แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ร่างพระราชบัญญัติ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มีบทบัญญัติบางประการที่เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจการค้าและไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ นอกจากนั้นมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคและศัตรูพืชยังไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันทำให้การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชขาดประสิทธิภาพ นอกจากนั้นในการขนส่งสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศยังมีความจำเป็นต้องทำการตรวจสอบสินค้าส่งออกมิให้ปนเปื้อนจุลินทรีย์หรือสิ่งที่เป็นอันตราย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติม คำนิยามต่าง ๆ ได้แก่ “นำผ่าน” “การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช” “พืชควบคุมเฉพาะ” “ใบรับรองสุขอนามัยพืช” “ใบรับรองสุขอนามัย” (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4)
2. แก้ไขเพิ่มเติมวิธีการประกาศกำหนดสิ่งต้องห้าม หรือสิ่งกำกัด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6)
3. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการนำเข้าหรือนำผ่านสิ่งต้องห้าม หรือสิ่งกำกัดและสิ่งไม่ต้องห้าม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 มาตรา 10 และมาตรา 11)
4. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12 และมาตรา 13)
5. เพิ่มเติมการควบคุมการส่งออกพืชควบคุมเฉพาะ (เพิ่มเติมมาตรา 15 เบญจ)
6. เพิ่มเติมค่าธรรมเนียมใบรับรองที่กำหนดขึ้นใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มีบทบัญญัติบางประการที่เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจการค้าและไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ นอกจากนั้นมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคและศัตรูพืชยังไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันทำให้การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชขาดประสิทธิภาพ นอกจากนั้นในการขนส่งสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศยังมีความจำเป็นต้องทำการตรวจสอบสินค้าส่งออกมิให้ปนเปื้อนจุลินทรีย์หรือสิ่งที่เป็นอันตราย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติม คำนิยามต่าง ๆ ได้แก่ “นำผ่าน” “การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช” “พืชควบคุมเฉพาะ” “ใบรับรองสุขอนามัยพืช” “ใบรับรองสุขอนามัย” (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4)
2. แก้ไขเพิ่มเติมวิธีการประกาศกำหนดสิ่งต้องห้าม หรือสิ่งกำกัด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6)
3. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการนำเข้าหรือนำผ่านสิ่งต้องห้าม หรือสิ่งกำกัดและสิ่งไม่ต้องห้าม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 มาตรา 10 และมาตรา 11)
4. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12 และมาตรา 13)
5. เพิ่มเติมการควบคุมการส่งออกพืชควบคุมเฉพาะ (เพิ่มเติมมาตรา 15 เบญจ)
6. เพิ่มเติมค่าธรรมเนียมใบรับรองที่กำหนดขึ้นใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--