คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน ดังนี้
1. อนุมัติแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555
2. มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อรองรับแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555 ต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555 ที่ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดทำขึ้น เน้นบทบาทของภาคเอกชนเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพ ซึ่งเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน
2. เพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก
3. เพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาด้วยตนเอง และให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ โดยร่วมมือกับภาครัฐในการร่วมคิดร่วมทำ (Collaboration)
แนวทางการดำเนินการตามแผนแม่บท
เป้าหมายของการดำเนินการตามระยะเวลาของแผนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2555 มี 3 ประการ ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 ผลิตภาพแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี
เป้าหมายที่ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยในปี 2551 มีจำนวน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมและจะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 25 กลุ่มอุตสาหกรรมในปี 2555
เป้าหมายที่ 3 ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยในปี 2551 มีจำนวนไม่น้อยกว่า 4,500 โรงงานและจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 โรงงาน ในปี 2555
ทั้งนี้ แผนแม่บทฯ ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
(1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การยกระดับความสามารถทักษะแรงงาน (Human Skill) ทั้งแรงงานที่มีอยู่เดิมและแรงงานที่กำลังเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม
(2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับความสามารถทางด้านการบริหารจัดการ (Management)
(3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร โดยส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในการผลิต
(4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบ Logistics ภายในกลุ่มอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนพัฒนาระบบ Logistics ภายในกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ
(5) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจและ Supply Chain โดยสนับสนุนการรวมกลุ่มธุรกิจในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) และ Supply Chain เพื่อเชื่อมโยงการผลิต โดยเน้นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มที่อยู่ในระดับหัวแถวกับท้ายแถว รวมทั้งกระตุ้นการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากภาคเอกชนและสร้างจิตสำนึกของผู้บริหาร/ผู้ประกอบการในการรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจให้มีความเข้มแข็ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--
1. อนุมัติแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555
2. มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อรองรับแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555 ต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555 ที่ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดทำขึ้น เน้นบทบาทของภาคเอกชนเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพ ซึ่งเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน
2. เพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก
3. เพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาด้วยตนเอง และให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ โดยร่วมมือกับภาครัฐในการร่วมคิดร่วมทำ (Collaboration)
แนวทางการดำเนินการตามแผนแม่บท
เป้าหมายของการดำเนินการตามระยะเวลาของแผนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2555 มี 3 ประการ ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 ผลิตภาพแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี
เป้าหมายที่ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยในปี 2551 มีจำนวน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมและจะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 25 กลุ่มอุตสาหกรรมในปี 2555
เป้าหมายที่ 3 ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยในปี 2551 มีจำนวนไม่น้อยกว่า 4,500 โรงงานและจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 โรงงาน ในปี 2555
ทั้งนี้ แผนแม่บทฯ ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
(1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การยกระดับความสามารถทักษะแรงงาน (Human Skill) ทั้งแรงงานที่มีอยู่เดิมและแรงงานที่กำลังเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม
(2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับความสามารถทางด้านการบริหารจัดการ (Management)
(3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร โดยส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในการผลิต
(4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบ Logistics ภายในกลุ่มอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนพัฒนาระบบ Logistics ภายในกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ
(5) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจและ Supply Chain โดยสนับสนุนการรวมกลุ่มธุรกิจในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) และ Supply Chain เพื่อเชื่อมโยงการผลิต โดยเน้นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มที่อยู่ในระดับหัวแถวกับท้ายแถว รวมทั้งกระตุ้นการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากภาคเอกชนและสร้างจิตสำนึกของผู้บริหาร/ผู้ประกอบการในการรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจให้มีความเข้มแข็ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--