เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า
1. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับความรับผิดของเด็กทางอาญา เพื่อเป็นการปกป้องและคุ้มครองเด็กและให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี รวมทั้งให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534
2. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับบทสันนิษฐานความเป็นบุตร และอำนาจปกครองผู้เยาว์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รวม 2 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขเกณฑ์อายุขั้นสูงของเด็กในการพิจารณาใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยโดยกักกันตามมาตรา 41 หรือเรียกประกันทัณฑ์บนตามมาตรา 46 (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 41 และร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 46)
2. ขยายเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการรับผิดทางอาญาของเด็กให้เด็กที่มีอายุไม่เกิน 12 ปียังไม่ต้องรับผิดทางอาญา (ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 73)
3. แก้ไขเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการพิจารณาเพื่อใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จากอายุ “กว่า 7 ปี” เป็น “กว่า 12 ปี” และแก้ไขเพิ่มเกณฑ์อายุขั้นสูงในการพิจารณาเพื่อใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จากอายุ “ไม่เกิน 14 ปี” เป็น “ไม่เกิน 15 ปี”(ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 74 วรรคหนึ่ง)
4. แก้ไขเพิ่มเติมเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการรับผิดทางอาญาของบุคคล จากอายุ “กว่า 14 ปี” เป็น “กว่า 15 ปี” และแก้ไขเพิ่มเกณฑ์อายุขั้นสูงในการรับผิดทางอาญาของบุคคลจากอายุ “ไม่เกิน 17 ปี” เป็น “ไม่เกิน 18 ปี” (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 75)
5. เพิ่มเกณฑ์อายุขั้นสูงในการพิจารณาลดมาตราส่วนโทษของบุคคลจากอายุ “กว่า 17 ปี เป็น “กว่า 18 ปี” (ร่างมาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 76)
6. แก้ไขเกณฑ์อายุขั้นสูงของเด็กในการนำการกระทำในครั้งก่อนหรือครั้งหลังมาเป็นการเพิ่มโทษผู้กระทำผิด (ร่างมาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 94)
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. เพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้แยกกันอยู่ (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา1516/1)
2. แก้ไขบทสันนิษฐานความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา โดยกำหนดเหตุยกเว้นในกรณีกฎหมายอื่นบัญญัติไว้ให้เป็นอย่างอื่น (ร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1546)
3. แก้ไขเกี่ยวกับเงื่อนไขของบทสันนิษฐานความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา และภาระพิสูจน์ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้หน้าที่ในการพิสูจน์ตามเงื่อนไข (1) ถึง (7) เป็นของผู้ที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นบิดา (ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1555)
4. แก้ไขการมีผลของความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา (ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1557)
5. เพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอำนาจปกครองผู้เยาว์กรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมของผู้เยาว์ตายลง (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1598/37)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 เมษายน 2550--จบ--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า
1. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับความรับผิดของเด็กทางอาญา เพื่อเป็นการปกป้องและคุ้มครองเด็กและให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี รวมทั้งให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534
2. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับบทสันนิษฐานความเป็นบุตร และอำนาจปกครองผู้เยาว์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รวม 2 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขเกณฑ์อายุขั้นสูงของเด็กในการพิจารณาใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยโดยกักกันตามมาตรา 41 หรือเรียกประกันทัณฑ์บนตามมาตรา 46 (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 41 และร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 46)
2. ขยายเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการรับผิดทางอาญาของเด็กให้เด็กที่มีอายุไม่เกิน 12 ปียังไม่ต้องรับผิดทางอาญา (ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 73)
3. แก้ไขเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการพิจารณาเพื่อใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จากอายุ “กว่า 7 ปี” เป็น “กว่า 12 ปี” และแก้ไขเพิ่มเกณฑ์อายุขั้นสูงในการพิจารณาเพื่อใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จากอายุ “ไม่เกิน 14 ปี” เป็น “ไม่เกิน 15 ปี”(ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 74 วรรคหนึ่ง)
4. แก้ไขเพิ่มเติมเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการรับผิดทางอาญาของบุคคล จากอายุ “กว่า 14 ปี” เป็น “กว่า 15 ปี” และแก้ไขเพิ่มเกณฑ์อายุขั้นสูงในการรับผิดทางอาญาของบุคคลจากอายุ “ไม่เกิน 17 ปี” เป็น “ไม่เกิน 18 ปี” (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 75)
5. เพิ่มเกณฑ์อายุขั้นสูงในการพิจารณาลดมาตราส่วนโทษของบุคคลจากอายุ “กว่า 17 ปี เป็น “กว่า 18 ปี” (ร่างมาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 76)
6. แก้ไขเกณฑ์อายุขั้นสูงของเด็กในการนำการกระทำในครั้งก่อนหรือครั้งหลังมาเป็นการเพิ่มโทษผู้กระทำผิด (ร่างมาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 94)
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. เพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้แยกกันอยู่ (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา1516/1)
2. แก้ไขบทสันนิษฐานความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา โดยกำหนดเหตุยกเว้นในกรณีกฎหมายอื่นบัญญัติไว้ให้เป็นอย่างอื่น (ร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1546)
3. แก้ไขเกี่ยวกับเงื่อนไขของบทสันนิษฐานความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา และภาระพิสูจน์ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้หน้าที่ในการพิสูจน์ตามเงื่อนไข (1) ถึง (7) เป็นของผู้ที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นบิดา (ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1555)
4. แก้ไขการมีผลของความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา (ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1557)
5. เพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอำนาจปกครองผู้เยาว์กรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมของผู้เยาว์ตายลง (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1598/37)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 เมษายน 2550--จบ--