คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์อุทกภัยในภาคเหนือ ว่าตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา ได้มีฝนตกหนักถึงหนักมากทำให้มีน้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งและท่วมในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ น่าน และลำปาง ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. ลุ่มน้ำสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน เกิดน้ำท่วมในเขต อ.ปาย อ.ปางมะผ้า และ อ.เมือง ปัจจุบันระดับน้ำ ลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1 — 2 วันนี้
2. ลุ่มน้ำกก จ.เชียงราย เกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่ อ.พาน อ.แม่สรวย อ.เวียงป่าเป้า แนวโน้มสถานการณ์ปริมาณน้ำในแม่น้ำกก แม่น้ำลาว แม่น้ำอิง มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น โครงการชลประทานจังหวัดเชียงรายได้ประสานกับทางจังหวัด ศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย องค์กรปกครองท้องถิ่น เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
3. ลุ่มน้ำปิง จ.เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมือง อ.พร้าว อ.เชียงดาว และ อ.แม่แตง โดยในตัวเมืองเชียงใหม่มีน้ำท่วมตั้งแต่เวลา 04.00 น. (14 ส.ค.48) ขณะนี้ระดับน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ทั้งนี้ ระดับน้ำของแม่น้ำปิงที่สะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีระดับสูงสุดที่ 4.90 เมตร เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 48 เวลา 18.00 น. และระดับน้ำเริ่มลดลงตั้งแต่เวลา 02.00 น. วันที่ 15 ส.ค. 48 โดยเฉลี่ยลดลงชั่วโมงละ 3 — 4 เซนติเมตร คาดว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับตลิ่งในวันที่ 16 ส.ค. 48 เวลา 15.00 น.
4. ลุ่มน้ำน่าน จ.น่าน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมือง อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ท่าวังผา และ กิ่ง อ.ภูเพียง ระดับน้ำได้ลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว โครงการชลประทานน่านได้ประสานกับทางจังหวัดในการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แจ้งเตือนให้ประชาชนได้รับทราบและเตรียมรับสถานการณ์ รวมทั้งได้เตรียมพร้อมเครื่องมือ ยานพาหนะ เครื่องสูบน้ำและเจ้าหน้าที่ไว้ให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา โดยได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ที่ท่าน้ำ ร.ร.สตรีศรีน่าน
5. ลุ่มน้ำวัง จ.ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.วังเหนือ อ.เมืองปาน และ อ.แจ้ห่ม ระดับน้ำลดลงเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว สำหรับ จ.พะเยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมือง อ.ดอกคำใต้ อ.จุน อ.ปง และ อ.ภูกามยาว ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการ ดังนี้
1. กรมชลประทานโดยโครงการชลประทานจังหวัดได้แจ้งเตือนจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ต่าง ๆ ทราบเป็นการล่วงหน้าประมาณ 1 วัน รวมทั้งได้ประชาสัมพันธ์ ผ่านทางสถานีวิทยุในพื้นที่ เกี่ยวกับปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคาดการณ์ระยะเวลาที่น้ำจะท่วมล้นตลิ่ง ทำให้จังหวัดมีการเตรียมความพร้อม และลดความเสียหายได้ในระดับหนึ่ง
2. กรมชลประทานได้ส่ง รองอธิบดีกรมชลประทาน (นายละเอียด สายน้ำเขียว) รับผิดชอบการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประสานงานการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
3. กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำขนาด 6 — 12 นิ้ว จำนวน 80 เครื่อง ไว้ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนการเร่งระบายน้ำแก้ไขปัญหา
4. จากเหตุการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคเหนือ มีผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญมีปริมาณ เพิ่มขึ้น (วันที่ 11 — 14 สิงหาคม 2548) รวม 459 ล้าน ลบ.ม. คือ เขื่อนภูมิพล 97 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 252 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแม่งัด 52 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนกิ่วลม 34 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนแม่กวง 24 ล้าน ลบ.ม. จากสถานการณ์นี้คาดว่าจะมีน้ำไหลลงอ่างฯ รวม 920 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้เขื่อนดังกล่าวยังสามารถรองรับน้ำที่เพิ่มขึ้นได้โดยไม่มีปัญหา (ขณะนี้น้ำในเขื่อนแต่ละแห่งมีประมาณร้อยละ 30 — 70 ของความจุแต่ละเขื่อน)
5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งสำรวจและรายงานความเสียหาย ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานจากการสำรวจเบื้องต้น (ยังไม่ครบทุกพื้นที่) มีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวม 6 จังหวัด 33 อำเภอ 140 ตำบล พื้นที่การเกษตรประสบภัย 142,805 ไร่ ด้านพืช เกษตรกร 4,243 รายพื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 141,420 ไร่ ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 7,281 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 153,744 ตัว ด้านประมง เกษตรกร 3,246 ราย พื้นที่คาดว่า จะเสียหาย 678 ไร่ 735 บ่อ
6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยด้านการเกษตร ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.moac.go.th
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--
1. ลุ่มน้ำสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน เกิดน้ำท่วมในเขต อ.ปาย อ.ปางมะผ้า และ อ.เมือง ปัจจุบันระดับน้ำ ลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1 — 2 วันนี้
2. ลุ่มน้ำกก จ.เชียงราย เกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่ อ.พาน อ.แม่สรวย อ.เวียงป่าเป้า แนวโน้มสถานการณ์ปริมาณน้ำในแม่น้ำกก แม่น้ำลาว แม่น้ำอิง มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น โครงการชลประทานจังหวัดเชียงรายได้ประสานกับทางจังหวัด ศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย องค์กรปกครองท้องถิ่น เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
3. ลุ่มน้ำปิง จ.เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมือง อ.พร้าว อ.เชียงดาว และ อ.แม่แตง โดยในตัวเมืองเชียงใหม่มีน้ำท่วมตั้งแต่เวลา 04.00 น. (14 ส.ค.48) ขณะนี้ระดับน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ทั้งนี้ ระดับน้ำของแม่น้ำปิงที่สะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีระดับสูงสุดที่ 4.90 เมตร เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 48 เวลา 18.00 น. และระดับน้ำเริ่มลดลงตั้งแต่เวลา 02.00 น. วันที่ 15 ส.ค. 48 โดยเฉลี่ยลดลงชั่วโมงละ 3 — 4 เซนติเมตร คาดว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับตลิ่งในวันที่ 16 ส.ค. 48 เวลา 15.00 น.
4. ลุ่มน้ำน่าน จ.น่าน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมือง อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ท่าวังผา และ กิ่ง อ.ภูเพียง ระดับน้ำได้ลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว โครงการชลประทานน่านได้ประสานกับทางจังหวัดในการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แจ้งเตือนให้ประชาชนได้รับทราบและเตรียมรับสถานการณ์ รวมทั้งได้เตรียมพร้อมเครื่องมือ ยานพาหนะ เครื่องสูบน้ำและเจ้าหน้าที่ไว้ให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา โดยได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ที่ท่าน้ำ ร.ร.สตรีศรีน่าน
5. ลุ่มน้ำวัง จ.ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.วังเหนือ อ.เมืองปาน และ อ.แจ้ห่ม ระดับน้ำลดลงเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว สำหรับ จ.พะเยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมือง อ.ดอกคำใต้ อ.จุน อ.ปง และ อ.ภูกามยาว ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการ ดังนี้
1. กรมชลประทานโดยโครงการชลประทานจังหวัดได้แจ้งเตือนจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ต่าง ๆ ทราบเป็นการล่วงหน้าประมาณ 1 วัน รวมทั้งได้ประชาสัมพันธ์ ผ่านทางสถานีวิทยุในพื้นที่ เกี่ยวกับปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคาดการณ์ระยะเวลาที่น้ำจะท่วมล้นตลิ่ง ทำให้จังหวัดมีการเตรียมความพร้อม และลดความเสียหายได้ในระดับหนึ่ง
2. กรมชลประทานได้ส่ง รองอธิบดีกรมชลประทาน (นายละเอียด สายน้ำเขียว) รับผิดชอบการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประสานงานการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
3. กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำขนาด 6 — 12 นิ้ว จำนวน 80 เครื่อง ไว้ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนการเร่งระบายน้ำแก้ไขปัญหา
4. จากเหตุการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคเหนือ มีผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญมีปริมาณ เพิ่มขึ้น (วันที่ 11 — 14 สิงหาคม 2548) รวม 459 ล้าน ลบ.ม. คือ เขื่อนภูมิพล 97 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 252 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแม่งัด 52 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนกิ่วลม 34 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนแม่กวง 24 ล้าน ลบ.ม. จากสถานการณ์นี้คาดว่าจะมีน้ำไหลลงอ่างฯ รวม 920 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้เขื่อนดังกล่าวยังสามารถรองรับน้ำที่เพิ่มขึ้นได้โดยไม่มีปัญหา (ขณะนี้น้ำในเขื่อนแต่ละแห่งมีประมาณร้อยละ 30 — 70 ของความจุแต่ละเขื่อน)
5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งสำรวจและรายงานความเสียหาย ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานจากการสำรวจเบื้องต้น (ยังไม่ครบทุกพื้นที่) มีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวม 6 จังหวัด 33 อำเภอ 140 ตำบล พื้นที่การเกษตรประสบภัย 142,805 ไร่ ด้านพืช เกษตรกร 4,243 รายพื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 141,420 ไร่ ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 7,281 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 153,744 ตัว ด้านประมง เกษตรกร 3,246 ราย พื้นที่คาดว่า จะเสียหาย 678 ไร่ 735 บ่อ
6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยด้านการเกษตร ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.moac.go.th
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--