แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สำนักงาน ก.พ.
คณะรัฐมนตรี
ก.พ.ร.
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาเห็นว่า ขณะนี้ยังไม่สมควรที่จะปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ทั้งฉบับ แต่ควรปรับปรุงแก้ไขเฉพาะบางมาตราที่มีปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดองค์กรภาครัฐ จึงมีมติให้ปรับปรุงแก้ไขบางมาตรา
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงอำนาจบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
2. กำหนดให้มีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นได้เป็นกรณีพิเศษสำหรับกระทรวงที่ไม่จัดกลุ่มภารกิจ
3. กำหนดให้สามารถมีการมอบอำนาจได้กว้างขวางมากขึ้น และให้มีการมอบอำนาจต่อได้ รวมทั้งให้มีการมอบอำนาจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์บริการร่วมหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย เพื่อให้บริการประชาชนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
4. กำหนดให้จังหวัดเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
5. กำหนดอำนาจหน้าที่ของจังหวัดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. กำหนดให้มีคณะกรรมการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดและให้ความเห็นชอบการจัดทำแผนบริหารราชการของจังหวัด
7. กำหนดให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ทำหน้าที่กำกับการปฏิบัติราชการจังหวัดและอำเภอ รวมทั้งติดตามประเมินผลและเสนอแนะความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของจังหวัดและอำเภอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
8. เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของอำเภอให้ชัดเจน
9. กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2550--จบ--
สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาเห็นว่า ขณะนี้ยังไม่สมควรที่จะปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ทั้งฉบับ แต่ควรปรับปรุงแก้ไขเฉพาะบางมาตราที่มีปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดองค์กรภาครัฐ จึงมีมติให้ปรับปรุงแก้ไขบางมาตรา
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงอำนาจบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
2. กำหนดให้มีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นได้เป็นกรณีพิเศษสำหรับกระทรวงที่ไม่จัดกลุ่มภารกิจ
3. กำหนดให้สามารถมีการมอบอำนาจได้กว้างขวางมากขึ้น และให้มีการมอบอำนาจต่อได้ รวมทั้งให้มีการมอบอำนาจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์บริการร่วมหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย เพื่อให้บริการประชาชนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
4. กำหนดให้จังหวัดเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
5. กำหนดอำนาจหน้าที่ของจังหวัดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. กำหนดให้มีคณะกรรมการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดและให้ความเห็นชอบการจัดทำแผนบริหารราชการของจังหวัด
7. กำหนดให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ทำหน้าที่กำกับการปฏิบัติราชการจังหวัดและอำเภอ รวมทั้งติดตามประเมินผลและเสนอแนะความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของจังหวัดและอำเภอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
8. เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของอำเภอให้ชัดเจน
9. กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2550--จบ--