เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง
การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวและการออกใบรับรองการครอบครองซากของ
สัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวและการออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้พิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าดังกล่าว พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เห็นชอบด้วยตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแก้ไข และได้แก้ไขเพิ่มเติมบทอาศัยอำนาจ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง การออกใบอนุญาต
ให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวและการออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวและการออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดให้ผู้มีสัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ต้องแจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบท้ายกระทรวง (ร่างข้อ 2)
3. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับชนิดและจำนวนสัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองที่มีการแจ้ง แล้วจัดทำเครื่องหมายหรือหลักฐานประจำตัว รวมทั้งออกหลักฐานให้กับผู้แจ้ง (ร่างข้อ 3)
4. กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจอนุญาตให้เลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครอง และให้ออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว หากไม่สมควรอนุญาตให้จำหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองให้แก่ผู้รับอนุญาตเพาะพันธุ์ หรือจำหน่ายให้แก่ผู้รับอนุญาตจัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะภายใน 120 วัน และเมื่อสิ้นระยะเวลาดังกล่าวยังมีสัตว์ป่าคุ้มครองเหลืออยู่เท่าใด ให้สัตว์ป่านั้นตกเป็นของแผ่นดิน (ร่างข้อ 4)
5. กำหนดให้กรณีผู้รับใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวหากต้องนำสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองไปเก็บไว้ ณ สถานที่ที่มิได้กำหนดในใบอนุญาต ต้องยื่นขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างข้อ 7)
6. กำหนดให้กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองแตกต่างไปจากจำนวนที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน แต่ถ้าเป็นสัตว์น้ำให้แจ้งภายใน 60 วัน นับแต่มีการเปลี่ยนแปลง และหากมีจำนวนสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเพิ่มขึ้นให้ผู้รับใบอนุญาตจัดหาและทำเครื่องหมายหรือหลักฐานประจำตัวสัตว์ป่าคุ้มครองด้วย (ร่างข้อ 8)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวและการออกใบรับรองการครอบครองซากของ
สัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวและการออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้พิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าดังกล่าว พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เห็นชอบด้วยตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแก้ไข และได้แก้ไขเพิ่มเติมบทอาศัยอำนาจ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง การออกใบอนุญาต
ให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวและการออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวและการออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดให้ผู้มีสัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ต้องแจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบท้ายกระทรวง (ร่างข้อ 2)
3. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับชนิดและจำนวนสัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองที่มีการแจ้ง แล้วจัดทำเครื่องหมายหรือหลักฐานประจำตัว รวมทั้งออกหลักฐานให้กับผู้แจ้ง (ร่างข้อ 3)
4. กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจอนุญาตให้เลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครอง และให้ออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว หากไม่สมควรอนุญาตให้จำหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองให้แก่ผู้รับอนุญาตเพาะพันธุ์ หรือจำหน่ายให้แก่ผู้รับอนุญาตจัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะภายใน 120 วัน และเมื่อสิ้นระยะเวลาดังกล่าวยังมีสัตว์ป่าคุ้มครองเหลืออยู่เท่าใด ให้สัตว์ป่านั้นตกเป็นของแผ่นดิน (ร่างข้อ 4)
5. กำหนดให้กรณีผู้รับใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวหากต้องนำสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองไปเก็บไว้ ณ สถานที่ที่มิได้กำหนดในใบอนุญาต ต้องยื่นขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างข้อ 7)
6. กำหนดให้กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองแตกต่างไปจากจำนวนที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน แต่ถ้าเป็นสัตว์น้ำให้แจ้งภายใน 60 วัน นับแต่มีการเปลี่ยนแปลง และหากมีจำนวนสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเพิ่มขึ้นให้ผู้รับใบอนุญาตจัดหาและทำเครื่องหมายหรือหลักฐานประจำตัวสัตว์ป่าคุ้มครองด้วย (ร่างข้อ 8)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--