รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในส่วนของกระทรวงคมนาคม

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 26, 2010 15:01 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในส่วนของกระทรวงคมนาคม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

ตามที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพมหานคร โดยมีการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างวันที่ 12 มีนาคม ถึง 19 พฤษภาคม 2553 ในพื้นที่ถนนราชดำเนิน บริเวณสี่แยกราชประสงค์ พื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนบริเวณชานเมืองกรุงเทพมหานคร นั้น

กระทรวงคมนาคมได้มีการจัดเตรียมการรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาโดยลำดับ รวมทั้งได้รับการประสานงานจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ขอรับการสนับสนุนในด้านต่างๆ จากกระทรวงคมนาคมมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง เช่น การขอยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ การขอข้อมูลทะเบียนรถ การขอสนับสนุนรถโดยสาร เป็นต้น กระทรวงคมนาคมจึงขอรายงานสรุปผลการดำเนินการเกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในส่วนของกระทรวงคมนาคมในแต่ละประเด็น ดังนี้

1. การดำเนินการในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม ถึง 19 พฤษภาคม 2553

1.1 ศูนย์ติดตามสถานการณ์การชุมนุมในส่วนของกระทรวงคมนาคม

กระทรวงคมนาคมได้จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์การชุมนุมขึ้นที่กรมการขนส่งทางบก โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเป็นโครงข่ายและเชื่อมโยงกับขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์การชุมนุม และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาคการขนส่งเพื่อประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสำหรับการเตรียมการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น

1.2 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม กระทรวงคมนาคม (ศปภ.คค.)

ศปภ.คค.ได้ให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในช่วงสถานการณ์การชุมนุมในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1356 ได้แก่ สภาพการจราจรในเส้นทางต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางโดยรอบพื้นที่ชุมนุม การปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถโดยสาร ขสมก. การแนะนำ การเดินทาง การประสานช่วยเหลือการเดินทางกลับของประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุม รวมทั้งการรายงานสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน

1.3 ศูนย์จราจรอัจฉริยะ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (ศูนย์ ITS)

ศูนย์ ITS ได้ให้บริการข้อมูลสภาพการจราจรแบบ Real Time อย่างต่อเนื่อง โดยผ่านเว็บไซต์และผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมทั้งได้เชื่อมโยงข้อมูลไปยัง ศอฉ. เพื่อติดตามสถานการณ์การชุมนุมอย่างใกล้ชิด

1.4 กรมทางหลวง

สนับสนุน CONCRETE BARRIER TYPE II จำนวน 30 ท่อน และ TRAFFIC BARRIER POLYETHYLENE ขนาด 0.50 x 0.80 x 1.00 เมตร จำนวน 30 ชุด

2. การดำเนินการภายหลังยุติการชุมนุม และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

2.1 การจัดรถโดยสารส่งข้าราชการทหาร — ตำรวจ

บริษัท ขนส่ง จำกัด จัดรถโดยสารจำนวน 24 คัน เพื่อส่งข้าราชการทหาร — ตำรวจ กลับภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัด ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ สระบุรี และนครราชสีมา จำนวน 932 คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 418,305 บาท

2.2 การจัดรถโดยสารส่งประชาชนผู้เข้าร่วมการชุมนุมกลับภูมิลำเนา

2.2.1 การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดให้บริการในขบวนรถปกติส่งผู้ชุมนุมกลับภูมิลำเนา จำนวน 1,110 คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 237,874 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

      วันที่        ขบวน              สถานี             จำนวน    ค่าโดยสาร       หมายเหตุ
  19 พ.ค.2553     139        บางซื่อ- อุบลราชธานี           2         410       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  139         บางซื่อ-อุทุมพรพิสัย            1         193       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  133         บางซื่อ- อุดรธานี             3         612       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                   51         บางซื่อ- เชียงใหม่            2         540       สายเหนือ
  20 พ.ค. 2553    109        กรุงเทพ- เชียงใหม่           76      17,556       สายเหนือ
                  109         กรุงเทพ- เด่นชัย            76      15,200       สายเหนือ
                  109         กรุงเทพ- ลำปาง            80      17,280       สายเหนือ
                  109         บางซื่อ- เชียงใหม่           93      21,390       สายเหนือ
                  109          บางซื่อ- ลำพูน             16       3,632       สายเหนือ
                  109          บางซื่อ- ลำปาง             4         856       สายเหนือ
                   51        กรุงเทพ- เชียงใหม่           30       8,130       สายเหนือ
                   51         บางซื่อ- เชียงใหม่           14       3,780       สายเหนือ
                   51        บางซื่อ- นครสวรรค์            1         196       สายเหนือ
                   51         บางซื่อ- พิษณุโลก             1         218       สายเหนือ
                  107          บางซื่อ- พิจิตร              1         171       สายเหนือ
                  145       กรุงเทพ- อุบลราชธานี         260      53,300       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  145        กรุงเทพ- ศรีสะเกษ           40       7,880       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  145        บางซื่อ- อุบลราชธานี          18       3,690       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
  20 พ.ค. 2553    145         บางซื่อ- ศรีสะเกษ            1         196       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  139       กรุงเทพ- อุบลราชธานี         100      20,500       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  139        บางซื่อ- อุบลราชธานี           4         820       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  139         บางซื่อ- ศรีสะเกษ            4         784       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  139       บางซื่อ- ชุมทางถนนจิระ          2         198       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  139        บางซื่อ- นครราชสีมา           2         198       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  133        กรุงเทพ- หนองคาย          150      31,950       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  133         กรุงเทพ- อุดรธานี          100      20,500       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  133         บางซื่อ- หนองคาย            1         211       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  133         บางซื่อ- อุดรธานี             4         816       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                  133         บางซื่อ- ขอนแก่น             5         930       สายตะวันออกเฉียงเหนือ
                   41      กรุงเทพ- ชุมทางหาดใหญ่          3       2,025       สายใต้
                  169       บางซื่อ- ชุมทางหาดใหญ่          4       1,032       สายใต้
                  169        บางซื่อ- สุราษฏร์ธานี           4         864       สายใต้
                  169          บางซื่อ- ชุมพร              3         576       สายใต้
                  173      กรุงเทพ- นครศรีธรรมราช         2         486       สายใต้
                  173      บางซื่อ- นครศรีธรรมราช          1         242       สายใต้
                   83        บางซื่อ- สุราษฏร์ธานี           2         512       สายใต้
                                   รวม              1,110     237,874

2.2.2 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จัดให้บริการรถโดยสาร จำนวน 107 คัน คิดเป็นค่าใช้จ่ายรวม 1,189,522.50 บาท เพื่อรับผู้เข้าร่วมชุมนุมจากสนามกีฬาศุภชลาศัย ส่งต่อไปยังจุดต่างๆ ดังนี้

                       สถานีรถไฟบางซื่อ            จำนวน     22  คัน
                       สถานีรถไฟหัวลำโพง          จำนวน     25  คัน
                       สถานีขนส่งหมอชิต            จำนวน     28  คัน
                       จังหวัดสมุทรปราการ          จำนวน      6  คัน
                       ลำลูกกา                   จำนวน      2  คัน
                       มีนบุรี, หนองจอก            จำนวน      2  คัน
                       จังหวัดปทุมธานี              จำนวน      2  คัน
                       วัดปทุมฯ - สนามศุภชลาศัย     จำนวน     20  คัน

2.2.3 บริษัท ขนส่ง จำกัด จัดรถโดยสารจำนวน 52 คัน เพื่อส่งผู้เข้าร่วมชุมนุมกลับภูมิลำเนา จำนวน 815 คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 437,806 บาท มีรายละเอียดเส้นทาง ดังนี้

ภาคเหนือ

      วัน / เดือน / ปี               จังหวัด            จำนวน    จำนวนรถ     จำนวนเงิน
                                                   (คน)      (คัน)        (บาท)
      12 พ.ค. 2553            อ.วังน้อย อยุธยา          -         6         10,020
      13 พ.ค. 2553               นครสวรรค์            -        15        164,550
      20 พ.ค. 2553               เชียงราย            80         2         46,164
           รวม                                      80        23        220,734
                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

      วัน / เดือน / ปี               จังหวัด            จำนวน    จำนวนรถ    จำนวนเงิน
                                                   (คน)      (คัน)        (บาท)
      12 มี.ค. 2553            อ.วังน้อย อยุธยา          -        10        16,890
      19 พ.ค. 2553              นครราชสีมา           38         1         4,902
      19 พ.ค. 2553                ขอนแก่น            40         1        10,240
      19 พ.ค. 2553                 เลย              20         1         6,420
      19 พ.ค. 2553                อุดรธานี            30         1         9,600
      20 พ.ค. 2553                ขอนแก่น           220         5        56,320
      20 พ.ค. 2553          อุบลราชธานี/ศรีสะเกษ       30         1         9,210
      20 พ.ค. 2553                 เลย              40         1        12,840
      20 พ.ค. 2553           ยโสธร/อำนาจเจริญ        30         1         9,870
      20 พ.ค. 2553                นครพนม            44         1        18,128
      20 พ.ค. 2553               มุกดาหาร            44         1        16,764
      20 พ.ค. 2553              หนองบัวลำภู           44         1        13,508
      20 พ.ค. 2553              หนองบัวลำภู           44         1        13,508
      20 พ.ค. 2553                สุรินทร์             40         1         9,920
      20 พ.ค. 2553                ระยอง             44         1         5,280
      20 พ.ค. 2553                อุทัยธานี            27         1         3,672
           รวม                                     735        29       217,072

3. ความเสียหายที่เกิดขึ้นในระบบขนส่ง

หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การชุมนุมฯ ดังนี้

3.1 ความเสียหายด้านรายได้

3.1.1 การรถไฟแห่งประเทศไทย

ได้รับผลกระทบด้านการโดยสารและด้านการขนส่งสินค้า โดยมียอดผู้โดยสารลดลงและมีการขอคืนตั๋วโดยสาร ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยขาดรายได้จากการโดยสารเป็นเงิน 26,235,000 บาท และขาดรายได้จากการงดเดินขบวนรถสินค้าเป็นเงิน 5,999,406 บาท รวมขาดรายได้ทั้งสิ้น 32,234,406 บาท

3.1.2 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

ได้รับผลกระทบจากการหยุดเดินรถในระหว่างวันที่ 15 — 22 พฤษภาคม 2553 (8 วัน) รวมขาดรายได้ทั้งสิ้น 31,559,355 บาท

3.1.3 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

ได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ค่าผ่านทาง ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม — 23 พฤษภาคม 2553 จำนวนทั้งสิ้น 333,895,423 บาท

3.2 ความเสียหายด้านทรัพย์สิน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.2.1 กรมการขนส่งทางบก

มีค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินการของ ศอฉ. และการจัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์การชุมนุมในส่วนของกระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย การสนับสนุน BARRIER จำนวน 150 ท่อน ค่าอาหาร — เครื่องดื่ม และค่าอุปกรณ์ชำรุด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,381,884 บาท

3.2.2 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

ได้รับความเสียหายบริเวณทางเข้า — ออก สถานีหัวลำโพง สถานีสีลม สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และสถานีคลองเตย ประมาณการเฉพาะค่าอุปกรณ์ (กระจกแตก บันไดเลื่อนเสียหาย ตู้ควบคุมระบบดับเพลิงเสียหาย)รวมเป็นเงินประมาณ 20-25 ล้านบาท

3.2.3 รถร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

บริษัท ออนชอร์ ทรานสปอร์ต เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้ให้บริการรถโดยสารสาย 40 (รถร่วม ขสมก.) ถูกกลุ่มผู้ชุมนุมยึดรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 11 — 8581 และเกิดการลุกไหม้เสียหายทั้งคัน ประเมินค่าเสียหายประมาณ 1,500,000 บาท

ทั้งนี้ ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์การชุมนุม ดังรายละเอียดข้างต้น ศอฉ. ได้ประสานงานขอให้กระทรวงคมนาคมเบิกจ่ายโดยตรงกับ ศอฉ. ต่อไป

4. เรื่องอื่นๆ

ศอฉ. ประสานงานขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงคมนาคม ในเรื่องของการขอทราบรายชื่อผู้ครอบครองรถที่ต้องสงสัยจำนวน 1 คัน และขอความร่วมมือให้พิจารณายกเว้นค่าผ่านทางของการทาง-พิเศษแห่งประเทศไทยให้รถยนต์บางส่วนตามจำนวนที่ ศอฉ. แจ้งให้ทราบ จำนวน 1 ครั้ง โดยจะแจ้งขอความร่วมมือต่อไปเป็นระยะจนถึงประมาณปลายเดือนพฤษภาคม 2553

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 พฤษภาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ