คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบข้อเสนอการดำเนินงานโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ประจำปี 2549-2551 ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy-ACMECS) โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และจังหวัดที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามเวลาที่กำหนด และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการพิจารณาแผนการลงทุนในแต่ละปีโดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
2. มอบหมายกระทรวงการคลังดำเนินการออกประกาศให้นำเข้าผลผลิตพืชเป้าหมายของโครงการ Contract Farming ประจำปี 2549-2551 ได้โดยได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ และได้รับสิทธิพิเศษภายใต้มาตรการผ่อนปรนทางด้านการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2549 ให้ดำเนินการโครงการลงทุน Contract Farming ปี 2549 แล้ว จึงให้ออกประกาศกระทรวงการคลังครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549-เมษายน 2551
3. มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศเพื่อนบ้านในการเร่งรัดการจัดทำและลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องโครงการลงทุน (Contract Farming)
4. การพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมเพื่อจัดทำและเสนอแผนการดำเนินงานของโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญาของพืชพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน และนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานทดแทนในประเทศไทย มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อไปด้วย
ข้อเสนอการดำเนินงานโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) มีดังนี้
1. พืชเป้าหมาย จากการวิเคราะห์ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเกี่ยวกับปริมาณผลผลิต และความต้องการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549 ควรทบทวนแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ปี 2549-2551 โดยให้ครอบคลุมพืชไร่ที่นำเข้าแล้วในปี 2549 และขยายเวลาให้ครอบคลุมถึงปี 2550-2551 และควรดำเนินการในพืชเป้าหมาย 9 รายการที่ไทยมีความพร้อม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกรอบ ACMECS และสนับสนุนการเป็นแหล่งวัตถุดิบของไทย โดยไม่กระทบต่อเกษตรกรในประเทศ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียวผิวมัน ละหุ่ง ยูคาลิปตัส ลูกเดือย และงา โดยถั่วเหลืองและละหุ่งเป็นพืชที่สนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ที่ไทยขาดแคลนค่อนข้างมาก ตลอดจนพื้นที่เพาะปลูกในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ถั่วลิสงและลูกเดือยเป็นพืชที่ไทยขาดแคลนเช่นเดียวกัน และมีศักยภาพเป็นวัตถุดิบป้อนการผลิตเพื่อส่งออกของไทย ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียว ไทยผลิตได้ค่อนข้างเพียงพอ แต่มีแนวโน้มที่จะขาดแคลนในอนาคต เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกลดลง
2. แผนการลงทุน จากการสำรวจผู้ประกอบการที่ได้มีการจดทะเบียนกับทางจังหวัด โดยได้เข้าไปลงทุนและทำสัญญากับเกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้าน และประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2550 แล้ว สามารถกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานของโครงการได้ดังนี้
2.1 เป้าหมายพืชไร่เศรษฐกิจ จากการสำรวจผู้ประกอบการในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้เข้าไปลงทุนกับเกษตรกรรายย่อยบริเวณชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน และผลการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2550 ควรกำหนดเป้าหมายการนำเข้าพืชไร่ภายใต้โครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ดังนี้
ปี 2549-2550 (สิงหาคม 2549-พฤษภาคม 2550) รวม 108,351.40 ตัน
พืชเป้าหมาย ปริมาณ (ตัน)
1. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 101,473.98
2. ถั่วเหลือง 4,257.28
3. ลูกเดือย 2,062.86
4. ละหุ่ง 445.28
5. ถั่วเขียวผิวมัน 112
รวม 108,351.40
ปี 2550-2551 (มิถุนายน 2550-เมษายน 2551) รวม 427,719 ตัน
พืชเป้าหมาย ปริมาณ (ตัน)
1. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 318,741
2. ยูคาลิปตัส 70,500
3. ถั่วเหลือง 59,030
4. ถั่วเขียวผิวมัน 21,770
5. ถั่วลิสง 14,914
6. งา 6,500
7. ข้าวโพดหวาน 2,300
8. ลูกเดือย 4,354
9. ละหุ่ง 380
รวม 427,719
หมายเหตุ ปริมาณยูคาลิปตัส 70,500 ตัน มีกำหนดนำเข้าในปี 2553-2554
(1) พื้นที่เพาะปลูก ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกบริเวณชายแดนและพื้นที่ตอนในของประเทศเพื่อนบ้าน 1,177,021 ไร่
(2) จังหวัดชายแดนเป้าหมาย 6 แห่ง ได้แก่ ตาก (ด้านพม่า) เลย นครพนม อุบลราชธานี (ด้านลาว) และจันทบุรี สระแก้ว
(ด้านกัมพูชา) โดยปรับลดจากข้อเสนอเดิม 2 จังหวัด ซึ่งรวมจังหวัดเชียงรายและหนองคาย
(3) ผู้ประกอบการ จำนวน 119 ราย
(4) แผนการผลิต กำหนดนำเข้าผลผลิตโดยได้รับสิทธิพิเศษภายใต้มาตรการผ่อนปรน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549-เมษายน 2551
2.2 เป้าหมายพืชพลังงาน เนื่องจากพืชพลังงานสำคัญที่จะเริ่มดำเนินงานก่อนคือปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการผลิตในปริมาณมากและต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันสำเร็จรูป รวมทั้งการกำหนดราคารับซื้อ และการกลั่น ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าพืชไร่ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ จึงมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสม เพื่อจัดทำและเสนอแผนการดำเนินงานของโครงการลงทุน Contract Farming ของพืชพลังงานในประเทศเพื่อนบ้านและนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานทดแทนในประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้ไทย และเป็นการช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรประเทศเพื่อนบ้านอีกทางหนึ่ง และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. มาตรการผ่อนปรน ให้มีการยกเว้นภาษีนำเข้าเฉพาะกับสินค้าเกษตรภายใต้โครงการลงทุน Contract Farming โดยไม่จำเป็นต้องมีใบ C/O ทั้งนี้ ทางจังหวัดของไทยจะเป็นผู้ออกเอกสารที่จัดทำขึ้นใหม่โดยเฉพาะเพื่อประกอบการขอยกเว้นภาษีนำเข้าของไทย โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกหนังสือรับรองการนำเข้าสินค้า
4. การเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ สศช. เร่งรัดการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) เพื่อให้รัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้านยอมรับแนวคิดและอำนวยความสะดวกการค้าบริเวณชายแดน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเวียนร่างบันทึกความเข้าใจให้รัฐบาลของ สปป.ลาว สหภาพพม่า และกัมพูชา พิจารณาก่อนเสนอให้มีการลงนามต่อไป รวมทั้งพิจารณาจัดตั้งกลไกประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านที่เข้าร่วมโครงการใน 2 ระดับ คือ ระดับพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดชายแดนของไทยกับเมืองชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน และระดับชาติ โดยใช้กลไกการประสานงานของกรอบ ACMECS ซึ่งมีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ประสานงานฝ่ายไทย
5. ประโยชน์ของโครงการ Contract Farming ในปี 2549-2551 ตามเป้าหมาย ของแผนฯ ในปี 2549-2551 พบว่าจะช่วยให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านถึง 1,177,021 ไร่ โดยไทยสามารถนำเข้าพืชเป้าหมาย ปี 2549 (สิงหาคม 2549-พฤษภาคม 2550) จำนวน 108,351.40 ตัน และปี 2550-2551 (มิถุนายน 2550-เมษายน 2551) จำนวน 427,719 ตัน ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม ACMECS โดยปริมาณดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับเกษตรกรในประเทศ เนื่องจากมีปริมาณไม่มาก และช่วยแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการดำเนินงานโครงการลงทุน Contract Farming ภายใต้กรอบ ACMECS จะทำให้รัฐบาลสามารถวางแผนการผลิตพืชเป้าหมายภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ผลกระทบต่อเกษตรกรภายในประเทศ การผ่อนปรนมาตรการนำเข้าพืชไร่เศรษฐกิจภายใต้โครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยตามแนวบริเวณชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้และลดปัญหาการหลั่งไหลของแรงงานผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ปริมาณการนำเข้าตามโครงการดังกล่าวเป็นส่วนน้อยของอุปสงค์ภายในประเทศที่มีโอกาสขยายตัวอีกมาก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
1. เห็นชอบข้อเสนอการดำเนินงานโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ประจำปี 2549-2551 ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy-ACMECS) โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และจังหวัดที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามเวลาที่กำหนด และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการพิจารณาแผนการลงทุนในแต่ละปีโดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
2. มอบหมายกระทรวงการคลังดำเนินการออกประกาศให้นำเข้าผลผลิตพืชเป้าหมายของโครงการ Contract Farming ประจำปี 2549-2551 ได้โดยได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ และได้รับสิทธิพิเศษภายใต้มาตรการผ่อนปรนทางด้านการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2549 ให้ดำเนินการโครงการลงทุน Contract Farming ปี 2549 แล้ว จึงให้ออกประกาศกระทรวงการคลังครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549-เมษายน 2551
3. มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศเพื่อนบ้านในการเร่งรัดการจัดทำและลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องโครงการลงทุน (Contract Farming)
4. การพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมเพื่อจัดทำและเสนอแผนการดำเนินงานของโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญาของพืชพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน และนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานทดแทนในประเทศไทย มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อไปด้วย
ข้อเสนอการดำเนินงานโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) มีดังนี้
1. พืชเป้าหมาย จากการวิเคราะห์ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเกี่ยวกับปริมาณผลผลิต และความต้องการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549 ควรทบทวนแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ปี 2549-2551 โดยให้ครอบคลุมพืชไร่ที่นำเข้าแล้วในปี 2549 และขยายเวลาให้ครอบคลุมถึงปี 2550-2551 และควรดำเนินการในพืชเป้าหมาย 9 รายการที่ไทยมีความพร้อม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกรอบ ACMECS และสนับสนุนการเป็นแหล่งวัตถุดิบของไทย โดยไม่กระทบต่อเกษตรกรในประเทศ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียวผิวมัน ละหุ่ง ยูคาลิปตัส ลูกเดือย และงา โดยถั่วเหลืองและละหุ่งเป็นพืชที่สนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ที่ไทยขาดแคลนค่อนข้างมาก ตลอดจนพื้นที่เพาะปลูกในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ถั่วลิสงและลูกเดือยเป็นพืชที่ไทยขาดแคลนเช่นเดียวกัน และมีศักยภาพเป็นวัตถุดิบป้อนการผลิตเพื่อส่งออกของไทย ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียว ไทยผลิตได้ค่อนข้างเพียงพอ แต่มีแนวโน้มที่จะขาดแคลนในอนาคต เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกลดลง
2. แผนการลงทุน จากการสำรวจผู้ประกอบการที่ได้มีการจดทะเบียนกับทางจังหวัด โดยได้เข้าไปลงทุนและทำสัญญากับเกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้าน และประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2550 แล้ว สามารถกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานของโครงการได้ดังนี้
2.1 เป้าหมายพืชไร่เศรษฐกิจ จากการสำรวจผู้ประกอบการในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้เข้าไปลงทุนกับเกษตรกรรายย่อยบริเวณชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน และผลการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2550 ควรกำหนดเป้าหมายการนำเข้าพืชไร่ภายใต้โครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ดังนี้
ปี 2549-2550 (สิงหาคม 2549-พฤษภาคม 2550) รวม 108,351.40 ตัน
พืชเป้าหมาย ปริมาณ (ตัน)
1. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 101,473.98
2. ถั่วเหลือง 4,257.28
3. ลูกเดือย 2,062.86
4. ละหุ่ง 445.28
5. ถั่วเขียวผิวมัน 112
รวม 108,351.40
ปี 2550-2551 (มิถุนายน 2550-เมษายน 2551) รวม 427,719 ตัน
พืชเป้าหมาย ปริมาณ (ตัน)
1. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 318,741
2. ยูคาลิปตัส 70,500
3. ถั่วเหลือง 59,030
4. ถั่วเขียวผิวมัน 21,770
5. ถั่วลิสง 14,914
6. งา 6,500
7. ข้าวโพดหวาน 2,300
8. ลูกเดือย 4,354
9. ละหุ่ง 380
รวม 427,719
หมายเหตุ ปริมาณยูคาลิปตัส 70,500 ตัน มีกำหนดนำเข้าในปี 2553-2554
(1) พื้นที่เพาะปลูก ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกบริเวณชายแดนและพื้นที่ตอนในของประเทศเพื่อนบ้าน 1,177,021 ไร่
(2) จังหวัดชายแดนเป้าหมาย 6 แห่ง ได้แก่ ตาก (ด้านพม่า) เลย นครพนม อุบลราชธานี (ด้านลาว) และจันทบุรี สระแก้ว
(ด้านกัมพูชา) โดยปรับลดจากข้อเสนอเดิม 2 จังหวัด ซึ่งรวมจังหวัดเชียงรายและหนองคาย
(3) ผู้ประกอบการ จำนวน 119 ราย
(4) แผนการผลิต กำหนดนำเข้าผลผลิตโดยได้รับสิทธิพิเศษภายใต้มาตรการผ่อนปรน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549-เมษายน 2551
2.2 เป้าหมายพืชพลังงาน เนื่องจากพืชพลังงานสำคัญที่จะเริ่มดำเนินงานก่อนคือปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการผลิตในปริมาณมากและต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันสำเร็จรูป รวมทั้งการกำหนดราคารับซื้อ และการกลั่น ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าพืชไร่ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ จึงมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสม เพื่อจัดทำและเสนอแผนการดำเนินงานของโครงการลงทุน Contract Farming ของพืชพลังงานในประเทศเพื่อนบ้านและนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานทดแทนในประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้ไทย และเป็นการช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรประเทศเพื่อนบ้านอีกทางหนึ่ง และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. มาตรการผ่อนปรน ให้มีการยกเว้นภาษีนำเข้าเฉพาะกับสินค้าเกษตรภายใต้โครงการลงทุน Contract Farming โดยไม่จำเป็นต้องมีใบ C/O ทั้งนี้ ทางจังหวัดของไทยจะเป็นผู้ออกเอกสารที่จัดทำขึ้นใหม่โดยเฉพาะเพื่อประกอบการขอยกเว้นภาษีนำเข้าของไทย โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกหนังสือรับรองการนำเข้าสินค้า
4. การเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ สศช. เร่งรัดการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) เพื่อให้รัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้านยอมรับแนวคิดและอำนวยความสะดวกการค้าบริเวณชายแดน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเวียนร่างบันทึกความเข้าใจให้รัฐบาลของ สปป.ลาว สหภาพพม่า และกัมพูชา พิจารณาก่อนเสนอให้มีการลงนามต่อไป รวมทั้งพิจารณาจัดตั้งกลไกประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านที่เข้าร่วมโครงการใน 2 ระดับ คือ ระดับพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดชายแดนของไทยกับเมืองชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน และระดับชาติ โดยใช้กลไกการประสานงานของกรอบ ACMECS ซึ่งมีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ประสานงานฝ่ายไทย
5. ประโยชน์ของโครงการ Contract Farming ในปี 2549-2551 ตามเป้าหมาย ของแผนฯ ในปี 2549-2551 พบว่าจะช่วยให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านถึง 1,177,021 ไร่ โดยไทยสามารถนำเข้าพืชเป้าหมาย ปี 2549 (สิงหาคม 2549-พฤษภาคม 2550) จำนวน 108,351.40 ตัน และปี 2550-2551 (มิถุนายน 2550-เมษายน 2551) จำนวน 427,719 ตัน ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม ACMECS โดยปริมาณดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับเกษตรกรในประเทศ เนื่องจากมีปริมาณไม่มาก และช่วยแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการดำเนินงานโครงการลงทุน Contract Farming ภายใต้กรอบ ACMECS จะทำให้รัฐบาลสามารถวางแผนการผลิตพืชเป้าหมายภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ผลกระทบต่อเกษตรกรภายในประเทศ การผ่อนปรนมาตรการนำเข้าพืชไร่เศรษฐกิจภายใต้โครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยตามแนวบริเวณชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้และลดปัญหาการหลั่งไหลของแรงงานผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ปริมาณการนำเข้าตามโครงการดังกล่าวเป็นส่วนน้อยของอุปสงค์ภายในประเทศที่มีโอกาสขยายตัวอีกมาก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--