คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. .... ตามแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2548 โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นว่าเมื่อกระทรวงการคลังได้ผ่อนคลายการควบคุมการเบิกจ่ายตามร่างระเบียบนี้แล้ว ควรจะจัดให้มีระบบฐานข้อมูลการเบิกจ่ายเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติของส่วนราชการสามารถตรวจสอบ เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับส่วนราชการต่าง ๆ ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เพื่อที่จะสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน อันจะทำให้การใช้จ่ายในภาพรวมเป็นไปโดยประหยัด และมีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ปัจจุบันการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการจะต้องถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือสั่งการของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องซึ่งมีใช้บังคับเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นภาระแก่ส่วนราชการในการดำเนินการตรวจสอบ ศึกษา อ้างอิง ในการปฏิบัติราชการ ส่งผลให้การเบิกเงินงบประมาณเพื่อการดังกล่าวของส่วนราชการไม่คล่องตัว ดังนั้น เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามภารกิจปกติและนโยบายของรัฐบาลได้อย่างสะดวก คล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบระยะเวลาและวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร สมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกเงินค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ โดยนำหลักเกณฑ์ตามหนังสือสั่งการของกระทรวงการคลังที่ได้แจ้งให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ ซึ่งมีจำนวนมากมารวบรวมอยู่ในร่างระเบียบนี้เพียงฉบับเดียว โดยสาระสำคัญในการกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ มีดังนี้
1. ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณใช้ดุลพินิจในการเบิกจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ
2. กำหนดให้การเบิกค่าใช้จ่ายในการประกันภัยทรัพย์สินของส่วนราชการ และค่าเช่ารถยนต์ของทางราชการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษาศาลและค่าสินไหมทดแทน ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง หรือตามคำพิพากษา หรือตามหลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก แล้วแต่กรณี
3. กำหนดให้การเบิกค่าใช้จ่ายในการเช่าอาคาร หรือค่าเช่าที่ดินรวมทั้งค่าบริการอื่นที่เกี่ยวกับการเช่า ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา (ถ้ามี) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง โดยค่าเช่าอาคารไม่เกินอัตราตารางเมตรละ 500 บาทต่อเดือน หรือเกินกว่าอัตราตารางเมตรละ 500 บาทต่อเดือน แต่ไม่เกินวงเงิน 50,000 บาทต่อเดือน สำหรับค่าเช่าที่ดินไม่เกินวงเงิน 50,000 บาทต่อเดือน และหากส่วนราชการไม่สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้หัวหน้าส่วนราชการใช้ดุลพินิจเบิกจ่ายได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ
4. กำหนดให้การเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการรับรองชาวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ค่าเครื่องแต่งตัวข้าราชการที่เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพข้าราชการและลูกจ้างประจำของทางราชการซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปราชการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
ทั้งนี้กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ปัจจุบันการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการจะต้องถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือสั่งการของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องซึ่งมีใช้บังคับเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นภาระแก่ส่วนราชการในการดำเนินการตรวจสอบ ศึกษา อ้างอิง ในการปฏิบัติราชการ ส่งผลให้การเบิกเงินงบประมาณเพื่อการดังกล่าวของส่วนราชการไม่คล่องตัว ดังนั้น เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามภารกิจปกติและนโยบายของรัฐบาลได้อย่างสะดวก คล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบระยะเวลาและวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร สมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกเงินค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ โดยนำหลักเกณฑ์ตามหนังสือสั่งการของกระทรวงการคลังที่ได้แจ้งให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ ซึ่งมีจำนวนมากมารวบรวมอยู่ในร่างระเบียบนี้เพียงฉบับเดียว โดยสาระสำคัญในการกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ มีดังนี้
1. ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณใช้ดุลพินิจในการเบิกจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ
2. กำหนดให้การเบิกค่าใช้จ่ายในการประกันภัยทรัพย์สินของส่วนราชการ และค่าเช่ารถยนต์ของทางราชการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษาศาลและค่าสินไหมทดแทน ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง หรือตามคำพิพากษา หรือตามหลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก แล้วแต่กรณี
3. กำหนดให้การเบิกค่าใช้จ่ายในการเช่าอาคาร หรือค่าเช่าที่ดินรวมทั้งค่าบริการอื่นที่เกี่ยวกับการเช่า ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา (ถ้ามี) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง โดยค่าเช่าอาคารไม่เกินอัตราตารางเมตรละ 500 บาทต่อเดือน หรือเกินกว่าอัตราตารางเมตรละ 500 บาทต่อเดือน แต่ไม่เกินวงเงิน 50,000 บาทต่อเดือน สำหรับค่าเช่าที่ดินไม่เกินวงเงิน 50,000 บาทต่อเดือน และหากส่วนราชการไม่สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้หัวหน้าส่วนราชการใช้ดุลพินิจเบิกจ่ายได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ
4. กำหนดให้การเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการรับรองชาวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ค่าเครื่องแต่งตัวข้าราชการที่เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพข้าราชการและลูกจ้างประจำของทางราชการซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปราชการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--