สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 12, 2010 17:09 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2553) สรุปสถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 — 10 พฤษภาคม 2553)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 35 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 4-10 พฤษภาคม 2553) ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก พิจิตร แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี กาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ชุมพร นครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวม 262 อำเภอ 1,783 ตำบล 14,181 หมู่บ้าน แยกเป็น

ข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 4-10 พฤษภาคม 2553)

ที่                         พื้นที่ประสบภัย                                                       ราษฎรประสบภัย
   ภาค       จังหวัด     อำเภอ     ตำบล      หมู่บ้าน     รายชื่อจังหวัด                           คน      ครัวเรือน
1  เหนือ         10        62      387      2,871     เชียงราย เชียงใหม่ ตาก พิจิตร        792,078      249,743
                                                     แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย
                                                     อุตรดิตถ์ อุทัยธานี
2  ตะวันออก      13       139    1,008      9,055     กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครราชสีมา       3,306,375      863,509
   เฉียงเหนือ                                          บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร
                                                     ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ หนองคาย
                                                     หนองบัวลำภู อุดรธานี
3  กลาง          6        26      185      1,199     กาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์       410,573       70,505
                                                     เพชรบุรี  ราชบุรี  ลพบุรี
4  ตะวันออก       3        22      131        607     จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด            424,738       67,228
5  ใต้            3        13       72        449     ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี     118,542       35,049
   รวมทั้งประเทศ  35       262    1,783     14,181                                   5,052,306    1,286,034

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่ ภาค       จำนวนหมู่บ้าน    12-19 เม.ย. 2553    20-26 เม.ย. 2553   27 เม.ย.-3 พ.ค. 2553     4-10 พ.ค. 2553
            ทั้งหมด          หมู่      + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม          หมู่      + เพิ่ม
                           บ้าน      - ลด       บ้าน       - ลด       บ้าน       - ลด         บ้าน       - ลด
1 เหนือ          16,590   7,729         0     6,034     -1,695     3,861     -2,173       2,871       -990
2 ตะวันออก       33,099  12,974         0    12,957        -17    12,225       -732       9,055     -3,170
  เฉียงเหนือ
3 กลาง          11,736   1,404         0     1,363        -41     1,309        -54       1,199       -110
4 ตะวันออก        4,859   1,072       -11     1,072          0     1,072          0         607       -465
5 ใต้             8,660   1,069        -4     1,069          0       842       -227         449       -393
  รวม           74,944  24,248       -15    22,495     -1,753    19,309     -3,186      14,181     -5,128

เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 27 เมษายน 2553-3 พฤษภาคม 2553 ซึ่งมีพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวม 52 จังหวัด 353 อำเภอ 2,388 ตำบล 19,309 หมู่บ้าน) แต่เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนตกทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้พื้นที่ประสบภัยแล้งคลี่คลายลงไป 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ นครพนม สกลนคร สุรินทร์ อุบลราชธานี สระบุรี สุพรรณบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว กระบี่ ตรัง และจังหวัดระนอง และจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ลดลง 5,128 หมู่บ้าน

หมายเหตุ สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ช่วงระยะเวลาที่มีสถานการณ์ภัยแล้งสูงสุดอยู่ในห้วงระหว่างวันที่ 12-19 เมษายน 2553 มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 60 จังหวัด 463 อำเภอ 3,005 ตำบล 24,248 หมู่บ้าน

1.2 ความเสียหาย

  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 1,295,338 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 848,983 ไร่ นาข้าว 116,539 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 329,816 ไร่ โดยมีพื้นที่เกษตรกรเสียหายแล้ว จำนวน 49,956 ไร่ ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ นครพนม และจังหวัดหนองคาย

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,621 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 413,161,894 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 5,210 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 5,707 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 670,017,068 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 373,966,071 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 204,887,223 บาท (ข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
  • งบอื่น ๆ 91,163,774 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 777 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ 46 จังหวัด โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 262 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 249 เครื่อง ภาคกลาง 100 เครื่อง ภาคตะวันออก 84 เครื่อง และภาคใต้ 82 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 33 คัน

6) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 1,548 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 10,881,000 ลิตร

7) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 234 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 1,558,096 ลิตร

2. สิ่งของพระราชทาน

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้นำหน่วยรถผลิตน้ำดื่มไปบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี รวมจ่ายน้ำให้กับประชาชนทั้งสิ้น จำนวน 982,000 ลิตร

3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 10-15 พฤษภาคม 2553

3.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 คลื่นกระแสลมตะวันตกกำลังเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับลมใต้และ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเป็นแห่งๆ ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 พฤษภาคม 2553 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเพิ่มขึ้น

3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 พฤษภาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ