คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ สรุปได้ดังนี้
มาตรการสนับสนุนของกระทรวงแรงงาน
1. มาตรการจัดหาแรงงานสนับสนุนสถานประกอบการ โดยกรมการจัดหางาน
1.1 การดำเนินการจัดหาแรงงานไทย เป็นการสำรวจความต้องการจ้างแรงงานของนายจ้าง และสถานประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และดำเนินการประกาศรับสมัครงานทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดส่งบุคคลที่ประสงค์จะไปทำงานในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามตำแหน่งงานว่างให้สถานประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1.2 การดำเนินการจัดหาแรงงานต่างด้าว (3 สัญชาติ : พม่า ลาว กัมพูชา) จัดสรรโควต้าแรงงานต่างด้าวให้นายจ้าง/สถานประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว ทั้งนายจ้างรายใหม่ หรือนายจ้างที่ได้รับโควต้าแล้ว แต่มีความประสงค์จะจ้างเพิ่มเติมจากโควต้าที่ได้รับ ส่วนแรงงานต่างด้าวกระทรวงแรงงานจะพิจารณาให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่รายงานตัวและจัดทำทะเบียนขออนุญาตทำงานกับนายจ้างที่ได้รับจัดสรรโควต้า ส่วนการอนุญาตเปลี่ยนนายจ้างให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด แต่อนุญาตเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับค่ายื่นคำขออนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวเป็นผู้จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
2. มาตรการสร้างหลักประกันทางสังคมแก่แรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม
โครงการช่วยเหลือสถานประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้กับสถานประกอบการ โดยสำนักงานประกันสังคมจะสนับสนุนเงินฝากกับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการในวงเงิน 400 ล้านบาท จัดสรรให้จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จังหวัดละ 100 ล้านบาท จังหวัดสตูล และสงขลา (4 อำเภอ คือ อ.จะนะ อ.นาทวี อ.สะบ้าย้อย และ อ.เทพา) จังหวัดละ 50 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ต่ำกว่าตลาดเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับ
สำนักงานประกันสังคม และมีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกำหนด
3. มาตรการสร้างงานและจ้างงานเร่งด่วนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2550 โดยกรมการจัดหางาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
โครงการสร้างงานและจ้างแรงงานเร่งด่วนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2550 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รับอนุมัติงบกลางในการดำเนินการโครงการดังกล่าว โดยได้กำหนดกรอบอัตราการจ้างงาน ซึ่งกรมการจัดหางาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมรับผิดชอบ ในกลุ่มภารกิจที่ 4 กลุ่มภารกิจฝึกทักษะอาชีพตามความต้องการของประชาชนและโอกาสการมีงานทำจากผู้ประกอบการภาคเอกชน จำนวน 1,500 อัตรา
4. มาตรการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการด้านแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีภารกิจสำคัญในการ คุ้มครองแรงงาน การส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ ส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการทำงาน และส่งเสริมและให้บริการสวัสดิการแรงงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มกราคม 2550--จบ--
มาตรการสนับสนุนของกระทรวงแรงงาน
1. มาตรการจัดหาแรงงานสนับสนุนสถานประกอบการ โดยกรมการจัดหางาน
1.1 การดำเนินการจัดหาแรงงานไทย เป็นการสำรวจความต้องการจ้างแรงงานของนายจ้าง และสถานประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และดำเนินการประกาศรับสมัครงานทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดส่งบุคคลที่ประสงค์จะไปทำงานในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามตำแหน่งงานว่างให้สถานประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1.2 การดำเนินการจัดหาแรงงานต่างด้าว (3 สัญชาติ : พม่า ลาว กัมพูชา) จัดสรรโควต้าแรงงานต่างด้าวให้นายจ้าง/สถานประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว ทั้งนายจ้างรายใหม่ หรือนายจ้างที่ได้รับโควต้าแล้ว แต่มีความประสงค์จะจ้างเพิ่มเติมจากโควต้าที่ได้รับ ส่วนแรงงานต่างด้าวกระทรวงแรงงานจะพิจารณาให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่รายงานตัวและจัดทำทะเบียนขออนุญาตทำงานกับนายจ้างที่ได้รับจัดสรรโควต้า ส่วนการอนุญาตเปลี่ยนนายจ้างให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด แต่อนุญาตเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับค่ายื่นคำขออนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวเป็นผู้จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
2. มาตรการสร้างหลักประกันทางสังคมแก่แรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม
โครงการช่วยเหลือสถานประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้กับสถานประกอบการ โดยสำนักงานประกันสังคมจะสนับสนุนเงินฝากกับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการในวงเงิน 400 ล้านบาท จัดสรรให้จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จังหวัดละ 100 ล้านบาท จังหวัดสตูล และสงขลา (4 อำเภอ คือ อ.จะนะ อ.นาทวี อ.สะบ้าย้อย และ อ.เทพา) จังหวัดละ 50 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ต่ำกว่าตลาดเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับ
สำนักงานประกันสังคม และมีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกำหนด
3. มาตรการสร้างงานและจ้างงานเร่งด่วนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2550 โดยกรมการจัดหางาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
โครงการสร้างงานและจ้างแรงงานเร่งด่วนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2550 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รับอนุมัติงบกลางในการดำเนินการโครงการดังกล่าว โดยได้กำหนดกรอบอัตราการจ้างงาน ซึ่งกรมการจัดหางาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมรับผิดชอบ ในกลุ่มภารกิจที่ 4 กลุ่มภารกิจฝึกทักษะอาชีพตามความต้องการของประชาชนและโอกาสการมีงานทำจากผู้ประกอบการภาคเอกชน จำนวน 1,500 อัตรา
4. มาตรการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการด้านแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีภารกิจสำคัญในการ คุ้มครองแรงงาน การส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ ส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการทำงาน และส่งเสริมและให้บริการสวัสดิการแรงงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มกราคม 2550--จบ--