คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมติคณะกรรมการ ก.พ. ในการประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2553 (เรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน) ตามที่สำนักงาน ก.พ.เสนอ ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการ จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นเพิ่มเติมของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าบทบาทของกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมที่ควรมุ่งให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส ตลอดจนกระบวนการรับเรื่อง ร้องเรียนและร้องทุกข์ ควรมีการสร้างระบบเพื่อพิทักษ์ดูแลพยานและผู้ร้องเรียนให้ได้รับความปลอดภัย ตลอดจนมีการสอบสวนที่เป็นธรรมและโปร่งใสด้วย ไปพิจารณา
สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
1. ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ตามข้อ 17 ให้จัดตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมขึ้นในทุกส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมนี้ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 เห็นชอบกับประมวลจริยธรรม โดยการจัดตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ให้ใช้ประโยชน์จากหน่วยงานการเจ้าหน้าที่
2. ก.พ.ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2553 มีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552
ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการตามประมวลจริยธรรมเป็นไปอย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพ โดยส่วนราชการสามารถปรับหรือผนวกภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่ดำเนินการอยู่เดิมเข้ากับกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรม จึงไม่ได้เป็นการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ แต่เป็นการใช้หน่วยงานและทรัพยากรทางการบริหารที่มีอยู่แล้วอย่างจำกัดให้เกิดความคุ้มค่า ประหยัด และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงาน ก.พ. จึงขอเสนอการปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
มติ ครม. วันที่ 25 สิงหาคม 2552 ข้อเสนอขอทบทวนมติ ครม. การตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมให้เป็นไปตามความเห็น เห็นควรให้ส่วนราชการมีกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม เป็น ของสำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งเห็นควรให้ใช้ประโยชน์จาก หน่วยงานภายในรับผิดชอบภารกิจของกลุ่มงานคุ้มครอง หน่วยงานการเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบ จริยธรรม โดยเปลี่ยนศูนย์ประสานราชการใสสะอาดของ ครอบคลุมภารกิจการบริหารงานบุคคลในภาพรวมทั้งระบบ ส่วนราชการและจังหวัด หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจ อยู่แล้ว การจัดตั้งกลุ่มงานอาจทำให้เกิดความต้องการใช้ ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เป็น ทรัพยากรทาง การบริหารเกินความจำเป็น นอกจากนี้ การ กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมของส่วนราชการและจังหวัดและ กำหนดให้มี คณะกรรมการจริยธรรมประจำแต่ละหน่วยงาน ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของเลขานุการ นั้นก็มี ความพอเพียงต่อการให้หลักประกันเกี่ยวกับ คณะกรรมการจริยธรรมส่วนราชการและจังหวัด ความเป็นอิสระในการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและ คุ้มครองจริยธรรมอยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 พฤษภาคม 2553--จบ--