คณะรัฐมนตรีพิจารณาการส่งคณะเจ้าหน้าที่ไทยเข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์อาเจห์ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วมีมติอนุมัติทั้ง 3 ข้อ ดังนี้
1. ให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา มีหนังสือตอบรัฐบาลอินโดนีเซียเห็นชอบต่อข้อตกลงเรื่องสถานะ เอกสิทธิ์ และความคุ้มกันของคณะผู้สังเกตการณ์อาเจห์
2. ให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา มีหนังสือตอบสหภาพยุโรปเห็นชอบต่อข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์อาเจห์
3. หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา
ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียจะให้สถานะ เอกสิทธิ์ และความคุ้มกันตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2548 แม้จะยังไม่ได้รับหนังสือตอบรับจากสถานเอกอัครราชทูตที่เกี่ยวข้องก็ตาม
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า เพื่อเป็นการคุ้มครองและรักษาสิทธิประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ไทยที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ และโดยที่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะให้แก่คณะผู้สังเกตการณ์ฯ และบุคลากรอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเอกสิทธิ์ความคุ้มกันที่ให้แก่คณะผู้แทนทางการทูต เว้นแต่ความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาลในทางแพ่ง
โดยสาระสำคัญเกี่ยวกับสถานะ เอกสิทธิ์ และความคุ้มกันที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะให้แก่คณะผู้สังเกตการณ์ฯ สรุปได้ดังนี้
1. สำนักงาน เอกสาร และทรัพย์สินของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะถูกละเมิดมิได้
2. รัฐบาลอินโดนีเซียจะยกเว้นการเก็บภาษีทั้งปวงสำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ วัสดุ และอุปกรณ์ที่คณะผู้สังเกตการณ์ฯ ต้องใช้ปฏิบัติงาน รวมทั้งสิ่งของส่วนตัวของบุคลากร แต่ไม่ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและขนส่ง
3. บุคลากรของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะได้รับความคุ้มกันจากการถูกดำเนินคดีอาญาในอินโดนีเซียในทุกกรณี ยกเว้นเมื่อรัฐผู้ส่งสละความคุ้มกันดังกล่าว
4. บุคลากรของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะได้รับความคุ้มกันจากการถูกดำเนินคดีแพ่ง หากเป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่
5. รัฐบาลอินโดนีเซียจะรับผิดชอบการรักษาความปลอดภัยให้บุคลากรของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียจะมีหนังสือขอให้สหภาพยุโรปและสถานเอกอัครราชทูตประจำอินโดนีเซียของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ พิจารณาตอบรับ
นอกจากนี้ในการเข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ จะมีข้อตกลงกับสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการปฏิบัติการร่วมกันในคณะผู้สังเกตการณ์ฯ สาระสำคัญของข้อตกลงสรุปได้ดังนี้
1. หากเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่สัญชาติตน อันเป็นผลจากการกระทำของเจ้าหน้าที่สัญชาติอื่น ทุกประเทศที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะพยายามยกเว้นการฟ้องร้องซึ่งกันและกันตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้
2. ประเทศต้นสังกัดยังมีอำนาจบังคับบัญชา (command) เจ้าหน้าที่สัญชาติตนที่เข้าร่วม แต่จะมอบอำนาจการควบคุมการปฏิบัติการ (operational control) ให้หัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์ฯ
3. หัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์ฯ มีอำนาจควบคุมทางวินัย (disciplinary control) แต่การลงโทษจะดำเนินการโดยประเทศต้นสังกัด
4. ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วม แต่ไม่ต้องสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินการของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ
5. ทุกประเทศที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ได้ตกลงกันเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนและรักษาความปลอดภัยของเอกสารที่มีชั้นความลับ
ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำอินโดนีเซีย ในฐานะเอกอัครราชทูตของประเทศที่เป็นประธานสหภาพยุโรปจะมีหนังสือขอให้เอกอัครราชทูตประจำอินโดนีเซียของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ ตอบรับข้อตกลงการเข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--
1. ให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา มีหนังสือตอบรัฐบาลอินโดนีเซียเห็นชอบต่อข้อตกลงเรื่องสถานะ เอกสิทธิ์ และความคุ้มกันของคณะผู้สังเกตการณ์อาเจห์
2. ให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา มีหนังสือตอบสหภาพยุโรปเห็นชอบต่อข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์อาเจห์
3. หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา
ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียจะให้สถานะ เอกสิทธิ์ และความคุ้มกันตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2548 แม้จะยังไม่ได้รับหนังสือตอบรับจากสถานเอกอัครราชทูตที่เกี่ยวข้องก็ตาม
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า เพื่อเป็นการคุ้มครองและรักษาสิทธิประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ไทยที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ และโดยที่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะให้แก่คณะผู้สังเกตการณ์ฯ และบุคลากรอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเอกสิทธิ์ความคุ้มกันที่ให้แก่คณะผู้แทนทางการทูต เว้นแต่ความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาลในทางแพ่ง
โดยสาระสำคัญเกี่ยวกับสถานะ เอกสิทธิ์ และความคุ้มกันที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะให้แก่คณะผู้สังเกตการณ์ฯ สรุปได้ดังนี้
1. สำนักงาน เอกสาร และทรัพย์สินของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะถูกละเมิดมิได้
2. รัฐบาลอินโดนีเซียจะยกเว้นการเก็บภาษีทั้งปวงสำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ วัสดุ และอุปกรณ์ที่คณะผู้สังเกตการณ์ฯ ต้องใช้ปฏิบัติงาน รวมทั้งสิ่งของส่วนตัวของบุคลากร แต่ไม่ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและขนส่ง
3. บุคลากรของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะได้รับความคุ้มกันจากการถูกดำเนินคดีอาญาในอินโดนีเซียในทุกกรณี ยกเว้นเมื่อรัฐผู้ส่งสละความคุ้มกันดังกล่าว
4. บุคลากรของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะได้รับความคุ้มกันจากการถูกดำเนินคดีแพ่ง หากเป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่
5. รัฐบาลอินโดนีเซียจะรับผิดชอบการรักษาความปลอดภัยให้บุคลากรของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียจะมีหนังสือขอให้สหภาพยุโรปและสถานเอกอัครราชทูตประจำอินโดนีเซียของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ พิจารณาตอบรับ
นอกจากนี้ในการเข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ จะมีข้อตกลงกับสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการปฏิบัติการร่วมกันในคณะผู้สังเกตการณ์ฯ สาระสำคัญของข้อตกลงสรุปได้ดังนี้
1. หากเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่สัญชาติตน อันเป็นผลจากการกระทำของเจ้าหน้าที่สัญชาติอื่น ทุกประเทศที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะพยายามยกเว้นการฟ้องร้องซึ่งกันและกันตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้
2. ประเทศต้นสังกัดยังมีอำนาจบังคับบัญชา (command) เจ้าหน้าที่สัญชาติตนที่เข้าร่วม แต่จะมอบอำนาจการควบคุมการปฏิบัติการ (operational control) ให้หัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์ฯ
3. หัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์ฯ มีอำนาจควบคุมทางวินัย (disciplinary control) แต่การลงโทษจะดำเนินการโดยประเทศต้นสังกัด
4. ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วม แต่ไม่ต้องสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินการของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ
5. ทุกประเทศที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ได้ตกลงกันเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนและรักษาความปลอดภัยของเอกสารที่มีชั้นความลับ
ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำอินโดนีเซีย ในฐานะเอกอัครราชทูตของประเทศที่เป็นประธานสหภาพยุโรปจะมีหนังสือขอให้เอกอัครราชทูตประจำอินโดนีเซียของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ ตอบรับข้อตกลงการเข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์ฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--