แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงแรงงาน
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงาน ไปทำที่บ้าน พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอรัฐมนตรี คณะที่ 2 ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. ในปัจจุบันสภาวการณ์การจ้างงานในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไป โดยสถานประกอบการหลายแห่งได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายการผลิตในบางขั้นตอนออกไปดำเนินการนอกโรงงานเป็นการผลิตตามบ้านเรือนส่วนบุคคลแทน หรือที่เรียกกันว่า “งานที่รับไปทำที่บ้าน” (home work) เป็นการลดภาระความรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับแรงงานในระบบได้มาก
2. “งานที่รับไปทำที่บ้าน” (home work) เป็นการจ้างงานนอกระบบ (informal sector) รูปแบบหนึ่ง กล่าวคือ ผู้รับงานไปทำที่บ้านสามารถเลือกเวลาและสถานที่ทำงานได้ด้วยตนเอง การทำงานไม่อยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของผู้จ้างงาน จึงทำให้ความสัมพันธ์ของผู้รับงานไปทำที่บ้านกับผู้จ้างงาน ไม่มีนิติสัมพันธ์ในฐานะของลูกจ้าง และนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เมื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านกับผู้จ้างงานไม่มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะของลูกจ้างและนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ผู้รับงานไปทำที่บ้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แม้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 ได้บัญญัติให้มีการคุ้มครองงานที่รับไปทำที่บ้านโดยออกเป็นกฎกระทรวง แต่กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 ซึ่งออกตามความในมาตราดังกล่าวก็มีผลใช้บังคับเฉพาะในงานที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านและผู้จ้างงานมีฐานะ หรือมีนิติสัมพันธ์กันในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เท่านั้น และจนกระทั่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีกฎหมายใดที่กำหนดให้ความคุ้มครองแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านไว้เลย
3. การที่รัฐไม่สามารถให้ความคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ส่งผลที่กระทบต่อผู้รับงานไปทำที่บ้านเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ทำให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่อาจได้รับโอกาสในการดูแลจากหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นด้านสวัสดิการ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน การได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานที่เป็นธรรม จึงสมควรมีกฎหมายให้ความคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยกำหนดหน้าที่ของผู้จ้างงานต่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้รับความเป็นธรรมจากการทำงาน รวมทั้งให้ส่วนราชการ พนักงานตรวจแรงงานสามารถเข้าไปตรวจตรา ดูแลในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคำนิยามศัพท์ (ร่างมาตรา 4)
2. กำหนดให้ผู้จ้างงานต้องจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยต่อการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดให้แก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ร่างมาตรา 8)
3. ห้ามมิให้ผู้จ้างงานเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน เว้นแต่ประเภท ปริมาณ หรือมูลค่าของงานที่ทำนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้จ้างงานได้ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 11)
4. ให้ผู้จ้างงานจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านในขณะที่รับมอบงานหรือตามกำหนดที่ตกลงกัน แต่ไม่เกินสามวันนับแต่วันที่รับมอบงานที่ทำ (ร่างมาตรา 15)
5. ห้ามมิให้ผู้จ้างงานหักค่าจ้าง เว้นแต่กรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร่างมาตรา 16)
6. ห้ามมิให้ผู้จ้างงานส่งมอบงานที่เป็นอันตราย เช่น งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย งานเกี่ยวกับวัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เป็นต้น ให้แก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ร่างมาตรา 18)
7. กรณีที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือถึงแต่ความตาย เนื่องจากการทำงานที่ผู้จ้างงานส่งมอบให้ทำ อันมิใช่เป็นการจูงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ให้ผู้จ้างงานเป็นผู้รับผิดชอบในค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 19)
8. กรณีผู้จ้างงานฝ่าฝืนข้อ 8 ผู้รับงานไปทำที่บ้านหรือทายาทมีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการและนำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ (ร่างมาตรการ 20)
9. กำหนดให้มีคณะกรรมการรับงานไปทำที่บ้านซึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน และผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่เสนอรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้านรวมทั้งให้ความเห็นในการออกกฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้าน (ร่างมาตรการ 24 — 25)
10. กรณีที่ผู้จ้างงานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิการได้รับเงินตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับงานไปทำที่บ้านมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ (ร่างมาตรา 33)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. ในปัจจุบันสภาวการณ์การจ้างงานในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไป โดยสถานประกอบการหลายแห่งได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายการผลิตในบางขั้นตอนออกไปดำเนินการนอกโรงงานเป็นการผลิตตามบ้านเรือนส่วนบุคคลแทน หรือที่เรียกกันว่า “งานที่รับไปทำที่บ้าน” (home work) เป็นการลดภาระความรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับแรงงานในระบบได้มาก
2. “งานที่รับไปทำที่บ้าน” (home work) เป็นการจ้างงานนอกระบบ (informal sector) รูปแบบหนึ่ง กล่าวคือ ผู้รับงานไปทำที่บ้านสามารถเลือกเวลาและสถานที่ทำงานได้ด้วยตนเอง การทำงานไม่อยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของผู้จ้างงาน จึงทำให้ความสัมพันธ์ของผู้รับงานไปทำที่บ้านกับผู้จ้างงาน ไม่มีนิติสัมพันธ์ในฐานะของลูกจ้าง และนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เมื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านกับผู้จ้างงานไม่มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะของลูกจ้างและนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ผู้รับงานไปทำที่บ้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แม้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 ได้บัญญัติให้มีการคุ้มครองงานที่รับไปทำที่บ้านโดยออกเป็นกฎกระทรวง แต่กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 ซึ่งออกตามความในมาตราดังกล่าวก็มีผลใช้บังคับเฉพาะในงานที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านและผู้จ้างงานมีฐานะ หรือมีนิติสัมพันธ์กันในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เท่านั้น และจนกระทั่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีกฎหมายใดที่กำหนดให้ความคุ้มครองแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านไว้เลย
3. การที่รัฐไม่สามารถให้ความคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ส่งผลที่กระทบต่อผู้รับงานไปทำที่บ้านเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ทำให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่อาจได้รับโอกาสในการดูแลจากหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นด้านสวัสดิการ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน การได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานที่เป็นธรรม จึงสมควรมีกฎหมายให้ความคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยกำหนดหน้าที่ของผู้จ้างงานต่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้รับความเป็นธรรมจากการทำงาน รวมทั้งให้ส่วนราชการ พนักงานตรวจแรงงานสามารถเข้าไปตรวจตรา ดูแลในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคำนิยามศัพท์ (ร่างมาตรา 4)
2. กำหนดให้ผู้จ้างงานต้องจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยต่อการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดให้แก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ร่างมาตรา 8)
3. ห้ามมิให้ผู้จ้างงานเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน เว้นแต่ประเภท ปริมาณ หรือมูลค่าของงานที่ทำนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้จ้างงานได้ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 11)
4. ให้ผู้จ้างงานจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านในขณะที่รับมอบงานหรือตามกำหนดที่ตกลงกัน แต่ไม่เกินสามวันนับแต่วันที่รับมอบงานที่ทำ (ร่างมาตรา 15)
5. ห้ามมิให้ผู้จ้างงานหักค่าจ้าง เว้นแต่กรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร่างมาตรา 16)
6. ห้ามมิให้ผู้จ้างงานส่งมอบงานที่เป็นอันตราย เช่น งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย งานเกี่ยวกับวัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เป็นต้น ให้แก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ร่างมาตรา 18)
7. กรณีที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือถึงแต่ความตาย เนื่องจากการทำงานที่ผู้จ้างงานส่งมอบให้ทำ อันมิใช่เป็นการจูงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ให้ผู้จ้างงานเป็นผู้รับผิดชอบในค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 19)
8. กรณีผู้จ้างงานฝ่าฝืนข้อ 8 ผู้รับงานไปทำที่บ้านหรือทายาทมีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการและนำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ (ร่างมาตรการ 20)
9. กำหนดให้มีคณะกรรมการรับงานไปทำที่บ้านซึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน และผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่เสนอรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้านรวมทั้งให้ความเห็นในการออกกฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้าน (ร่างมาตรการ 24 — 25)
10. กรณีที่ผู้จ้างงานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิการได้รับเงินตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับงานไปทำที่บ้านมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ (ร่างมาตรา 33)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--