คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น โดยประสานการปฏิบัติงานกับจังหวัดที่ประสบภัยและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง สรุปสถานการณ์แผ่นดินไหวในประเทศลาว ใกล้อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายและการให้ความช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2550) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์แผ่นดินไหว (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2550)
1.1 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 เวลาประมาณ 15.56 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณชายแดน ลาว-พม่า ละติจูดที่ 20.48 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 100.82 องศาตะวันออก ความรุนแรง 6.1 ริคเตอร์ ห่างจากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประมาณ 61 กิโลเมตร
1.2 พื้นที่ได้รับผลกระทบ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน และรู้สึกได้ในจังหวัดเชียงใหม่ พะเยา แพร่ และกรุงเทพมหานคร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) จังหวัดเชียงราย ได้รับผลกระทบ 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ดังนี้
(1) อำเภอเชียงของ ในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงของมีอาคารร้าว/ฝ้าเพดานแตกบ้านพักอาศัยเสียหายบางส่วน 26 หลัง อาคารของธนาคารออมสินเกิดรอยร้าวหลายจุด อาคารพาณิชย์เสียหายบางส่วน 5 คูหา วัดบ้านสบสมหลังคาวิหารร้าวฝ้าเพดานของศาลาบำเพ็ญบุญแตกร้าว รวมทั้งองค์พระประธานแตกร้าว
(2) อำเภอเวียงแก่น อาคารเรียนของโรงเรียนปอวิทยาผนังร้าว 1 หลัง
(3) อำเภอแม่ฟ้าหลวง บ้านเรือนผนังร้าวบางส่วน 4 หลัง
(4) อำเภอเทิง ศาลาที่พักสงฆ์วัดพระธาตุจอมจ้อมีรอยร้าว 1 หลัง ห้องน้ำ 1 หลัง
(5) อำเภอแม่จัน บ้านเรือนราษฎรเสียหายบางส่วน 17 หลัง ถังบรรจุน้ำกองร้อย อส.แม่จันที่ 9 ฝาผนังร้าว 2 ถัง (ไม่มีการทรุดตัว)
(6) อำเภอเชียงแสน ยอดฉัตรพระธาตุจอมกิตติหักโค่นและมีรอยร้าวที่เจดีย์ทางอำเภอร่วมกับเจ้าอาวาสกันบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และให้เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เชียงแสนจัดทำบัญชีเก็บสิ่งของมีค่าที่บรรจุในพระธาตุแล้ว และอาคารด่านศุลกากรเชียงแสนมีรอยร้าว
(7) กิ่งอำเภอดอยหลวง หลังคาโบสถ์วัดแม่เลียบได้รับความเสียหาย 1 หลัง
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด
1. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (นายอมรพันธุ์ นิมานันท์) พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย นายอำเภอเชียงแสน ได้เดินทางไปตรวจสอบยอดฉัตรพระธาตุจอมกิตติที่หักโค่นและมีรอยร้าวที่เจดีย์และได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งทำการบูรณะซ่อมแซมต่อไป
2. ได้วิทยุแจ้งเตือนให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกพื้นที่ให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
3. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 ได้จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ เพื่อเตรียมความพร้อมและซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติการเกิดแผ่นดินไหวที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย
4. ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (นายอมรพันธุ์ นิมานันท์) ได้สั่งการให้ทุกภาคส่วนเฝ้าระวังและให้สำรวจความเสียหายอย่างเร่งด่วน และประชาสัมพันธ์ข้อปฏิบัติให้ปลอดภัยจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทราบ
2) จังหวัดน่าน ได้เกิดดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง น่าน-พะเยา บริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลป่าคาหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน โยธาธิการจังหวัดน่าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมเจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องจักรกลเข้าทำการเปิดเส้นทางจนสามารถสัญจรไป-มาได้ตามปกติแล้ว
3) จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่ รู้สึกได้แต่ไม่มีรายงาน ความเสียหาย
4) กรุงเทพมหานคร จากการตรวจสอบกับสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ปรากฏว่าประชาชนที่อยู่บนอาคารสูงรู้สึกได้แต่ไม่มีรายงานความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น
2. การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาแผ่นดินไหวของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามตรวจสอบสถานการณ์และสภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา ตลอดจนสำนักพยากรณ์ต่างๆ ว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักต่อเนื่องหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย พื้นที่ส่วนใหญ่ชุ่มน้ำมากแล้ว การเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงและมีการสั่นไหวตามมาอีกหลายครั้งจะเป็นเหตุให้หินและพื้นดินที่ชุ่มน้ำบนพื้นที่สูงของพื้นที่เสี่ยงภัยถล่มลงมาทับเส้นทางและบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ทางตอนล่างได้ ดังนั้น เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาดินสไลด์และหินถล่มสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงได้แจ้งให้จังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบคือแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น จัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องและหากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใดให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขตฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรเข้าสนับสนุนทันที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. สรุปสถานการณ์แผ่นดินไหว (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2550)
1.1 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 เวลาประมาณ 15.56 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณชายแดน ลาว-พม่า ละติจูดที่ 20.48 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 100.82 องศาตะวันออก ความรุนแรง 6.1 ริคเตอร์ ห่างจากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประมาณ 61 กิโลเมตร
1.2 พื้นที่ได้รับผลกระทบ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน และรู้สึกได้ในจังหวัดเชียงใหม่ พะเยา แพร่ และกรุงเทพมหานคร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) จังหวัดเชียงราย ได้รับผลกระทบ 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ดังนี้
(1) อำเภอเชียงของ ในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงของมีอาคารร้าว/ฝ้าเพดานแตกบ้านพักอาศัยเสียหายบางส่วน 26 หลัง อาคารของธนาคารออมสินเกิดรอยร้าวหลายจุด อาคารพาณิชย์เสียหายบางส่วน 5 คูหา วัดบ้านสบสมหลังคาวิหารร้าวฝ้าเพดานของศาลาบำเพ็ญบุญแตกร้าว รวมทั้งองค์พระประธานแตกร้าว
(2) อำเภอเวียงแก่น อาคารเรียนของโรงเรียนปอวิทยาผนังร้าว 1 หลัง
(3) อำเภอแม่ฟ้าหลวง บ้านเรือนผนังร้าวบางส่วน 4 หลัง
(4) อำเภอเทิง ศาลาที่พักสงฆ์วัดพระธาตุจอมจ้อมีรอยร้าว 1 หลัง ห้องน้ำ 1 หลัง
(5) อำเภอแม่จัน บ้านเรือนราษฎรเสียหายบางส่วน 17 หลัง ถังบรรจุน้ำกองร้อย อส.แม่จันที่ 9 ฝาผนังร้าว 2 ถัง (ไม่มีการทรุดตัว)
(6) อำเภอเชียงแสน ยอดฉัตรพระธาตุจอมกิตติหักโค่นและมีรอยร้าวที่เจดีย์ทางอำเภอร่วมกับเจ้าอาวาสกันบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และให้เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เชียงแสนจัดทำบัญชีเก็บสิ่งของมีค่าที่บรรจุในพระธาตุแล้ว และอาคารด่านศุลกากรเชียงแสนมีรอยร้าว
(7) กิ่งอำเภอดอยหลวง หลังคาโบสถ์วัดแม่เลียบได้รับความเสียหาย 1 หลัง
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด
1. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (นายอมรพันธุ์ นิมานันท์) พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย นายอำเภอเชียงแสน ได้เดินทางไปตรวจสอบยอดฉัตรพระธาตุจอมกิตติที่หักโค่นและมีรอยร้าวที่เจดีย์และได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งทำการบูรณะซ่อมแซมต่อไป
2. ได้วิทยุแจ้งเตือนให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกพื้นที่ให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
3. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 ได้จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ เพื่อเตรียมความพร้อมและซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติการเกิดแผ่นดินไหวที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย
4. ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (นายอมรพันธุ์ นิมานันท์) ได้สั่งการให้ทุกภาคส่วนเฝ้าระวังและให้สำรวจความเสียหายอย่างเร่งด่วน และประชาสัมพันธ์ข้อปฏิบัติให้ปลอดภัยจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทราบ
2) จังหวัดน่าน ได้เกิดดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง น่าน-พะเยา บริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลป่าคาหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน โยธาธิการจังหวัดน่าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมเจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องจักรกลเข้าทำการเปิดเส้นทางจนสามารถสัญจรไป-มาได้ตามปกติแล้ว
3) จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่ รู้สึกได้แต่ไม่มีรายงาน ความเสียหาย
4) กรุงเทพมหานคร จากการตรวจสอบกับสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ปรากฏว่าประชาชนที่อยู่บนอาคารสูงรู้สึกได้แต่ไม่มีรายงานความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น
2. การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาแผ่นดินไหวของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามตรวจสอบสถานการณ์และสภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา ตลอดจนสำนักพยากรณ์ต่างๆ ว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักต่อเนื่องหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย พื้นที่ส่วนใหญ่ชุ่มน้ำมากแล้ว การเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงและมีการสั่นไหวตามมาอีกหลายครั้งจะเป็นเหตุให้หินและพื้นดินที่ชุ่มน้ำบนพื้นที่สูงของพื้นที่เสี่ยงภัยถล่มลงมาทับเส้นทางและบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ทางตอนล่างได้ ดังนั้น เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาดินสไลด์และหินถล่มสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงได้แจ้งให้จังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบคือแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น จัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องและหากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใดให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขตฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรเข้าสนับสนุนทันที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--