คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2548) สรุปได้ดังนี้
1. ลุ่มน้ำสาละวิน ลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำวัง สภาพน้ำท่วมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และลำปางได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สำหรับลุ่มน้ำปิง สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงใหม่ได้เข้าสู่สภาวะปกติกรมชลประทานได้จัดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 8-12 นิ้ว จำนวน 73 เครื่อง ใน 24 จุด เพื่อสูบน้ำท่วมขังออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ ทั้งนี้มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล (12-22 สิงหาคม.2548) รวม 523.23 ล้านลบ.ม.
2. ลุ่มน้ำยม สภาพน้ำท่วม จังหวัดพะเยา 8 อำเภอ จังหวัดแพร่ 1 อำเภอ ปริมาณน้ำได้ไหลลงสู่จังหวัดสุโขทัยผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งสองฝั่งริมแม่น้ำและจะมีผลกระทบต่อพื้นที่ตอนล่างของตัวเมืองสุโขทัย กรมชลประทานโดยโครงการจังหวัดสุโขทัยได้ประสานกับทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำแล้วตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2548 เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกัน และขอให้ประชาชนที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำยม อ.เมืองสุโขทัย เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำ ทั้งนี้ได้มีการเสริมกระสอบทรายสูง 7.5 เมตร ซึ่งระดับน้ำขึ้นสูงสุดที่ 6.5 เมตร เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2548 และเริ่มลดระดับลงตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2548 บริเวณพื้นที่ต่ำในอำเภอกงไกรลาส ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง และอำเภอเมือง มีน้ำท่วมขังและปัจจุบันระดับน้ำเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยกเว้นอำเภอกงไกรลาส ยังมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่
3. ลุ่มน้ำน่าน สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดน่าน 4 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ท่าวังผา และกิ่ง อ.ภูเพียง ได้เข้าสู่ภาวะปกติ ในลำน้ำน่านมีระดับต่ำกว่าตลิ่ง 3.27 เมตร แนวโน้มระดับน้ำลดลง ทั้งนี้ มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ (12-22 สิงหาคม 2548) รวม 916.17 ล้านลบ.ม.
4. ลุ่มน้ำชี สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดยโสธร เกิดน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อยในบางพื้นที่ ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว และจังหวัดกาฬสินธุ์ มีปริมาณในลำน้ำสาขาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ส่งผลให้ปริมาณน้ำเต็มความจุอ่างฯ ได้แก่ อ่างห้วยสังเคียบ อ่างห้วยสะทด อ่างห้วยผึ้ง อ่างห้วยมะโน อ่างลำพะยัง และอ่างห้วยจุมจัง โดยมีน้ำไหลออกทางระบายน้ำล้นลงสู่ลำน้ำเดิมด้านท้าย ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นไหลบ่าผ่านที่ลุ่มแผ่เป็นบริเวณกว้างตลอดลำน้ำ ไปรวมตัวท่วมขังในบริเวณลำน้ำบรรจบกัน คาดว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 3-5 วัน
5. ลุ่มน้ำโขง สถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด ดังนี้
- จังหวัดหนองคาย มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่
- จังหวัดสกลนคร สภาพน้ำในลำน้ำธรรมชาติมีระดับสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตลุ่มน้ำสงคราม ลุ่มน้ำยาม ลุ่มน้ำก่ำ และลุ่มน้ำอูน แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- จังหวัดนครพนม แม่น้ำโขงมีระดับน้ำหนุนสูง ทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำสงคราม ลำน้ำห้วยบังกอ ลำน้ำก่ำ เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ใน 6 อำเภอ คือ อ.ธาตุพนม อ.นาแก อ.ปลาปาก กิ่ง อ. วังยาง อ.ศรีสงคราม และ อ.ท่าอุเทน สำหรับในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีระดับสูงกว่าระดับท่อระบายน้ำของเทศบาล โครงการชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 7 เครื่อง เพื่อสูบน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง ทำให้เขตเทศบาลไม่ได้รับผลกระทบ และได้สำรองเครื่องสูบน้ำไว้ จำนวน 9 เครื่อง
- จังหวัดอำนาจเจริญ แม่น้ำโขงมีระดับน้ำหนุนสูง(ยังไม่ล้นตลิ่ง) ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรรมสองฝั่งริมลำห้วยสาขาต่าง ๆ แนวโน้มระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีระดับสูงขึ้น โครงการชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1 เครื่อง และได้สำรองเครื่องสูบน้ำไว้ จำนวน 8 เครื่อง
- จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำโขงมีระดับสูงขึ้น สูงกว่าตลิ่งประมาณ 0.39 เมตร (วันที่ 21 ส.ค.48 เวลา 18.00 น.) ทำให้น้ำท่วมชุมชนศรีมงคลเหนือและชุมชนศรีพัฒนา จังหวัดได้เสริมกระสอบทรายบริเวณพื้นที่ต่ำในเขตเทศบาลแล้ว สภาพน้ำลำน้ำเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เอ่อท่วมบริเวณพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.ดอนตาล อ.นิคมคำสร้อย และ อ.หว้านใหญ่ โครงการชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง และได้สำรองเครื่องสูบน้ำขนาด 8 -12 นิ้ว ไว้ จำนวน 8 เครื่อง
- จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำในลำน้ำโขงต่ำกว่าตลิ่ง แนวโน้มระดับน้ำสูงขึ้น
ในการนี้ กรมชลประทานโดยโครงการชลประทานจังหวัดได้ประสานงานกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามสถานการณ์ การแจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังและป้องกันปัญหาล่วงหน้าแล้ว
สำหรับพื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง ได้รายงานความเสียหายจากการสำรวจเบื้องต้น(ยังไม่ครบทุกพื้นที่) มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 18 จังหวัด แบ่งเป็นภาคเหนือ 10 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด พื้นที่การเกษตรประสบภัย 356,879.50 ไร่ ด้านพืช เกษตรกร 47,567 ไร่ พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 304,309.50 ไร่ ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 10,924 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 250,248 ตัว ด้านประมง เกษตรกร 4,009 ราย พื้นที่ 1,301.25 ไร่ 1,044 บ่อ
เมื่อสถานการณ์อุทกภัยเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ได้สั่งการให้หน่วยงานในระดับจังหวัดเร่งสำรวจความเสียหายที่แท้จริง เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ได้มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในเขตรับผิดชอบดำเนินการซักซ้อมความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือ การวางแผนปฏิบัติและแผนการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น แผนระยะกลางและระยะยาวกับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง และเมื่อน้ำลดลงแล้วให้เร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือโดยใช้เงินทดรองราชการเป็นอันดับแรกแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--
1. ลุ่มน้ำสาละวิน ลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำวัง สภาพน้ำท่วมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และลำปางได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สำหรับลุ่มน้ำปิง สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงใหม่ได้เข้าสู่สภาวะปกติกรมชลประทานได้จัดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 8-12 นิ้ว จำนวน 73 เครื่อง ใน 24 จุด เพื่อสูบน้ำท่วมขังออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ ทั้งนี้มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล (12-22 สิงหาคม.2548) รวม 523.23 ล้านลบ.ม.
2. ลุ่มน้ำยม สภาพน้ำท่วม จังหวัดพะเยา 8 อำเภอ จังหวัดแพร่ 1 อำเภอ ปริมาณน้ำได้ไหลลงสู่จังหวัดสุโขทัยผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งสองฝั่งริมแม่น้ำและจะมีผลกระทบต่อพื้นที่ตอนล่างของตัวเมืองสุโขทัย กรมชลประทานโดยโครงการจังหวัดสุโขทัยได้ประสานกับทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำแล้วตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2548 เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกัน และขอให้ประชาชนที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำยม อ.เมืองสุโขทัย เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำ ทั้งนี้ได้มีการเสริมกระสอบทรายสูง 7.5 เมตร ซึ่งระดับน้ำขึ้นสูงสุดที่ 6.5 เมตร เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2548 และเริ่มลดระดับลงตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2548 บริเวณพื้นที่ต่ำในอำเภอกงไกรลาส ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง และอำเภอเมือง มีน้ำท่วมขังและปัจจุบันระดับน้ำเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยกเว้นอำเภอกงไกรลาส ยังมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่
3. ลุ่มน้ำน่าน สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดน่าน 4 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ท่าวังผา และกิ่ง อ.ภูเพียง ได้เข้าสู่ภาวะปกติ ในลำน้ำน่านมีระดับต่ำกว่าตลิ่ง 3.27 เมตร แนวโน้มระดับน้ำลดลง ทั้งนี้ มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ (12-22 สิงหาคม 2548) รวม 916.17 ล้านลบ.ม.
4. ลุ่มน้ำชี สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดยโสธร เกิดน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อยในบางพื้นที่ ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว และจังหวัดกาฬสินธุ์ มีปริมาณในลำน้ำสาขาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ส่งผลให้ปริมาณน้ำเต็มความจุอ่างฯ ได้แก่ อ่างห้วยสังเคียบ อ่างห้วยสะทด อ่างห้วยผึ้ง อ่างห้วยมะโน อ่างลำพะยัง และอ่างห้วยจุมจัง โดยมีน้ำไหลออกทางระบายน้ำล้นลงสู่ลำน้ำเดิมด้านท้าย ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นไหลบ่าผ่านที่ลุ่มแผ่เป็นบริเวณกว้างตลอดลำน้ำ ไปรวมตัวท่วมขังในบริเวณลำน้ำบรรจบกัน คาดว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 3-5 วัน
5. ลุ่มน้ำโขง สถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด ดังนี้
- จังหวัดหนองคาย มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่
- จังหวัดสกลนคร สภาพน้ำในลำน้ำธรรมชาติมีระดับสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตลุ่มน้ำสงคราม ลุ่มน้ำยาม ลุ่มน้ำก่ำ และลุ่มน้ำอูน แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- จังหวัดนครพนม แม่น้ำโขงมีระดับน้ำหนุนสูง ทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำสงคราม ลำน้ำห้วยบังกอ ลำน้ำก่ำ เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ใน 6 อำเภอ คือ อ.ธาตุพนม อ.นาแก อ.ปลาปาก กิ่ง อ. วังยาง อ.ศรีสงคราม และ อ.ท่าอุเทน สำหรับในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีระดับสูงกว่าระดับท่อระบายน้ำของเทศบาล โครงการชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 7 เครื่อง เพื่อสูบน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง ทำให้เขตเทศบาลไม่ได้รับผลกระทบ และได้สำรองเครื่องสูบน้ำไว้ จำนวน 9 เครื่อง
- จังหวัดอำนาจเจริญ แม่น้ำโขงมีระดับน้ำหนุนสูง(ยังไม่ล้นตลิ่ง) ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรรมสองฝั่งริมลำห้วยสาขาต่าง ๆ แนวโน้มระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีระดับสูงขึ้น โครงการชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1 เครื่อง และได้สำรองเครื่องสูบน้ำไว้ จำนวน 8 เครื่อง
- จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำโขงมีระดับสูงขึ้น สูงกว่าตลิ่งประมาณ 0.39 เมตร (วันที่ 21 ส.ค.48 เวลา 18.00 น.) ทำให้น้ำท่วมชุมชนศรีมงคลเหนือและชุมชนศรีพัฒนา จังหวัดได้เสริมกระสอบทรายบริเวณพื้นที่ต่ำในเขตเทศบาลแล้ว สภาพน้ำลำน้ำเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เอ่อท่วมบริเวณพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.ดอนตาล อ.นิคมคำสร้อย และ อ.หว้านใหญ่ โครงการชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง และได้สำรองเครื่องสูบน้ำขนาด 8 -12 นิ้ว ไว้ จำนวน 8 เครื่อง
- จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำในลำน้ำโขงต่ำกว่าตลิ่ง แนวโน้มระดับน้ำสูงขึ้น
ในการนี้ กรมชลประทานโดยโครงการชลประทานจังหวัดได้ประสานงานกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามสถานการณ์ การแจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังและป้องกันปัญหาล่วงหน้าแล้ว
สำหรับพื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง ได้รายงานความเสียหายจากการสำรวจเบื้องต้น(ยังไม่ครบทุกพื้นที่) มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 18 จังหวัด แบ่งเป็นภาคเหนือ 10 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด พื้นที่การเกษตรประสบภัย 356,879.50 ไร่ ด้านพืช เกษตรกร 47,567 ไร่ พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 304,309.50 ไร่ ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 10,924 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 250,248 ตัว ด้านประมง เกษตรกร 4,009 ราย พื้นที่ 1,301.25 ไร่ 1,044 บ่อ
เมื่อสถานการณ์อุทกภัยเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ได้สั่งการให้หน่วยงานในระดับจังหวัดเร่งสำรวจความเสียหายที่แท้จริง เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ได้มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในเขตรับผิดชอบดำเนินการซักซ้อมความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือ การวางแผนปฏิบัติและแผนการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น แผนระยะกลางและระยะยาวกับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง และเมื่อน้ำลดลงแล้วให้เร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือโดยใช้เงินทดรองราชการเป็นอันดับแรกแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--