แท็ก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
กระทรวงการคลัง
สุขภัณฑ์กะรัต
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงการคลังอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 แห่ง รวมทั้งสิ้นจำนวน 3,128 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ในวงเงิน 1,058 ล้านบาท
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในวงเงิน 1,800 ล้านบาท
3. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ในวงเงิน 270 ล้านบาท
กระทรวงการคลัง รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 กุมภาพันธ์ 2549 , 15 สิงหาคม 2549) กระทรวงการคลัง ได้พิจารณาอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 แห่ง เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันในการกู้เงินแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปแล้ว ดังนี้
สถาบัน เลขที่ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน อัตราดอกเบี้ย กำหนดชำระเงิน
การเงิน (ล้านบาท) (ร้อยละต่อปี)
เฉพาะกิจ
ธสน. 1/2549 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2549 729 0.01 31 กรกฎาคม 2550
2/2549 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2549 200 0.01 31 กรกฎาคม 2550
ธ.ก.ส. อ.5/2549 ลงวันที่ 11 กันยายน 2549 1,600 0.01 31 กรกฎาคม 2550
ธพว. A0001/49 ลงวันที่ 11 กันยายน 2549 100 0.01 31 กรกฎาคม 2550
รวมทั้งสิ้น 2,629
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พิจารณาให้การสนับสนุนทางการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อนำไปให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกรณีพิเศษต่อไปอีก และได้ปรับปรุงการให้การสนับสนุนทางการเงินให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวการณ์ เพื่อบรรเทาภาระทางการเงินสำหรับยอดสินเชื่อคงค้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูกิจการให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยการขยายระยะเวลาครบกำหนดของตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 แห่ง จากวันครบกำหนดเดิม วันที่ 31 กรกฎาคม 2550 เป็นวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 และเพิ่มวงเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 3 แห่ง เพื่อช่วยเหลือทางการเงิน
แก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยวิธีการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 3 แห่ง เป็นผู้ออกและมีกระทรวงการคลังเป็นผู้อาวัล ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ธปท. ให้การสนับสนุน สรุปได้ดังนี้
2.1 เงื่อนไขการกู้เงิน
1) วงเงินกู้ที่ ธปท. ให้การสนับสุนแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ดังนี้
- ธสน. จำนวนเงินไม่เกิน 1,058 ล้านบาท
- ธ.ก.ส. จำนวนเงินไม่เกิน 1,800 ล้านบาท
- ธพว. จำนวนเงินไม่เกิน 270 ล้านบาท
2) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ออกและมีกระทรวงการคลังเป็นผู้อาวัล
3) กำหนดชำระคืนไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2551
4) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี
2.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเบิกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ ธปท. รับซื้อไว้เป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.3 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอัตราไม่เกิน 1.5 ต่อปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ในวงเงิน 1,058 ล้านบาท
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในวงเงิน 1,800 ล้านบาท
3. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ในวงเงิน 270 ล้านบาท
กระทรวงการคลัง รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 กุมภาพันธ์ 2549 , 15 สิงหาคม 2549) กระทรวงการคลัง ได้พิจารณาอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 แห่ง เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันในการกู้เงินแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปแล้ว ดังนี้
สถาบัน เลขที่ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน อัตราดอกเบี้ย กำหนดชำระเงิน
การเงิน (ล้านบาท) (ร้อยละต่อปี)
เฉพาะกิจ
ธสน. 1/2549 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2549 729 0.01 31 กรกฎาคม 2550
2/2549 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2549 200 0.01 31 กรกฎาคม 2550
ธ.ก.ส. อ.5/2549 ลงวันที่ 11 กันยายน 2549 1,600 0.01 31 กรกฎาคม 2550
ธพว. A0001/49 ลงวันที่ 11 กันยายน 2549 100 0.01 31 กรกฎาคม 2550
รวมทั้งสิ้น 2,629
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พิจารณาให้การสนับสนุนทางการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อนำไปให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกรณีพิเศษต่อไปอีก และได้ปรับปรุงการให้การสนับสนุนทางการเงินให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวการณ์ เพื่อบรรเทาภาระทางการเงินสำหรับยอดสินเชื่อคงค้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูกิจการให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยการขยายระยะเวลาครบกำหนดของตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 แห่ง จากวันครบกำหนดเดิม วันที่ 31 กรกฎาคม 2550 เป็นวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 และเพิ่มวงเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 3 แห่ง เพื่อช่วยเหลือทางการเงิน
แก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยวิธีการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 3 แห่ง เป็นผู้ออกและมีกระทรวงการคลังเป็นผู้อาวัล ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ธปท. ให้การสนับสนุน สรุปได้ดังนี้
2.1 เงื่อนไขการกู้เงิน
1) วงเงินกู้ที่ ธปท. ให้การสนับสุนแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ดังนี้
- ธสน. จำนวนเงินไม่เกิน 1,058 ล้านบาท
- ธ.ก.ส. จำนวนเงินไม่เกิน 1,800 ล้านบาท
- ธพว. จำนวนเงินไม่เกิน 270 ล้านบาท
2) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ออกและมีกระทรวงการคลังเป็นผู้อาวัล
3) กำหนดชำระคืนไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2551
4) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี
2.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเบิกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ ธปท. รับซื้อไว้เป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.3 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอัตราไม่เกิน 1.5 ต่อปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--