คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานกรรมการ ที่เห็นชอบในหลักการมาตรการเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาปรับปรุงมาตรการเพิ่มขีดความสามารถฯ ให้สมบูรณ์ ชัดเจน ส่วนการขอผูกพันงบประมาณ 3 ปี (พ.ศ. 2551-2553) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ระเบียบว่าด้วยยานยนต์ที่หมดอายุ (ELV) ระเบียบว่าด้วยเศษเหลือทิ้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (RoHs) ระเบียบว่าด้วยกรอบข้อกำหนดการออกแบบเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงาน (EuP) และระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ (REACH) ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการส่งออกของประเทศไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับภาคอุตสาหกรรมไทยให้เกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับระเบียบดังกล่าวได้
ขณะนี้กฎระเบียบ ELV/WEEE/RoHs ได้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ส่วนระเบียบ REACH/EuP จะมีผลใช้บังคับใช้ในกลางปี 2550 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าระเบียบยังไม่บังคับใช้ แต่เริ่มมีการนำข้อกำหนดบางส่วนมาบังคับใช้แล้ว ซึ่งในส่วนของบริษัทต่างชาติ/ บริษัทร่วมทุนได้มีการจัดเตรียมงบประมาณสำหรับใช้ในการเตรียมความพร้อมด้านการปรับกระบวนการผลิต การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ และห้องปฏิบัติการทดสอบ ในขณะที่ SMEs ไม่สามารถที่จะดำเนินการเช่นนั้นได้
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านการส่งออกที่จะลดลง อุตสาหกรรมภายในประเทศจะถูกทำลายตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การนำเข้าวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนจะเพิ่มขึ้น รวมถึงสินค้าของประเทศอื่นที่ไม่สามารถส่งออกไปสหภาพยุโรปจะทะลักเข้าประเทศมากขึ้น จึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำมาตรการเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรปประกอบด้วย 3 มาตรการหลัก ดังนี้
1. มาตรการสร้างความตระหนักและคลังข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้มีคลังข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ และให้ตระหนักถึงการปรับตัวตามกฎระเบียบ
2. มาตรการพัฒนาผู้ประกอบการและห้องปฏิบัติการทดสอบ มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรปและเพิ่มศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ
3. มาตรการพัฒนากฎระเบียบ/มาตรฐานและระบบการจัดการซากมุ่งเน้นการปกป้องอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมของไทย และยกระดับการจัดการซากของไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ
1. รักษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าอุตสาหกรรมไทยในสหภาพยุโรป ซึ่งมีมูลค่าไม่ต่ำว่า 5 แสนล้านบาท
2. เพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยในตลาดสหภาพยุโรป ร้อยละ 10 ภายใน 5 ปี
3. รักษาขีดความสามารถและเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ไทย ให้สามารถอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการรักษาอัตราการจ้างงานไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน
4. ขยายตลาดสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมภายในประเทศและผลักดันให้ไทยเป็นประเทศศูนย์กลางผลิตสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมของอาเซียนภายใน 10 ปี
5. พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบของภาครัฐ จำนวน 5 แห่ง ให้สามารถตรวจสอบได้ตามกฎระเบียบ และเป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรป ซึ่งจะประหยัดเวลาและเงินตราต่างประเทศที่จะต้องสูญเสียในการส่งสินค้าและชิ้นส่วนไปทดสอบยังห้องปฏิบัติการทดสอบในต่างประเทศ
6. มีระบบการบริหารจัดการซากที่มีประสิทธิภาพ และครบวงจร รวมทั้งมีมาตรการป้องกันไม่ให้สินค้าด้อยคุณภาพและสินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทะลักเข้ามาในประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มิถุนายน 2550--จบ--
สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ระเบียบว่าด้วยยานยนต์ที่หมดอายุ (ELV) ระเบียบว่าด้วยเศษเหลือทิ้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (RoHs) ระเบียบว่าด้วยกรอบข้อกำหนดการออกแบบเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงาน (EuP) และระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ (REACH) ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการส่งออกของประเทศไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับภาคอุตสาหกรรมไทยให้เกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับระเบียบดังกล่าวได้
ขณะนี้กฎระเบียบ ELV/WEEE/RoHs ได้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ส่วนระเบียบ REACH/EuP จะมีผลใช้บังคับใช้ในกลางปี 2550 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าระเบียบยังไม่บังคับใช้ แต่เริ่มมีการนำข้อกำหนดบางส่วนมาบังคับใช้แล้ว ซึ่งในส่วนของบริษัทต่างชาติ/ บริษัทร่วมทุนได้มีการจัดเตรียมงบประมาณสำหรับใช้ในการเตรียมความพร้อมด้านการปรับกระบวนการผลิต การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ และห้องปฏิบัติการทดสอบ ในขณะที่ SMEs ไม่สามารถที่จะดำเนินการเช่นนั้นได้
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านการส่งออกที่จะลดลง อุตสาหกรรมภายในประเทศจะถูกทำลายตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การนำเข้าวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนจะเพิ่มขึ้น รวมถึงสินค้าของประเทศอื่นที่ไม่สามารถส่งออกไปสหภาพยุโรปจะทะลักเข้าประเทศมากขึ้น จึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำมาตรการเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรปประกอบด้วย 3 มาตรการหลัก ดังนี้
1. มาตรการสร้างความตระหนักและคลังข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้มีคลังข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ และให้ตระหนักถึงการปรับตัวตามกฎระเบียบ
2. มาตรการพัฒนาผู้ประกอบการและห้องปฏิบัติการทดสอบ มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรปและเพิ่มศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ
3. มาตรการพัฒนากฎระเบียบ/มาตรฐานและระบบการจัดการซากมุ่งเน้นการปกป้องอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมของไทย และยกระดับการจัดการซากของไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ
1. รักษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าอุตสาหกรรมไทยในสหภาพยุโรป ซึ่งมีมูลค่าไม่ต่ำว่า 5 แสนล้านบาท
2. เพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยในตลาดสหภาพยุโรป ร้อยละ 10 ภายใน 5 ปี
3. รักษาขีดความสามารถและเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ไทย ให้สามารถอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการรักษาอัตราการจ้างงานไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน
4. ขยายตลาดสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมภายในประเทศและผลักดันให้ไทยเป็นประเทศศูนย์กลางผลิตสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมของอาเซียนภายใน 10 ปี
5. พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบของภาครัฐ จำนวน 5 แห่ง ให้สามารถตรวจสอบได้ตามกฎระเบียบ และเป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรป ซึ่งจะประหยัดเวลาและเงินตราต่างประเทศที่จะต้องสูญเสียในการส่งสินค้าและชิ้นส่วนไปทดสอบยังห้องปฏิบัติการทดสอบในต่างประเทศ
6. มีระบบการบริหารจัดการซากที่มีประสิทธิภาพ และครบวงจร รวมทั้งมีมาตรการป้องกันไม่ให้สินค้าด้อยคุณภาพและสินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทะลักเข้ามาในประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มิถุนายน 2550--จบ--