สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง วาตภัย และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 เมษายน 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 21, 2010 16:30 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ ภัยแล้ง และวาตภัยที่เกิดขึ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 19 เมษายน 2553) สรุปสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 — 19 เมษายน 2553)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 60 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัยอุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสตูล รวม 463 อำเภอ 3,005 ตำบล 24,248 หมู่บ้าน แยกเป็น

ข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 (ณ วันที่ 19 เมษายน 2553)

ที่                         พื้นที่ประสบภัย                                                       ราษฎรประสบภัย
   ภาค       จังหวัด     อำเภอ     ตำบล      หมู่บ้าน     รายชื่อจังหวัด                           คน      ครัวเรือน
1  เหนือ         17       155      916      7,729     กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่     1,761,244      562,210
                                                     ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา
                                                     พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่
                                                     แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย
                                                     อุตรดิตถ์ อุทัยธานี
2  ตะวันออก      19       200    1,482     12,974     กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม     4,455,811    1,169,237
   เฉียงเหนือ                                          นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม
                                                     มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย
                                                     ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย
                                                     หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี
                                                     อำนาจเจริญ
3  กลาง          9        37      223      1,404     กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม            440,975       79,760
                                                     ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี
                                                     ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี
4  ตะวันออก       7        36      191      1,072     จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก    545,475      104,697
                                                     ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว
5  ใต้            8        35      193      1,069     กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช      217,512       66,957
                                                     ระนอง สตูล สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต
รวมทั้งประเทศ     60       463    3,005     24,248                                   7,421,017    1,982,861

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่ ภาค         จำนวนหมู่บ้าน      22 มี.ค. 2553         29 มี.ค. 2553       5  เม.ย. 2553       19 เม.ย. 2553
                ทั้งหมด          หมู่     + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม      หมู่       + เพิ่ม      หมู่      + เพิ่ม
                              บ้าน     - ลด       บ้าน       - ลด      บ้าน       - ลด      บ้าน      - ลด
1 เหนือ            16,590    6,764       838    9,641       2,877   7,729      -1,912   7,729          0
2 ตะวันออก         33,099    9,739     1,019   12,634       2,895  12,974         340  12,974          0
  เฉียงเหนือ
3 กลาง            11,736    1,180       182    1,380         200   1,404          24   1,404          0
4 ตะวันออก          4,859    1,083        49    1,083           0   1,083           0   1,072        -11
5 ใต้               8,660      938       251    1,060         122   1,073          13   1,069         -4
  รวม             74,944   19,704     2,339   25,798       6,094  24,263      -1,535  24,248        -15

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 กับปี 2552 ในห้วงเวลาเดียวกัน

ที่   ภาค      จำนวนหมู่บ้าน              ข้อมูลปี  2553               ข้อมูลปี  2552             เปรียบเทียบข้อมูลภัย
               ทั้งประเทศ        (ณ วันที่ 19 เมษายน 2553)     (ณ วันที่ 19 เมษายน 2552)       แล้ง ปี 2553 กับปี 2552
                                หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       จำนวน    คิดเป็นร้อยละ
                               ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง      ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง       หมู่บ้าน     ของหมู่บ้านที่
                                ภัยแล้ง        ประเทศ)       ภัยแล้ง      ทั้งประเทศ)      + เพิ่ม/    ประสบภัยแล้ง
                                                                                       - ลด        ปี 2552
1   เหนือ         16,590         7,729          46.59       4,886          29.45       2,843         58.19
2   ตะวันออก      33,099        12,974           39.2      10,274          31.04       2,700         26.28
    เฉียงเหนือ
3   กลาง         11,736         1,404          11.96       1,163           9.91         241         20.72
4   ตะวันออก       4,859         1,072          22.06         831           17.1         241            29
5   ใต้            8,660         1,069          12.34         305           3.52         764        250.49
    รวม          74,944        24,248          32.36      17,459           23.3       6,789         38.89

ปี 2553 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 60 จังหวัด 463 อำเภอ 3,005 ตำบล 24,248 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 36.48 ของหมู่บ้านทั้งหมดในจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 66,493 หมู่บ้าน และร้อยละ 32.36 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน)

เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 53 จังหวัด 484 อำเภอ 2,326 ตำบล 17,459 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 28.72 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 53 จังหวัด ที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 23.30 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน)

ปี 2553 หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง มากกว่า ปี 2552 จำนวน 6,789 หมู่บ้าน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.89

1.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,421,017 คน 1,982,861 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 522,563 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 330,370 ไร่ นาข้าว 63,133 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 129,060 ไร่

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,139 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 233,840,590 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 4,960 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 5,168 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 579,215,236 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 314,329,707 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 177,560,854 บาท (ข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
  • งบอื่น ๆ 87,324,675 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 713 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ 40 จังหวัด โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 248 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 249 เครื่อง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก 183 เครื่อง ภาคใต้ 33 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 17 คัน

6) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 640 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 4,151,000 ลิตร

2. สถานการณ์วาตภัย (ระหว่างวันที่ 16-17 เมษายน 2553)

2.1 พื้นที่ประสบภัย ในช่วงระหว่างวันที่ 16-17 เมษายน 2553 ได้เกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ในหลายพื้นที่ และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ทำให้ได้รับความเสียหายใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวม 5 อำเภอ 9 ตำบล บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายบางส่วน จำนวน 94 หลัง

2.2 การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น และเร่งสำรวจเพื่อให้ความช่วยเหลือ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการฯ ต่อไป

3. สิ่งของพระราชทาน

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้นำหน่วยรถผลิตน้ำดื่มไปบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดอนมดแดง ระหว่างวันที่ 23-29 มีนาคม 2553 และที่ อบต. ดอนมดแดง ระหว่างวันที่ 1-6 เมษายน 2553 รวมจ่ายน้ำให้กับประชาชนทั้งสิ้น จำนวน 982,000 ลิตร พร้อมกันนี้ พลโทนายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ พร้อมคณะเดินทางไปตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหน่วยรถผลิตน้ำดื่ม ที่อำเภอดอนมดแดง

4. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 19 — 24 เมษายน 2553

4.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในช่วงวันที่ 19-21เมษายน 2553 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมแทนที่ ทำให้มีฝนลดลง และอากาศจะร้อนขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 เมษายน 2553 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้อีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกได้

4.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 เมษายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ