คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี) วงเงินลงทุน 922 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินกู้ในประเทศ/ระดมทุน 690 ล้านบาท และเงินรายได้ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 232 ล้านบาท
2. อนุมัติให้ผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 เรื่องแผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศ เพื่อให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลงพื้นท้องทะเลในระยะ 1 กิโลเมตรจากแนวปะการังในบริเวณอ่าวท้องโตนด โดยให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมติดตามดูแลการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าและรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของเกาะสมุย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง โดยเป็นการก่อสร้างเสริมระบบสายส่ง 115 กิโลโวลท์ ด้วยสายเคเบิลใต้น้ำจากสถานีไฟฟ้าขนอมไปยังเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 วงจร ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร
กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ได้ทบทวนโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี) แล้วและมีมติยืนยันตามข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (เดิม)ในส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีความเห็นดังนี้
1. เห็นชอบกับรายงาน IEE ที่ได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในบริเวณอ่าวท้องโตนด ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสมุยและเป็นสถานที่ปลายทางของการวางสายเคเบิลใต้น้ำจากโรงไฟฟ้าขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อไปยังเกาะสมุย โดยให้ กฟภ. ดำเนินการวางสายเคเบิลใต้น้ำในแนวเส้นทางเลือกด้านตะวันออกของแนวสายเคเบิลเดิม มีระยะห่างไม่เกิน 50 เมตร และต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันลดผลกระทบ และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่เสนอในรายงาน IEE และที่สำนักงานฯ กำหนดเพิ่มเติมโดยเคร่งครัดด้วย
2. เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 เรื่องแผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศ ซึ่งได้กำหนดให้เกาะสมุยเป็นเขตเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ/เขตการดูแลของท้องถิ่น ซึ่งเขตดังกล่าวได้กำหนดมาตรการห้ามการขุดร่องน้ำหรือเปลี่ยนแปลงพื้นท้องทะเลในระยะ 1 กิโลเมตร จากแนวปะการัง ดังนั้น การดำเนินโครงการสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะสมุย ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงพื้นท้องทะเลในระยะ 1 กิโลเมตร จากแนวปะการังในบริเวณอ่าวท้องโตนด จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่ง กฟภ. ต้องขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีฯ ก่อนดำเนินโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 เมษายน 2548--จบ--
1. เห็นชอบโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี) วงเงินลงทุน 922 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินกู้ในประเทศ/ระดมทุน 690 ล้านบาท และเงินรายได้ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 232 ล้านบาท
2. อนุมัติให้ผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 เรื่องแผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศ เพื่อให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลงพื้นท้องทะเลในระยะ 1 กิโลเมตรจากแนวปะการังในบริเวณอ่าวท้องโตนด โดยให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมติดตามดูแลการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าและรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของเกาะสมุย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง โดยเป็นการก่อสร้างเสริมระบบสายส่ง 115 กิโลโวลท์ ด้วยสายเคเบิลใต้น้ำจากสถานีไฟฟ้าขนอมไปยังเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 วงจร ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร
กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ได้ทบทวนโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี) แล้วและมีมติยืนยันตามข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (เดิม)ในส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีความเห็นดังนี้
1. เห็นชอบกับรายงาน IEE ที่ได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในบริเวณอ่าวท้องโตนด ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสมุยและเป็นสถานที่ปลายทางของการวางสายเคเบิลใต้น้ำจากโรงไฟฟ้าขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อไปยังเกาะสมุย โดยให้ กฟภ. ดำเนินการวางสายเคเบิลใต้น้ำในแนวเส้นทางเลือกด้านตะวันออกของแนวสายเคเบิลเดิม มีระยะห่างไม่เกิน 50 เมตร และต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันลดผลกระทบ และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่เสนอในรายงาน IEE และที่สำนักงานฯ กำหนดเพิ่มเติมโดยเคร่งครัดด้วย
2. เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 เรื่องแผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศ ซึ่งได้กำหนดให้เกาะสมุยเป็นเขตเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ/เขตการดูแลของท้องถิ่น ซึ่งเขตดังกล่าวได้กำหนดมาตรการห้ามการขุดร่องน้ำหรือเปลี่ยนแปลงพื้นท้องทะเลในระยะ 1 กิโลเมตร จากแนวปะการัง ดังนั้น การดำเนินโครงการสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะสมุย ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงพื้นท้องทะเลในระยะ 1 กิโลเมตร จากแนวปะการังในบริเวณอ่าวท้องโตนด จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่ง กฟภ. ต้องขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีฯ ก่อนดำเนินโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 เมษายน 2548--จบ--