คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย รายงานผลความคืบหน้าการตรวจสอบหาสาเหตุ กรณีสถานการณ์มลภาวะทางน้ำที่เกิดในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้
คณะกรรมการประสานการดำเนินการกรณีสถานการณ์มลภาวะทางน้ำที่เกิดในพื้นที่จังหวัดอ่างทองและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีการประชุมครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2550 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์) เป็นประธานที่ประชุมร่วม และได้เชิญนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) (ดร.การุญ จันทรางศุ) พร้อมด้วย ประธานคณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (ว.ส.ท.) (ผศ.ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์) เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อติดตามผลความคืบหน้าในการดำเนินการตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุ ที่ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำ จึงขอสรุปผลการประชุมและความคืบหน้าในการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุ นำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเพิ่มเติม ดังนี้
1. การดำเนินการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำครั้งนี้ เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน และสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสนหรือเกิดความขัดแย้งในด้านข้อมูล การแถลงข่าวที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุ ให้ใช้องค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ของจังหวัดอ่างทอง เป็นหลัก โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นผู้แถลงต่อสื่อมวลชน
2. ให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง และกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ส่งข้อมูลการเก็บกู้เรือน้ำตาลที่ล่มว่า มีน้ำตาลเหลือในเรือจำนวนเท่าใด ระยะเวลาที่ใช้ในการกู้เรือ และจำนวนน้ำตาลที่สูบทิ้งลงในแม่น้ำว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อนำไปคำนวณแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ที่จะชี้ว่าอะไรน่าจะเป็นสาเหตุที่ ทำให้เกิดมลภาวะขึ้น ตามที่อธิบดีกรมควบคุมมลพิษร้องขอ
3. ปัญหาการตรวจสอบแนวท่อน้ำในที่ดินของบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ที่ประชาชนยังคงสงสัยว่า แอบปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำเจ้าพระยา จะดำเนินการดังนี้
3.1 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์) จะช่วยประสานกับบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการตรวจสอบฯ ของจังหวัดอ่างทองในการตรวจสอบ
3.2 ให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) เป็นหน่วยงานกลางเข้าร่วมตรวจสอบแนวท่อน้ำของโรงงาน โดยการตรวจสอบจะจัดทำข้อกำหนดในการตรวจสอบร่วมกัน โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการผลิต
3.3 ให้อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายโรงงานลงไปปฏิบัติงานช่วยเหลือจังหวัดอ่างทองอย่างใกล้ชิด
3.4 ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมส่งแบบพิมพ์เขียวบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ให้แก่คณะกรรมการตรวจสอบฯ จังหวัดอ่างทอง
3.5 กำหนดนัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการตรวจสอบบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ในวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2550 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอ่างทอง
4. ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของจังหวัดอ่างทอง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) (ดร.การุญ จันทรางศุ) และคณะ ผู้แทนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเลี้ยงปลาในกระชัง ได้ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2550 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอ่างทอง (โดยมีผู้แทนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวน 5 คน และผู้แทนมณฑลทหารบกที่ 13 จำนวน 1 คน ร่วมสังเกตการณ์) ในการประชุมดังกล่าวทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและกำหนดแนวทาง วิธีการตรวจสอบบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ในเบื้องต้นและได้ร่วมกัน ออกไปสำรวจพื้นที่จริงของบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ณ ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยเดินสำรวจตั้งแต่ แพสูบน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา การวางท่อตลอดแนว จนถึงบ่อบำบัดน้ำเสียภายในบริษัทฯ (โดยมีนายวิชัย สุทธิเลิศวรกุล กรรมการบริษัทฯ และวิศวกรโรงงานเป็นผู้ให้ข้อมูลระหว่างการเดินสำรวจ) จนถึงเวลาประมาณ 18.00 น. ผู้เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายได้มีการประชุมร่วมกัน ณ ห้องประชุมของบริษัทฯ ที่ประชุมมีข้อตกลงร่วมกัน สรุปได้ดังนี้
4.1 นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ในฐานะหน่วยงานกลาง) มีความเห็นว่า จากการตรวจสอบการเดินท่อของบริษัทฯ พบว่า ภายในท่อเดียวกันสามารถทำงานได้ทั้ง 2 ลักษณะ คือ เป็นทั้งท่อน้ำดี และ ท่อปล่อยน้ำเสีย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความสบายใจ บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ตกลงว่า
1) จะดำเนินการรื้อถอนท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว ที่ฝังอยู่ใต้ดินออกทั้งหมด โดยในชั้นต้นบริษัทฯ จะวางท่อน้ำดีขึ้นใหม่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ภายในบริเวณที่ดินของบริษัทฯ ด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา สูบจากปั๊มหอยโข่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อใช้งานชั่วคราวไปพลางก่อน โดยจะเริ่มเดินท่อน้ำลอยบนดิน ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2550 ให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 สัปดาห์
2) การขุดรื้อท่อน้ำที่ฝังอยู่ใต้ดินทั้งหมดตั้งแต่บริเวณบริษัทฯ ถึงแม่น้ำเจ้าพระยาและการวางท่อน้ำดีอย่างถาวร ซึ่งจะติดตั้งในลักษณะเดินลอยบนดิน โดยมีระบบสูบน้ำขึ้นพักไว้ในถังน้ำก่อนสูบไปใช้ในบริษัทฯ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2550 เพื่อให้ประชาชนเกิดความสบายใจว่า บริษัทฯ จะไม่มีการลักลอบปล่อยน้ำในอนาคตและสามารถตรวจสอบได้
4.2 สำหรับกรณีที่ประชาชนผู้เลี้ยงปลาในกระชังสงสัยว่า บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงาน ผงชูรส) แอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จนเป็นเหตุให้ปลาในกระชังตายเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2550 นั้น นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย มีความเห็นว่า กรณีดังกล่าว สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล จากระบบเอกสารและรายงานต่างๆ ของบริษัทฯ ได้ เช่น ข้อมูลการสั่งวัตถุดิบ ข้อมูลในกระบวนการผลิต ข้อมูลการขนย้ายน้ำเสีย ข้อมูลการจำหน่ายปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ ตกลงว่า จะส่งมอบข้อมูลกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนของบริษัทฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2549 ถึงช่วงเกิดเหตุปลาตาย (วันที่ 11 มีนาคม 2550) ให้แก่คณะตรวจสอบข้อเท็จจริงจังหวัดอ่างทอง ภายในวันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2550 และส่งมอบให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จะดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์ผลข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน 2 วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสาร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 เมษายน 2550--จบ--
คณะกรรมการประสานการดำเนินการกรณีสถานการณ์มลภาวะทางน้ำที่เกิดในพื้นที่จังหวัดอ่างทองและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีการประชุมครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2550 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์) เป็นประธานที่ประชุมร่วม และได้เชิญนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) (ดร.การุญ จันทรางศุ) พร้อมด้วย ประธานคณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (ว.ส.ท.) (ผศ.ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์) เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อติดตามผลความคืบหน้าในการดำเนินการตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุ ที่ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำ จึงขอสรุปผลการประชุมและความคืบหน้าในการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุ นำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเพิ่มเติม ดังนี้
1. การดำเนินการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำครั้งนี้ เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน และสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสนหรือเกิดความขัดแย้งในด้านข้อมูล การแถลงข่าวที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุ ให้ใช้องค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ของจังหวัดอ่างทอง เป็นหลัก โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นผู้แถลงต่อสื่อมวลชน
2. ให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง และกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ส่งข้อมูลการเก็บกู้เรือน้ำตาลที่ล่มว่า มีน้ำตาลเหลือในเรือจำนวนเท่าใด ระยะเวลาที่ใช้ในการกู้เรือ และจำนวนน้ำตาลที่สูบทิ้งลงในแม่น้ำว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อนำไปคำนวณแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ที่จะชี้ว่าอะไรน่าจะเป็นสาเหตุที่ ทำให้เกิดมลภาวะขึ้น ตามที่อธิบดีกรมควบคุมมลพิษร้องขอ
3. ปัญหาการตรวจสอบแนวท่อน้ำในที่ดินของบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ที่ประชาชนยังคงสงสัยว่า แอบปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำเจ้าพระยา จะดำเนินการดังนี้
3.1 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์) จะช่วยประสานกับบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการตรวจสอบฯ ของจังหวัดอ่างทองในการตรวจสอบ
3.2 ให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) เป็นหน่วยงานกลางเข้าร่วมตรวจสอบแนวท่อน้ำของโรงงาน โดยการตรวจสอบจะจัดทำข้อกำหนดในการตรวจสอบร่วมกัน โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการผลิต
3.3 ให้อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายโรงงานลงไปปฏิบัติงานช่วยเหลือจังหวัดอ่างทองอย่างใกล้ชิด
3.4 ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมส่งแบบพิมพ์เขียวบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ให้แก่คณะกรรมการตรวจสอบฯ จังหวัดอ่างทอง
3.5 กำหนดนัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการตรวจสอบบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ในวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2550 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอ่างทอง
4. ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของจังหวัดอ่างทอง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) (ดร.การุญ จันทรางศุ) และคณะ ผู้แทนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเลี้ยงปลาในกระชัง ได้ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2550 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอ่างทอง (โดยมีผู้แทนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวน 5 คน และผู้แทนมณฑลทหารบกที่ 13 จำนวน 1 คน ร่วมสังเกตการณ์) ในการประชุมดังกล่าวทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและกำหนดแนวทาง วิธีการตรวจสอบบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ในเบื้องต้นและได้ร่วมกัน ออกไปสำรวจพื้นที่จริงของบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ณ ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยเดินสำรวจตั้งแต่ แพสูบน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา การวางท่อตลอดแนว จนถึงบ่อบำบัดน้ำเสียภายในบริษัทฯ (โดยมีนายวิชัย สุทธิเลิศวรกุล กรรมการบริษัทฯ และวิศวกรโรงงานเป็นผู้ให้ข้อมูลระหว่างการเดินสำรวจ) จนถึงเวลาประมาณ 18.00 น. ผู้เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายได้มีการประชุมร่วมกัน ณ ห้องประชุมของบริษัทฯ ที่ประชุมมีข้อตกลงร่วมกัน สรุปได้ดังนี้
4.1 นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ในฐานะหน่วยงานกลาง) มีความเห็นว่า จากการตรวจสอบการเดินท่อของบริษัทฯ พบว่า ภายในท่อเดียวกันสามารถทำงานได้ทั้ง 2 ลักษณะ คือ เป็นทั้งท่อน้ำดี และ ท่อปล่อยน้ำเสีย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความสบายใจ บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ตกลงว่า
1) จะดำเนินการรื้อถอนท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว ที่ฝังอยู่ใต้ดินออกทั้งหมด โดยในชั้นต้นบริษัทฯ จะวางท่อน้ำดีขึ้นใหม่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ภายในบริเวณที่ดินของบริษัทฯ ด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา สูบจากปั๊มหอยโข่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อใช้งานชั่วคราวไปพลางก่อน โดยจะเริ่มเดินท่อน้ำลอยบนดิน ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2550 ให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 สัปดาห์
2) การขุดรื้อท่อน้ำที่ฝังอยู่ใต้ดินทั้งหมดตั้งแต่บริเวณบริษัทฯ ถึงแม่น้ำเจ้าพระยาและการวางท่อน้ำดีอย่างถาวร ซึ่งจะติดตั้งในลักษณะเดินลอยบนดิน โดยมีระบบสูบน้ำขึ้นพักไว้ในถังน้ำก่อนสูบไปใช้ในบริษัทฯ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2550 เพื่อให้ประชาชนเกิดความสบายใจว่า บริษัทฯ จะไม่มีการลักลอบปล่อยน้ำในอนาคตและสามารถตรวจสอบได้
4.2 สำหรับกรณีที่ประชาชนผู้เลี้ยงปลาในกระชังสงสัยว่า บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงาน ผงชูรส) แอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จนเป็นเหตุให้ปลาในกระชังตายเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2550 นั้น นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย มีความเห็นว่า กรณีดังกล่าว สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล จากระบบเอกสารและรายงานต่างๆ ของบริษัทฯ ได้ เช่น ข้อมูลการสั่งวัตถุดิบ ข้อมูลในกระบวนการผลิต ข้อมูลการขนย้ายน้ำเสีย ข้อมูลการจำหน่ายปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ ตกลงว่า จะส่งมอบข้อมูลกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนของบริษัทฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2549 ถึงช่วงเกิดเหตุปลาตาย (วันที่ 11 มีนาคม 2550) ให้แก่คณะตรวจสอบข้อเท็จจริงจังหวัดอ่างทอง ภายในวันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2550 และส่งมอบให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จะดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์ผลข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน 2 วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสาร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 เมษายน 2550--จบ--