แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 4, 2010 14:19 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนดังกล่าวไปปฏิบัติ ดังนี้

1. มาตรการฟื้นฟูระยะสั้น ดำเนินการภายใน 6-12 เดือน               หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1.1 การสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ด้วยการจัดทำโฉนด              กระทรวงมหาดไทย (มท.)
ชุมชนเพื่อเป็นเขตสังคมและวัฒนธรรมพิเศษสำหรับกลุ่มชาวเล              กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
โดยให้มีการพิสูจน์สิทธิในที่อยู่อาศัยของชุมชนผ่านภาพถ่ายทาง
อากาศและด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ใช้เอกสารสิทธิแต่เพียงอย่างเดียว
และให้แต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดิน เพื่อการพิสูจน์ที่ดิน
ชุมชนชาวเลเป็นการเฉพาะ
1.2 การให้ชาวเลสามารถประกอบอาชีพประมง หาทรัพยากรตาม          ทส.
เกาะต่าง ๆ ได้ และเสนอผ่อนปรนพิเศษในการประกอบอาชีพ             กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
ประมงที่ใช้อุปกรณ์ดั้งเดิมของกลุ่มชาวเลในการเข้าไปทำมาหากิน
ในพื้นที่อุทยานและเขตอนุรักษ์อื่น ๆ และกันพื้นที่จอด ซ่อมเรือ
เส้นทางเข้า-ออกเรือ เนื่องจากส่วนมากทับซ้อนพื้นที่เพื่อการ
ท่องเที่ยว มีความขัดแย้งกันเป็นระยะ รวมถึงการควบคุมเขตการ
ทำประมงอวนลากและอวนรุนให้เป็นไปตามข้อตกลงอย่างแท้จริง
(รุกล้ำเขตประมงชายฝั่ง)
1.3 การช่วยเหลือด้านสาธารณสุขเพื่อฟื้นฟูสำหรับผู้ได้รับ                 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
ผลกระทบจากการประกอบอาชีพหาปลา/ดำน้ำทำให้เกิดโรคน้ำ
หนีบ และการมีปัญหาด้านสุขภาพ
1.4 การช่วยแก้ปัญหาสัญชาติในกลุ่มชาวเลที่ไม่มีบัตรประชาชน             มท.
1.5 การส่งเสริมด้านการศึกษาแก่เด็กและสนับสนุนทุนการศึกษา            กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับจัดตั้งการศึกษาพิเศษ/หลักสูตรท้องถิ่นที่
สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน เนื่องจากเด็กชาวเลออกจากโรงเรียน
ก่อนจบการศึกษาภาคบังคับ
1.6   การแก้ปัญหาอคติทางชาติพันธุ์และให้มองชาวเลอย่างมี             วธ.
ศักดิ์ศรีมีความเป็นมนุษย์
1.7 การส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวเลและ            วธ.
สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ส่งเสริมให้มี                ศธ.
โรงเรียนสอนภาษาวัฒนธรรมในชุมชน ส่งเสริมให้มีการสอน
ศิลปวัฒนธรรมชาวเลในหลักสูตรสามัญส่งเสริมชมรมท้องถิ่นใน
โรงเรียน เช่น ชมรมภาษา ชมรมร็องแง็ง ส่งเสริมการใช้สื่อที่
หลากหลาย สื่อบุคคล สื่อพื้นบ้าน สื่อสมัยใหม่ ในการอนุรักษ์
วัฒนธรรมชุมชน เป็นต้น
1.8 ชุมชนที่มีกลุ่มองค์กรที่เข้มแข็งอยู่แล้ว ขอให้ภาครัฐดำเนินการ          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ และส่งเสริมชุมชนให้เกิดกิจกรรมที่มีความ
ต่อเนื่อง
1.9 การจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการทำงานของเครือข่าย           พม.
ชาวเล ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมและให้มีงบประมาณส่งเสริม “วันนัด          วธ.
พบวัฒนธรรมชาวเล” เพื่อจัดกิจกรรมและการพบปะแลกเปลี่ยน
(ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี) โดยขอสนับสนุนงบประมาณจาก
หน่วยงานภาครัฐ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
โดยชุมชนขอเป็นหลักในการจัดกิจกรรมดังกล่าว
2. มาตรการการฟื้นฟูในระยะยาว ดำเนินการภายใน 1-3 ปี             หน่วยงานรับผิดชอบ
2.1 พิจารณากำหนดพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษที่เอื้อต่อกลุ่มชาติ              ทส.มท.พม.ศธ.วธ.
พันธุ์ที่มีลักษณะสังคมวัฒนธรรมจำเพาะ

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงวัฒนธรรมรายงานว่า

1. ปัจจุบันมีชุมชนชาวเลใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมกันประมาณ 10,000 คน ชาวเลส่วนใหญ่อยู่อาศัยบริเวณเกาะหรือชายฝั่งทะเลจึงได้รับผลกระทบจากสึนามิมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ที่ตั้งและลักษณะของชุมชนบวกกับแรงปะทะของคลื่น ภายหลังเหตุการณ์สึนามิเรื่องราวของชาวเลเป็นที่รับรู้มากขึ้นเพราะการนำเสนอของสื่อมวลชน และมีองค์กร หน่วยงาน มูลนิธิต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือและทำงานกับกลุ่มนี้ สาธารณชนให้ความสนใจในวิถีวัฒนธรรมชาวเลมากขึ้นทำให้ชาวเลมีภาพลักษณ์ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันปัญหาที่สะสมมานาน ได้แก่ ปัญหาเรื่องที่ดินและการทำมาหากินกลับมีความรุนแรงและเข้มข้นขึ้นทั้งที่เป็นผู้อยู่อาศัยและทำมาหากินในบริเวณเกาะและชายฝั่งอันดามันมานาน แต่ชาวเลส่วนใหญ่กลับพบว่าผืนดินที่เคยอยู่อาศัยและทำมาหากิน รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกจับจองครอบครองหรือประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองทำให้การทำมาหากินยากลำบากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายและไม่ได้รับบริการพื้นฐาน เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิในการเดินทางออกนอกพื้นที่ ฯลฯ และปัญหาการขาดความมั่นใจและภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านจิตใจและสังคมตามมา

2. กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวเลให้ยั่งยืนด้วยการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ชุมชนและรากฐานทางวัฒนธรรมชาวเลมีความเข้มแข็งทั้งในการดำรงชีวิตและการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน ผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูลเป็นกรรมการ และผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการและเลขานุการ

3. คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาปัญหาอันเป็นวิกฤตสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินวิถีชีวิตชาวเลที่มีภูมิลำเนาในบริเวณจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง และสตูล ที่ประกอบด้วย 5 ปัญหาหลัก ดังนี้

3.1 ปัญหาเรื่องที่ทำกินและที่อยู่อาศัย

3.2 ปัญหาเรื่องให้การศึกษากับชาวเลรวมทั้งการจัดทำหลักสูตรการศึกษาท้องถิ่น

3.3 ปัญหาเรื่องฟื้นฟูวิถีชีวิตวัฒนธรรมดั้งเดิมรวมทั้งการพัฒนาท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง

3.4 ปัญหาเรื่องส่งเสริมสุขภาพและบริการสาธารณสุข

3.5 ปัญหาเรื่องจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชน

คณะกรรมการอำนวยการฯ จึงได้มีมติให้มีการบริหารจัดการแบบบูรณาการในระดับจังหวัด โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการโดยการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูชีวิตชาวเลระดับจังหวัด 5 จังหวัด คือ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง และสตูล ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนชาวบ้านเป็นกรรมการ และวัฒนธรรมจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลที่กำลังเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็วทั้ง 5 จังหวัด

4. คณะอนุกรรมการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลทั้ง 5 จังหวัด ได้ดำเนินการช่วยเหลือชาวเลและได้เสนอมาตรการต่าง ๆ มายังกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งคณะกรรมการการอำนวยการฯ ได้รวบรวมข้อเสนอแนะและมาตรการต่างๆ ตามที่คณะอนุกรรมการดังกล่าวเสนอ และกำหนดมาตรการในการฟื้นฟูและช่วยเหลือชาวเล ประกอบด้วยมาตรการฟื้นฟูระยะสั้นและมาตรการฟื้นฟูระยะยาว ดังนี้

4.1 มาตรการการฟื้นฟูระยะสั้น ดำเนินการภายในระยะเวลา 6 — 12 เดือน

4.2 มาตรการการฟื้นฟูระยะยาว ดำเนินการภายในระยะเวลา 1 — 3 ปี

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 มิถุนายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ