คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานที่อนุมัติในหลักการร่างแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550 — 2554) และให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ปรากฏในแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550-2554) ได้ใช้เป็นกรอบและแนวทางในการจัดทำแผนงานด้านการกีฬาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550-2554)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานว่า
1. เนื่องจากแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) ได้สิ้นสุดลงแล้ว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550-2554) โดยคณะทำงานจัดทำร่างแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550-2554) ได้รับฟังความคิดเห็นจากภาคี เครือข่าย และผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนของสังคม พร้อมทั้งมีการศึกษาเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางที่ผู้เกี่ยวข้องได้ให้ข้อเสนอแนะ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อสร้างค่านิยมการออกกำลังกาย เล่นกีฬา ดูกีฬา และนันทนาการจนเป็นวิถีชีวิต
2.2 เพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาในการพัฒนาการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ ตลอดจนการพัฒนานักกีฬาให้มีศักยภาพสูงขึ้น
2.3 เพื่อให้มีการศึกษา วิจัย และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการกีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ
2.4 เพื่อบูรณาการทรัพยากรทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการกีฬาที่เป็นระบบและมีมาตรฐาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับ
2.5 เพื่อพัฒนาและผลิตบุคลากรด้านการกีฬา นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักวิจัยด้านการกีฬา
3. ยุทธศาสตร์
3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐาน ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพและทักษะการเล่นกีฬาและออกกำลังกายขั้นพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชน ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
3.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อมวลชน ให้ความสำคัญแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทุกกลุ่มได้มีโอกาสเล่นกีฬาและออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำ
3.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ให้ความสำคัญแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทุกกลุ่มทุกระดับได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการแข่งขันกีฬาเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในทุกระดับ ทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ
3.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาชนิดกีฬาที่มีศักยภาพสู่การเป็นกีฬาอาชีพอย่างแท้จริง
3.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ให้ความสำคัญแก่การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในทุกสาขา และการนำความรู้ไปพัฒนาศักยภาพนักกีฬา การแข่งขันกีฬา ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนได้เล่นกีฬาและออกกำลังกายที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
3.6 ยุทธศาสตร์การบริหารการกีฬา ให้ความสำคัญแก่การบริหารงานแบบบูรณาการ โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม สร้างและสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาการกีฬาในทุกระดับ และมีการติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานว่า
1. เนื่องจากแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) ได้สิ้นสุดลงแล้ว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550-2554) โดยคณะทำงานจัดทำร่างแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550-2554) ได้รับฟังความคิดเห็นจากภาคี เครือข่าย และผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนของสังคม พร้อมทั้งมีการศึกษาเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางที่ผู้เกี่ยวข้องได้ให้ข้อเสนอแนะ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อสร้างค่านิยมการออกกำลังกาย เล่นกีฬา ดูกีฬา และนันทนาการจนเป็นวิถีชีวิต
2.2 เพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาในการพัฒนาการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ ตลอดจนการพัฒนานักกีฬาให้มีศักยภาพสูงขึ้น
2.3 เพื่อให้มีการศึกษา วิจัย และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการกีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ
2.4 เพื่อบูรณาการทรัพยากรทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการกีฬาที่เป็นระบบและมีมาตรฐาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับ
2.5 เพื่อพัฒนาและผลิตบุคลากรด้านการกีฬา นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักวิจัยด้านการกีฬา
3. ยุทธศาสตร์
3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐาน ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพและทักษะการเล่นกีฬาและออกกำลังกายขั้นพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชน ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
3.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อมวลชน ให้ความสำคัญแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทุกกลุ่มได้มีโอกาสเล่นกีฬาและออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำ
3.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ให้ความสำคัญแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทุกกลุ่มทุกระดับได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการแข่งขันกีฬาเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในทุกระดับ ทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ
3.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาชนิดกีฬาที่มีศักยภาพสู่การเป็นกีฬาอาชีพอย่างแท้จริง
3.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ให้ความสำคัญแก่การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในทุกสาขา และการนำความรู้ไปพัฒนาศักยภาพนักกีฬา การแข่งขันกีฬา ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนได้เล่นกีฬาและออกกำลังกายที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
3.6 ยุทธศาสตร์การบริหารการกีฬา ให้ความสำคัญแก่การบริหารงานแบบบูรณาการ โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม สร้างและสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาการกีฬาในทุกระดับ และมีการติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--