คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเอกสารความร่วมมือระหว่างกรมการจัดหางานและองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration : IOM) ในการจัดส่งแรงงานไทยภาคเกษตรไปทำงานในประเทศอิสราเอล และอนุมัติให้อธิบดีกรมการจัดหางานในนามผู้แทนฝ่ายไทยลงนามในเอกสารความร่วมมือ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยให้กระทรวงแรงงานประสานกระทรวงการต่างประเทศเพื่อดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจ (Full Powers) ต่อไป
กระทรวงแรงงานรายงานว่า
1. สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลมีหนังสือถึงรัฐบาลไทยและกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ โดยแจ้งว่ารัฐบาลอิสราเอลได้ตัดสินใจที่จะสร้างโปรแกรมความร่วมมือกับ IOM โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกันว่าแรงงานไทยจะต้องไม่เสียค่าบริการจัดหางานในอัตราสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในการไปทำงานในประเทศอิสราเอล โดยหากระบบนี้เกิดขึ้นแล้ว แรงงานที่ได้รับการสรรหาภายใต้การดูแลของ IOM เท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานตำแหน่งคนงานเกษตรในประเทศอิสราเอล โดยรัฐบาลอิสราเอลหวังว่าจะมีระบบการจัดส่งแรงงานไปทำงานในอิสราเอลเป็นระบบเดียวที่สามารถใช้ได้กับแรงงานในทุกสาขา และถือว่าความร่วมมือในสาขาเกษตรกรรมระหว่างกระทรวงแรงงานไทยและ IOM เป็นโครงการนำร่อง หากได้ผลดีจะได้ขยายไปสู่การนำแรงงานต่างชาติไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งกระทรวงแรงงานเห็นชอบในหลักการและยินดีให้ความร่วมมือกับ IOM เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในการลดค่าใช้จ่ายของแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลและแรงงานไทยจะได้รับประโยชน์สูงสุด
2. IOM ได้จัดส่งร่างความตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานและ IOM ในการจัดส่งแรงงานไทยภาคเกษตรไปทำงานในประเทศอิสราเอลให้กระทรวงแรงงานพิจารณา ซึ่งต่อมากระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางานได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างความตกลงดังกล่าว รวมทั้งพิจารณากำหนดประเด็นสำคัญสำหรับเป็นแนวทางในการเจรจากับฝ่ายอิสราเอลและ IOM เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของแรงงานไทยในประเทศอิสราเอล
3. ปัจจุบันมีแรงงานไทยอยู่ในประเทศอิสราเอลประมาณ 27,200 คน ทำงานภาคเกษตร ประมาณ 25,500 คน ตั้งแต่ปี 2547 — 2550 (มกราคม — มิถุนายน) มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอล รวมทั้งสิ้น จำนวน 33,517 คน โดยแรงงานดังกล่าวเดินทางไปทำงานโดยวิธีการจัดส่งของบริษัทจัดหางานมากที่สุด จำนวน 21,765 คน รองลงมาคือการเดินทางไปทำงานโดยวิธีแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง จำนวน 11,752 คน และสาขาอาชีพที่แรงงานไทยเดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ตำแหน่งคนงานเกษตร ตำแหน่งผู้ทำงานในไร่นาทั่วไป และตำแหน่งผู้ปรุงอาหาร ซึ่งบริษัทจัดหางานไทยที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตรในประเทศอิสราเอลตั้งแต่ปี 2547 — 2550 (มกราคม — เมษายน) มีจำนวนทั้งสิ้น 61 บริษัท จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตรในประเทศอิสราเอล จำนวน 4,502 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--
กระทรวงแรงงานรายงานว่า
1. สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลมีหนังสือถึงรัฐบาลไทยและกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ โดยแจ้งว่ารัฐบาลอิสราเอลได้ตัดสินใจที่จะสร้างโปรแกรมความร่วมมือกับ IOM โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกันว่าแรงงานไทยจะต้องไม่เสียค่าบริการจัดหางานในอัตราสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในการไปทำงานในประเทศอิสราเอล โดยหากระบบนี้เกิดขึ้นแล้ว แรงงานที่ได้รับการสรรหาภายใต้การดูแลของ IOM เท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานตำแหน่งคนงานเกษตรในประเทศอิสราเอล โดยรัฐบาลอิสราเอลหวังว่าจะมีระบบการจัดส่งแรงงานไปทำงานในอิสราเอลเป็นระบบเดียวที่สามารถใช้ได้กับแรงงานในทุกสาขา และถือว่าความร่วมมือในสาขาเกษตรกรรมระหว่างกระทรวงแรงงานไทยและ IOM เป็นโครงการนำร่อง หากได้ผลดีจะได้ขยายไปสู่การนำแรงงานต่างชาติไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งกระทรวงแรงงานเห็นชอบในหลักการและยินดีให้ความร่วมมือกับ IOM เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในการลดค่าใช้จ่ายของแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลและแรงงานไทยจะได้รับประโยชน์สูงสุด
2. IOM ได้จัดส่งร่างความตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานและ IOM ในการจัดส่งแรงงานไทยภาคเกษตรไปทำงานในประเทศอิสราเอลให้กระทรวงแรงงานพิจารณา ซึ่งต่อมากระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางานได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างความตกลงดังกล่าว รวมทั้งพิจารณากำหนดประเด็นสำคัญสำหรับเป็นแนวทางในการเจรจากับฝ่ายอิสราเอลและ IOM เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของแรงงานไทยในประเทศอิสราเอล
3. ปัจจุบันมีแรงงานไทยอยู่ในประเทศอิสราเอลประมาณ 27,200 คน ทำงานภาคเกษตร ประมาณ 25,500 คน ตั้งแต่ปี 2547 — 2550 (มกราคม — มิถุนายน) มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอล รวมทั้งสิ้น จำนวน 33,517 คน โดยแรงงานดังกล่าวเดินทางไปทำงานโดยวิธีการจัดส่งของบริษัทจัดหางานมากที่สุด จำนวน 21,765 คน รองลงมาคือการเดินทางไปทำงานโดยวิธีแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง จำนวน 11,752 คน และสาขาอาชีพที่แรงงานไทยเดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ตำแหน่งคนงานเกษตร ตำแหน่งผู้ทำงานในไร่นาทั่วไป และตำแหน่งผู้ปรุงอาหาร ซึ่งบริษัทจัดหางานไทยที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตรในประเทศอิสราเอลตั้งแต่ปี 2547 — 2550 (มกราคม — เมษายน) มีจำนวนทั้งสิ้น 61 บริษัท จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตรในประเทศอิสราเอล จำนวน 4,502 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--