คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอว่า เนื่องจากศาลยุติธรรมได้ดำเนินการจัดตั้งศาลจังหวัดเพิ่มขึ้นและต้องจัดให้มีผู้พิพากษานั่งพิจารณาพิพากษาคดีครบองค์คณะ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 17 วรรคสอง บัญญัติให้การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี เป็นเหตุให้อัตรากำลังผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นมีไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณคดีในศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ประกอบกับมาตรา 98/1 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลที่บัญญัติขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นใกล้จะสิ้นผลบังคับแล้ว จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการกำหนดให้สามารถแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และต้องผ่านการประเมินผลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต. กำหนด เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นในระยะยาว จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้สามารถแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และต้องผ่านการประเมินผลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต. กำหนดได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2550--จบ--
สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอว่า เนื่องจากศาลยุติธรรมได้ดำเนินการจัดตั้งศาลจังหวัดเพิ่มขึ้นและต้องจัดให้มีผู้พิพากษานั่งพิจารณาพิพากษาคดีครบองค์คณะ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 17 วรรคสอง บัญญัติให้การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี เป็นเหตุให้อัตรากำลังผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นมีไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณคดีในศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ประกอบกับมาตรา 98/1 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลที่บัญญัติขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นใกล้จะสิ้นผลบังคับแล้ว จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการกำหนดให้สามารถแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และต้องผ่านการประเมินผลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต. กำหนด เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นในระยะยาว จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้สามารถแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และต้องผ่านการประเมินผลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต. กำหนดได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2550--จบ--