวดสินค้าเกษตรกรรม หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงลดลง

สินค้าส่งออกที่ราคาสูงขึ้น

หมวดสินค้าเกษตรกรรม ดัชนีราคาส่งออกสูงขึ้นร้อยละ 0.9 (เดือนมกราคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 4.2) จากการสูงขึ้นของหมวดสินค้ากสิกรรม โดยเฉพาะยางพาราราคายังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามภาวะตลาดโลก นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ใบยาสูบ และสินค้าประมง (ปลาและปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง) มีราคาสูงขึ้นเช่นกัน

หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ดัชนีราคาส่งออกสูงขึ้นร้อยละ 1.3 (เดือนมกราคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.3) สินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องอิเลคทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก

สินค้าส่งออกที่ราคาลดลง

หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ดัชนีราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.4 (เดือนมกราคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 2.4) สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย ผลไม้กระป๋องและแปรรูป

หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ดัชนีราคาส่งออกลดลงร้อยละ 1.9 (เดือนมกราคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 1.4) สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ

1.4 ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ดัชนีราคาส่งออกสูงขึ้นร้อยละ 12.0 จากการสูงขึ้นของทุกหมวด ได้แก่ หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 39.4 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 8.2 หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.2 และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 52.6

1.5 ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเฉลี่ยเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ดัชนีราคาส่งออกสูงขึ้นร้อยละ 11.6 จากการสูงขึ้นของหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 39.3 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 8.1 หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.5 และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 56.0

2. ดัชนีราคานำเข้า

2.1 ดัชนีราคานำเข้าของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2553

ในปี 2550 ดัชนีราคานำเข้าของประเทศ เท่ากับ 100 เดือนกุมภาพันธ์ 2553 เท่ากับ 115.8 และเดือนมกราคม 2553 เท่ากับ 115.9

2.2 การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เมื่อเทียบกับ

                 เดือนมกราคม     2553    ลดลงร้อยละ     0.1
                 เดือนกุมภาพันธ์    2552    สูงขึ้นร้อยละ     11.2

เฉลี่ย (มกราคม-กุมภาพันธ์) 2553 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 สูงขึ้นร้อยละ 10.9

2.3 ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เทียบกับเดือนมกราคม 2553 ลดลงร้อยละ 0.1 (เดือนมกราคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.3) เป็นผลจากการลดลงของหมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 0.9 ขณะที่หมวดสินค้าทุน และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.1 และร้อยละ 0.7 สำหรับหมวดสินค้าวัตถุดิบและ กึ่งสำเร็จรูป และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งไม่เปลี่ยนแปลง

สินค้านำเข้าที่ราคาลดลง

หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.9 (เดือนมกราคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 1.2) เป็นผลจากการลดลงของราคาน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม

สินค้านำเข้าที่ราคาสูงขึ้น

หมวดสินค้าทุน ดัชนีราคานำเข้าสูงขึ้นร้อยละ 0.1 (เดือนมกราคม 2553 ไม่เปลี่ยนแปลง) สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์

หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ดัชนีราคานำเข้าสูงขึ้นร้อยละ 0.7 (เดือนมกราคม 2553 ลดลงร้อยละ 0.1) สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์นม วิตามิน ของใช้เบ็ดเตล็ด และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

2.4 ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ดัชนีราคานำเข้าสูงขึ้นร้อยละ 11.2 ปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นในหมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นมากถึงร้อยละ 43.3 หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง หมวดสินค้าทุน หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นร้อยละ 4.9 ร้อยละ 3.3 ร้อยละ 2.7 และร้อยละ 1.0

2.5 ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเฉลี่ยเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ดัชนีราคานำเข้าสูงขึ้นร้อยละ 10.9 จากการสูงขึ้นของหมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 42.0 หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 2.4 หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 3.0 หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.2 และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 4.3

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 เมษายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ