คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่าได้ดำเนินการจัดการประชุมเพื่อหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามมติคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานกรรมการแล้ว ที่ประชุมเห็นชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. .... ในการกำหนด ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติเพื่อเป็นเวทีในการหารือและกำหนดนโยบายด้านการมาตรฐานของประเทศในภาพรวม และให้แก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติ ฯ ให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอหลักการของร่างพระราชบัญญัติ ฯ และจะได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ฯ โดยละเอียดในชั้นการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้งหนึ่ง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงตามมติคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติ องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 6 -11)
2. กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ให้เลขาธิการสำนักงานมอบหมายให้หน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศดำเนินการแทนได้ (ร่างมาตรา 12 — 13)
3. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบและรับรองขอแสดงเครื่องหมายการได้รับใบอนุญาตตามขอบข่ายการตรวจสอบและรับรองที่คณะกรรมการประกาศกำหนดหรือต้องขออนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบและรับรองขอบข่ายการตรวจสอบและรับรองตามที่คณะกรรมการกำหนด (ร่างมาตรา 14 — 16)
4. กำหนดให้คณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการแทนในเรื่องการกำหนดมาตรการในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศอันเนื่องมาจากการใช้มาตรฐาน และกฎระเบียบทางวิชาการของต่างประเทศ การพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแจ้งการประกอบธุรกิจตรวจสอบและรับรอง การอนุญาตการประกอบธุรกิจตรวจสอบและรับรอง และประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการ (ร่างมาตรา 20)
5. กำหนดบทลงโทษของผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบและรับรองที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการแจ้งการเป็นผู้ประกอบธุรกิจการตรวจสอบและรับรอง รวมถึงบทลงโทษต่อผู้ประกอบธุรกิจที่โฆษณากล่าวอ้างเกินความเป็นจริง (ร่างมาตรา 34 -36)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่าได้ดำเนินการจัดการประชุมเพื่อหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามมติคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานกรรมการแล้ว ที่ประชุมเห็นชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. .... ในการกำหนด ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติเพื่อเป็นเวทีในการหารือและกำหนดนโยบายด้านการมาตรฐานของประเทศในภาพรวม และให้แก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติ ฯ ให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอหลักการของร่างพระราชบัญญัติ ฯ และจะได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ฯ โดยละเอียดในชั้นการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้งหนึ่ง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงตามมติคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติ องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 6 -11)
2. กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ให้เลขาธิการสำนักงานมอบหมายให้หน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศดำเนินการแทนได้ (ร่างมาตรา 12 — 13)
3. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบและรับรองขอแสดงเครื่องหมายการได้รับใบอนุญาตตามขอบข่ายการตรวจสอบและรับรองที่คณะกรรมการประกาศกำหนดหรือต้องขออนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบและรับรองขอบข่ายการตรวจสอบและรับรองตามที่คณะกรรมการกำหนด (ร่างมาตรา 14 — 16)
4. กำหนดให้คณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการแทนในเรื่องการกำหนดมาตรการในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศอันเนื่องมาจากการใช้มาตรฐาน และกฎระเบียบทางวิชาการของต่างประเทศ การพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแจ้งการประกอบธุรกิจตรวจสอบและรับรอง การอนุญาตการประกอบธุรกิจตรวจสอบและรับรอง และประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการ (ร่างมาตรา 20)
5. กำหนดบทลงโทษของผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบและรับรองที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการแจ้งการเป็นผู้ประกอบธุรกิจการตรวจสอบและรับรอง รวมถึงบทลงโทษต่อผู้ประกอบธุรกิจที่โฆษณากล่าวอ้างเกินความเป็นจริง (ร่างมาตรา 34 -36)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--