คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาครัฐ พ.ศ. ... ตามที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป โดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีดังนี้
วัตถุประสงค์หลักของกฎหมาย เป็นการส่งเสริมจรรยาบรรณและธรรมาภิบาล ทั้งในระดับหน่วยงานของรัฐและระดับเจ้าหน้าที่ โดยครอบคลุมเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ทุกฝ่าย ได้แก่ คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายระเบียบข้าราชการการเมือง ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาผู้พิพากษา ตุลาการ ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและคณะกรรมการต่าง ๆ ของภาครัฐด้วย ซึ่งให้แต่ละองค์การ/หน่วยงานมีอิสระและความรับผิดชอบในการกำหนดจรรยาบรรณ และข้อกำหนดทางวินัยที่ชัดเจน ทั้งนี้ โดยมีคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติเป็นผู้ให้คำปรึกษา
สาระสำคัญ ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ มีทั้งสิ้น 54 มาตรา โดยแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ
หมวด 1 ธรรมาภิบาลภาครัฐ (มาตรา 5-มาตรา 15) ซึ่งกำหนดหลักการว่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐต้องมีเป้าหมายเพื่อให้ความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ โดยจะต้องใช้วิธีการบริหารจัดการที่ดีภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ศรัทธา และไว้วางใจ
หมวด 2 คณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ (มาตรา 16-มาตรา 28) กำหนดให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสิบสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหา ทั้งนี้ กรรมการอย่างน้อยสามคนแต่ไม่เกินห้าคนต้องทำงานเต็มเวลา โดยมีหน้าที่ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ สะท้อนปัญหาและสภาพความเป็นจริงของพฤติกรรมด้านธรรมาภิบาลและจริยธรรมในภาครัฐ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน มุ่งส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในภารกิจของภาครัฐเพื่อรายงานผลต่อสาธารณชน
หมวด 3 สำนักงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ (มาตรา 29-มาตรา 48) กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยให้มีหน้าที่ศึกษาวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ปัญหาและแนวทางแก้ไข เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาลและจริยธรรมในภาครัฐ รวมทั้งหน้าที่อื่นตามที่จำเป็นต่อการส่งเสริมคุณธรรม จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาลภาครัฐ
บทเฉพาะกาล (มาตรา 49-มาตรา 54)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
วัตถุประสงค์หลักของกฎหมาย เป็นการส่งเสริมจรรยาบรรณและธรรมาภิบาล ทั้งในระดับหน่วยงานของรัฐและระดับเจ้าหน้าที่ โดยครอบคลุมเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ทุกฝ่าย ได้แก่ คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายระเบียบข้าราชการการเมือง ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาผู้พิพากษา ตุลาการ ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและคณะกรรมการต่าง ๆ ของภาครัฐด้วย ซึ่งให้แต่ละองค์การ/หน่วยงานมีอิสระและความรับผิดชอบในการกำหนดจรรยาบรรณ และข้อกำหนดทางวินัยที่ชัดเจน ทั้งนี้ โดยมีคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติเป็นผู้ให้คำปรึกษา
สาระสำคัญ ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ มีทั้งสิ้น 54 มาตรา โดยแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ
หมวด 1 ธรรมาภิบาลภาครัฐ (มาตรา 5-มาตรา 15) ซึ่งกำหนดหลักการว่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐต้องมีเป้าหมายเพื่อให้ความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ โดยจะต้องใช้วิธีการบริหารจัดการที่ดีภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ศรัทธา และไว้วางใจ
หมวด 2 คณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ (มาตรา 16-มาตรา 28) กำหนดให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสิบสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหา ทั้งนี้ กรรมการอย่างน้อยสามคนแต่ไม่เกินห้าคนต้องทำงานเต็มเวลา โดยมีหน้าที่ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ สะท้อนปัญหาและสภาพความเป็นจริงของพฤติกรรมด้านธรรมาภิบาลและจริยธรรมในภาครัฐ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน มุ่งส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในภารกิจของภาครัฐเพื่อรายงานผลต่อสาธารณชน
หมวด 3 สำนักงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ (มาตรา 29-มาตรา 48) กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยให้มีหน้าที่ศึกษาวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ปัญหาและแนวทางแก้ไข เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาลและจริยธรรมในภาครัฐ รวมทั้งหน้าที่อื่นตามที่จำเป็นต่อการส่งเสริมคุณธรรม จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาลภาครัฐ
บทเฉพาะกาล (มาตรา 49-มาตรา 54)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--