คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังกรณีสถานการณ์มลภาวะทางน้ำที่เกิดในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้
1. สาเหตุและปัญหาที่เกิด
1.1 เมื่อวันที่ 11 มี.ค.50 เวลาประมาณ 19.00 น. ได้เกิดเหตุการณ์ปลาในกระชังที่เกษตรกรเลี้ยงและสัตว์น้ำอื่นๆ ในแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ ต.บางเสด็จ และ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง และในพื้นที่ อ.บางบาล พระนครศรีอยุธยา เสนา บางปะอิน และ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ตอนล่างได้ตายเป็นจำนวนมาก
1.2 ความเสียหาย (ข้อมูล 19 มี.ค.50) ในเบื้องต้นทั้ง 2 จังหวัด มีปลาที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในกระชังเสียหาย จำนวน 1,176 กระชัง เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 231 ราย มูลค่าความเสียหายในเบื้องต้น 51,057,458 บาท
1.3 สาเหตุของน้ำเน่าเสีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันหาสาเหตุการเน่าเสียของน้ำในครั้งนี้ โดยอาจมีสาเหตุจากเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2550 มีเรือบรรทุกน้ำตาลชื่อ ยูอี 35 ของบริษัทเพรสซิเดนไรซ์บราวน์ จำกัด ซึ่งบรรทุกน้ำตาลหนัก 650 ตัน ล่มกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลโพสะ อำเภอเมืองอ่างทอง เหนือบริเวณที่มีปลาตายไปตอนบนประมาณ 12.5 กิโลเมตร และเริ่มมีการกู้เรือ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2550 โดยวิธีดูดซากน้ำตาลที่ตกค้างลงในแม่น้ำ ทำให้น้ำตาลละลายปนเปื้อนในแม่น้ำ หรืออีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม 4 โรง ที่ตั้งอยู่บริเวณตำบลโพสะ อำเภอเมือง จำนวน 3 โรง และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จำนวน 1 โรง (โรงงานผงชูรส) ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาสาเหตุการเน่าเสียของน้ำที่แน่ชัด
1.4 การพิสูจน์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำ
1) จังหวัดอ่างทอง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุการตายของปลา โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง (น.ส.เบญจวรรณ อ่านเปรื่อง) เป็นประธาน ส่วนราชการที่เกี่ยวช้องในพื้นที่และผู้แทนส่วนราชการจากส่วนกลาง ร่วมเป็นกรรมการ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นกรรมการ มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และการล่มของเรือบรรทุกน้ำตาล
2) การตรวจพิสูจน์ของคณะกรรมการฯ จะตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ตำบลโพสะ อำเภอเมืองฯ และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง รวม 4 โรง คือ (1) บริษัทสุภัทร์ธนากร เปเปอร์มิล จำกัด (2) บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) (3) บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน) (4) บริษัท เคที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผลิตผงชูรส อายิโนะทาการะ) และกรณีเรือบรรทุกน้ำตาลของบริษัท เพรสซิเดนไรช์ บราวน์ จำกัด บรรทุกน้ำตาล 650 ตัน ล่มกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2550 บริเวณหน้าท่าเรือมิตรผล ตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
3) คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ จะได้ดำเนินการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรม ทั้ง 4 โรง เพื่อพิสูจน์ว่า มีการปล่อยน้ำเสียหรือไม่ ตรวจสอบแหล่งน้ำอื่นๆ รวมทั้งประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้วนำมาประมวลข้อมูลร่วมกันพร้อมจัดทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
1.5 สถานการณ์ในแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้น้ำที่เน่าเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้เคลื่อนตัวถึงรอยต่อระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับจังหวัดปทุมธานี (บริเวณสะพานวงแหวนตะวันตก) วัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำได้ 1.74 มิลลิกรัมต่อลิตร (19 มี.ค.50) สถานการณ์น้ำเน่าเสียโดยรวมมีสภาพน้ำที่ดีขึ้น
กรมชลประทานได้ระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา กับเขื่อนพระรามหก รวม 90 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2550 และเพิ่มการระบายน้ำจากแม่น้ำน้อย บริเวณอำเภอบางไทรเสริมอีก 10 ลบ.ม./วินาที ซึ่งช่วยเจือจางน้ำเน่าเสียให้มีคุณภาพดีขึ้น นอกจากนี้ได้ติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศของมูลนิธิชัยพัฒนาในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว 13 เครื่อง อยู่ระหว่างติดตั้งที่อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 7 เครื่อง และจะติดตั้งในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี 10 เครื่อง
ทั้งนี้ กรมประมงร่วมกับจังหวัดอ่างทองและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้สรุปความเสียหายของ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังที่จำเป็นต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม 2 จังหวัด ใน 6 อำเภอ เกษตรกร 231 ราย กระชังปลาเสียหาย 1,176 กระชัง พื้นที่ 22,844.50 ตารางเมตร มูลค่าความเสียหาย 51,057,458 บาท
2. ข้อเสนอเบื้องต้นการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระยะต่อไป
2.1 ปัญหาคุณภาพน้ำในแม่น้ำ มีสภาพเสื่อมโทรมต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นผลจากการเพิ่มของประชากร การขยายและกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม โดยขาดการจัดการและควบคุมมลพิษทางน้ำที่ได้มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยขาดระบบการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสม การเกษตรกรรมที่ใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการไม่ขจัดปริมาณมลพิษ หรือควบคุมจัดการของเสียจากกระบวนการผลิต ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งของทุกปี
2.2 การบริหารจัดการภัยน้ำเสีย เพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพในระยะต่อไป ควรดำเนินการ ดังนี้
1) จัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน เฝ้าระวังแจ้งเตือนคุณภาพน้ำ และให้ความรู้แก่ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพทางน้ำอย่างยั่งยืน
2) มีการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางร่วมกับจังหวัด และตัวแทนภาคประชาชนในท้องถิ่นเป็นระยะ
3) ให้ความสำคัญและส่งเสริมแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในระบบลุ่มน้ำอย่างจริงจัง ปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
4) ให้กรมควบคุมมลพิษ เป็นหน่วยงานหลัก ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยจัดทำแผนหลักในการแก้ไขปัญหาภัยน้ำเสีย ในระบบลุ่มน้ำแบบบูรณาการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี โดยดำเนินการในลุ่มน้ำที่มีปัญหาภัยน้ำเสียรุนแรงเป็นลำดับแรก เช่น ท่าจีน เจ้าพระยา เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
1. สาเหตุและปัญหาที่เกิด
1.1 เมื่อวันที่ 11 มี.ค.50 เวลาประมาณ 19.00 น. ได้เกิดเหตุการณ์ปลาในกระชังที่เกษตรกรเลี้ยงและสัตว์น้ำอื่นๆ ในแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ ต.บางเสด็จ และ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง และในพื้นที่ อ.บางบาล พระนครศรีอยุธยา เสนา บางปะอิน และ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ตอนล่างได้ตายเป็นจำนวนมาก
1.2 ความเสียหาย (ข้อมูล 19 มี.ค.50) ในเบื้องต้นทั้ง 2 จังหวัด มีปลาที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในกระชังเสียหาย จำนวน 1,176 กระชัง เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 231 ราย มูลค่าความเสียหายในเบื้องต้น 51,057,458 บาท
1.3 สาเหตุของน้ำเน่าเสีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันหาสาเหตุการเน่าเสียของน้ำในครั้งนี้ โดยอาจมีสาเหตุจากเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2550 มีเรือบรรทุกน้ำตาลชื่อ ยูอี 35 ของบริษัทเพรสซิเดนไรซ์บราวน์ จำกัด ซึ่งบรรทุกน้ำตาลหนัก 650 ตัน ล่มกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลโพสะ อำเภอเมืองอ่างทอง เหนือบริเวณที่มีปลาตายไปตอนบนประมาณ 12.5 กิโลเมตร และเริ่มมีการกู้เรือ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2550 โดยวิธีดูดซากน้ำตาลที่ตกค้างลงในแม่น้ำ ทำให้น้ำตาลละลายปนเปื้อนในแม่น้ำ หรืออีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม 4 โรง ที่ตั้งอยู่บริเวณตำบลโพสะ อำเภอเมือง จำนวน 3 โรง และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จำนวน 1 โรง (โรงงานผงชูรส) ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาสาเหตุการเน่าเสียของน้ำที่แน่ชัด
1.4 การพิสูจน์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำ
1) จังหวัดอ่างทอง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุการตายของปลา โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง (น.ส.เบญจวรรณ อ่านเปรื่อง) เป็นประธาน ส่วนราชการที่เกี่ยวช้องในพื้นที่และผู้แทนส่วนราชการจากส่วนกลาง ร่วมเป็นกรรมการ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นกรรมการ มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และการล่มของเรือบรรทุกน้ำตาล
2) การตรวจพิสูจน์ของคณะกรรมการฯ จะตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ตำบลโพสะ อำเภอเมืองฯ และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง รวม 4 โรง คือ (1) บริษัทสุภัทร์ธนากร เปเปอร์มิล จำกัด (2) บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) (3) บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน) (4) บริษัท เคที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผลิตผงชูรส อายิโนะทาการะ) และกรณีเรือบรรทุกน้ำตาลของบริษัท เพรสซิเดนไรช์ บราวน์ จำกัด บรรทุกน้ำตาล 650 ตัน ล่มกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2550 บริเวณหน้าท่าเรือมิตรผล ตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
3) คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ จะได้ดำเนินการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรม ทั้ง 4 โรง เพื่อพิสูจน์ว่า มีการปล่อยน้ำเสียหรือไม่ ตรวจสอบแหล่งน้ำอื่นๆ รวมทั้งประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้วนำมาประมวลข้อมูลร่วมกันพร้อมจัดทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
1.5 สถานการณ์ในแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้น้ำที่เน่าเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้เคลื่อนตัวถึงรอยต่อระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับจังหวัดปทุมธานี (บริเวณสะพานวงแหวนตะวันตก) วัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำได้ 1.74 มิลลิกรัมต่อลิตร (19 มี.ค.50) สถานการณ์น้ำเน่าเสียโดยรวมมีสภาพน้ำที่ดีขึ้น
กรมชลประทานได้ระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา กับเขื่อนพระรามหก รวม 90 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2550 และเพิ่มการระบายน้ำจากแม่น้ำน้อย บริเวณอำเภอบางไทรเสริมอีก 10 ลบ.ม./วินาที ซึ่งช่วยเจือจางน้ำเน่าเสียให้มีคุณภาพดีขึ้น นอกจากนี้ได้ติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศของมูลนิธิชัยพัฒนาในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว 13 เครื่อง อยู่ระหว่างติดตั้งที่อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 7 เครื่อง และจะติดตั้งในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี 10 เครื่อง
ทั้งนี้ กรมประมงร่วมกับจังหวัดอ่างทองและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้สรุปความเสียหายของ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังที่จำเป็นต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม 2 จังหวัด ใน 6 อำเภอ เกษตรกร 231 ราย กระชังปลาเสียหาย 1,176 กระชัง พื้นที่ 22,844.50 ตารางเมตร มูลค่าความเสียหาย 51,057,458 บาท
2. ข้อเสนอเบื้องต้นการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระยะต่อไป
2.1 ปัญหาคุณภาพน้ำในแม่น้ำ มีสภาพเสื่อมโทรมต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นผลจากการเพิ่มของประชากร การขยายและกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม โดยขาดการจัดการและควบคุมมลพิษทางน้ำที่ได้มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยขาดระบบการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสม การเกษตรกรรมที่ใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการไม่ขจัดปริมาณมลพิษ หรือควบคุมจัดการของเสียจากกระบวนการผลิต ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งของทุกปี
2.2 การบริหารจัดการภัยน้ำเสีย เพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพในระยะต่อไป ควรดำเนินการ ดังนี้
1) จัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน เฝ้าระวังแจ้งเตือนคุณภาพน้ำ และให้ความรู้แก่ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพทางน้ำอย่างยั่งยืน
2) มีการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางร่วมกับจังหวัด และตัวแทนภาคประชาชนในท้องถิ่นเป็นระยะ
3) ให้ความสำคัญและส่งเสริมแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในระบบลุ่มน้ำอย่างจริงจัง ปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
4) ให้กรมควบคุมมลพิษ เป็นหน่วยงานหลัก ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยจัดทำแผนหลักในการแก้ไขปัญหาภัยน้ำเสีย ในระบบลุ่มน้ำแบบบูรณาการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี โดยดำเนินการในลุ่มน้ำที่มีปัญหาภัยน้ำเสียรุนแรงเป็นลำดับแรก เช่น ท่าจีน เจ้าพระยา เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--