คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติหลักการแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติในระยะ 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2559 เพื่อเป็นกรอบนโยบายและทิศทางในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกำลังคนด้านสุขภาพ และแต่งตั้งคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกลางในการให้ข้อเสนอแนะในระดับนโยบายเกี่ยวกับกำลังคนด้านสุขภาพในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับอนุมัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ฯ มีดังนี้
1. วิสัยทัศน์และพันธกิจ
1.1 วิสัยทัศน์ ประเทศไทยมีกำลังคนด้านสุขภาพอย่างเพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ มีคุณธรรม/จริยธรรม มีการกระจายอย่างเป็นธรรม และทำงานอย่างมีความสุข เพื่อให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพระดับพื้นที่และประเทศ
1.2 พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติจะเป็นเครื่องมือในการกำหนดกรอบทิศทางและพัฒนากลไกที่จะนำไปสู่การดำเนินงานเพื่อให้ได้กำลังคนด้านสุขภาพที่ตอบสนองระบบสุขภาพของประเทศ
2. ทิศทางและเป้าหมายหลักของแผนยุทธศาสตร์
2.1 ทิศทาง : ประกอบด้วย
(1) ขยายบริบทการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพให้กว้างกว่าวิชาชีพหลัก โดยให้ครอบคลุมถึงผู้ที่ดูแลสุขภาพในชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
(2) การวางแผนและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพและตอบสนองกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ
(3) กระจายบทบาทการวางแผน พัฒนาและจัดการกำลังคนลงไปในระดับพื้นที่
(4) สร้างการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่นและภาคประชาชนในทุกระดับ
2.2 เป้าหมาย : กำลังคนด้านสุขภาพที่เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ มีการกระจายที่เป็นธรรม สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
2.3 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและพัฒนากลไกในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อให้ได้กำลังคนที่เพียงพอ สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน มีความสอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การสร้างความเสมอภาคในระบบสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อให้มีการกระจายบุคลากรอย่างเป็นธรรม สามารถคงอยู่ในระบบ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างและการจัดการความรู้เพื่อไปสู่การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทของระบบสุขภาพของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาไทยและผู้ที่ดูแลสุขภาพในชุมชนให้มีบทบาทในการดูแลปัญหาสุขภาพของประชาชนในระดับพื้นที่และส่งเสริมสุขภาพของชุมชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ฯ มีดังนี้
1. วิสัยทัศน์และพันธกิจ
1.1 วิสัยทัศน์ ประเทศไทยมีกำลังคนด้านสุขภาพอย่างเพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ มีคุณธรรม/จริยธรรม มีการกระจายอย่างเป็นธรรม และทำงานอย่างมีความสุข เพื่อให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพระดับพื้นที่และประเทศ
1.2 พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติจะเป็นเครื่องมือในการกำหนดกรอบทิศทางและพัฒนากลไกที่จะนำไปสู่การดำเนินงานเพื่อให้ได้กำลังคนด้านสุขภาพที่ตอบสนองระบบสุขภาพของประเทศ
2. ทิศทางและเป้าหมายหลักของแผนยุทธศาสตร์
2.1 ทิศทาง : ประกอบด้วย
(1) ขยายบริบทการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพให้กว้างกว่าวิชาชีพหลัก โดยให้ครอบคลุมถึงผู้ที่ดูแลสุขภาพในชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
(2) การวางแผนและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพและตอบสนองกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ
(3) กระจายบทบาทการวางแผน พัฒนาและจัดการกำลังคนลงไปในระดับพื้นที่
(4) สร้างการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่นและภาคประชาชนในทุกระดับ
2.2 เป้าหมาย : กำลังคนด้านสุขภาพที่เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ มีการกระจายที่เป็นธรรม สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
2.3 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและพัฒนากลไกในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อให้ได้กำลังคนที่เพียงพอ สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน มีความสอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การสร้างความเสมอภาคในระบบสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อให้มีการกระจายบุคลากรอย่างเป็นธรรม สามารถคงอยู่ในระบบ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างและการจัดการความรู้เพื่อไปสู่การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทของระบบสุขภาพของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาไทยและผู้ที่ดูแลสุขภาพในชุมชนให้มีบทบาทในการดูแลปัญหาสุขภาพของประชาชนในระดับพื้นที่และส่งเสริมสุขภาพของชุมชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--